หน้าแรก

วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมสำหรับคนไทย



ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมสำหรับคนไทย

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

            ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม แสดงถึงสาเหตุของพฤติกรรมของคนดี และพฤติกรรมของคนเก่งว่า พฤติกรรมเหล่านี้มีสาเหตุทางจิตใจที่ติดตัวผู้กระทำโดยตลอด และสาเหตุทางจิตใจที่เกิดและเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์นั้นมีอะไรบ้าง ทฤษฎีนี้สร้างจากผลการวิจัยที่เปรียบเทียบลักษณะทางจิตใจของผู้ที่มีพฤติกรรมอย่างหนึ่ง ในปริมาณที่แตกต่างกัน ทั้งๆ ที่ผู้กระทำเหล่านี้ อยู่ในสถานการณ์เดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน โดยการศึกษาวิจัยคนไทยอายุ 6-60 ปี จำนวนครึ่งหมื่น ซึ่งเป็นผลจากการวิจัยในประเทศไทยหลายสิบเรื่องภายในระยะ 25 ปีมานี้ (ดวงเดือน พันธุมนาวิน, 2531)

ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม อยู่ในรูปของต้นไม้ใหญ่ มี 3 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นดอกและผลของต้นไม้ ส่วนลำต้น และส่วนที่เป็นราก ในส่วนแรก คือ ดอกและผลไม้บนต้น แสดงถึงพฤติกรรมที่น่าปรารถนาในปริมาณมาก และพฤติกรรมที่ไม่น่าปรารถนาในปริมาณน้อย เช่น พฤติกรรมซื่อสัตย์ พฤติกรรมอาสาพัฒนาชนบท พฤติกรรมการทำงานอย่างขยันขันแข็ง ตลอดจนพฤติกรรมสุขภาพและอื่นๆ ที่รวมเข้าเป็นพฤติกรรมของพลเมืองดี พฤติกรรมของคนดีและคนเก่งนี้ มีสาเหตุอยู่ 2 กลุ่ม สาเหตุกลุ่มแรกอยู่ที่ลำต้นของต้นไม้นี้ ประกอบด้วยจิตลักษณะ 5 ประการ คือ (1) ลักษณะมุ่งอนาคตและการควบคุมตนเอง (2) ความเชื่ออำนาจในตน (3) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (4) เหตุผลเชิงจริยธรรม (5) ทัศนคติ คุณธรรมและค่านิยมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมนั้นหรือสถานการณ์นั้น ส่วนสาเหตุกลุ่มที่สองอยู่ที่รากของต้นไม้นี้ อันประกอบด้วยลักษณะอีก 3 ประการที่เป็นพื้นฐานทางจิตของบุคคล คือ (1) สติปัญญาหรือความเฉลียวฉลาด (2) สุขภาพจิต และ
(
3) การมีประสบการณ์ทางสังคม จิตลักษณะหลายด้านที่ลำต้นของต้นไม้นี้ด้วย ฉะนั้น จิตลักษณะสามประการที่รากของต้นไม้จึงเป็นสาเหตุของกสาเหตุของพฤติกรรมของคนดี และพฤติกรรมของคนเก่งนั่นเอง ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมจึงกำหนดจิตลักษณะ 8 ประการ ที่จำเป็นต่อการเกิดและการคงอยู่ ของพฤติกรรมที่น่าปรารถนาต่างๆ ของคนไทย 
จากทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม เมื่อนำมาใช้ให้เข้าใจพฤติกรรมสุขภาพ จึงกล่าวได้ว่าพฤติกรรมสุขภาพทางด้านที่น่าปรารถนา จะเดมาก และทางด้านที่ไม่น่าปรารถนาจะเกิดน้อยในบุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ คือ (1) เป็นผู้ที่สามารถคาดการณ์ได้ ว่าอะไรจะเกิดกับตนในอนาคต เช่น มีสุขภาพดีหรือเสื่อม สามารถที่จอดได้รอได้ และกระทำการที่จะก่อให้เกิดผลดีแต่ตนในวันข้างหน้า (2) มีความเชื่ออำนาจในตนว่า การกระทำที่เหมาสมของตนจะก่อให้เกิดผลดีต่อตนและการกระทำที่ไม่เหมาะสมจะก่อให้เกิดผลเสียต่อตนได้ และการมีสุขภาพดีในวันหน้าขึ้นอยู่กับการดูแลตนเองในวันนี้ (3) มีความมุมานะบากบั่นฝ่าฟันอุปสรรค กระทำการต่างๆ ตามที่ตั้งใจไว้ จนเป็นผลสำเร็จทั้งเป้าหมาย่อยๆ และเป้าหมายใหญ่ (4) มีความสุขุมรอบคอบเป็นตัวของตัวเอง หรือรู้จักเลียนแบบแต่สิ่งที่มีประโยชน์ต่อตนเอง (5) เห็นความสำคัญของการมีชีวิตอยู่อย่างมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย และมีทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมสุขภาพที่จะช่วยเสริมสร้างสุขภาพอนามัยของตนเองและผู้อื่น นอกจาก นั้นยังต้องเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ การเกิดโรคใหม่ๆ และวิธีการป้องกันโรค ซึ่งจะเกิดได้ด้วยการมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด และมีประสบการณ์ทางสังคมมากพอสมควร นอกจากนั้นการเป็นผู้มีสุขภาพจิตที่ดีนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตของจิตลักษณะ 5 ประการที่สำคัญของตนไม้นี้ และสุขภาพจิตที่ดียังเป็นเสมือนเครื่องเชื่อมโยงให้จิตลักษณะทั้ง 7 ประการ ส่งผลผลักดันและกระตุ้นให้บุคคลแสงดพฤตกรรม ที่สอดคล้องกับความเจริญทางจิตใจของตนด้วย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือผู้ที่รู้เรื่องสุขภาพ รู้วิธีการรักษาสุขภาพ อยากเป็นผู้ที่มีสุขภาพดีในอนาคต เชื่อว่าตนเองทำได้ ก็อาจจะไม่ทำพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม เมื่อเกิดความทุกข์ความเศร้าเสียใจ ความวิตกกลัดกลุ้ม (สุขภาพจิตเสีย) กลับดื่มเหล้าจนเมามาย ทรมานตนเอง ไม่พักผ่อน หลับนอน หรือไม่ยอมรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น