แนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับองค์การแห่งการเรียนรู้
เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร งามละม่อม
Wachirawachr Ngamlamom
ความหมายขององค์การแห่งการเรียนรู้
ความหมายของคำว่า
"องค์การแห่งการเรียนรู้" ยังไม่มีนิยามไว้อย่างตายตัว โดยความหมายที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
เป็นความหมายในความเข้าใจของนักวิชาการหลายท่าน
ซึ่งอาจจะมีมุมมองที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยแท้แล้ว
ทุกคนต่างมองภาพความสำเร็จเป็นภาพเดียวกัน คือ
ต้องการเห็นบุคลากรทุกระดับในองค์กรเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในระดับตนเอง ผู้อื่น องค์กร ชุมชน สังคม
และประเทศชาติ ตามลำดับ ซึ่งผู้ศึกษาได้รวบรวมไว้ดังนี้
เซนเจ (Senge, 1990) ได้ให้ความหมายของ
"องค์กรแห่งการเรียนรู้"ว่าเป็นองค์การที่คนมีการขยายความสามารถของพวกเขาได้อย่างต่อเนื่อง
ด้วยการสร้างสรรค์ที่เป็นผลมาจากความปรารถนาอย่างแท้จริงของพวกเขา
เป็นองค์กรที่มีรูปแบบการคิดแบบใหม่ และมีการแตกเขนงความคิดให้เกิดขึ้น
เป็นองค์กรที่คนในองค์กรมีความปรารถนาร่วมกันอย่างเสรี
โดยเป็นการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ด้วยวิธีการเรียนรู้กันในองค์กร
เพดเลอร์ บูรเกนี และบอดเดลล์
(Pedler,Burgoyne &
Boydell, 1991) ได้ให้ความหมายของ
"องค์การแห่งการเรียนรู้"
ว่าเป็นองค์กรที่เอื้ออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่สมาชิกทุกคน
และมีการปรับเปลี่ยนตัวเองอย่างต่อเนื่อง โดยต้องสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้
ที่มีลักษณะเอื้อและกระตุ้นให้ทุกคนเรียนรู้ร่วมกัน
การ์วิน (Garvin, 1993) ได้ให้ความหมายของ
"องค์กรแห่งการเรียนรู้" ว่าเป็นองค์กรที่มีทักษะในการสร้าง
การได้มาและการถ่ายโอนความรู้ และการนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสะท้อนถึงความรู้และความเข้าใจใหม่ๆ
วัทคิน และมาร์สิกค์ (Watkins & Marsick, 1993 อ้างาถึงใน ปัทมา จันทรวิมล, 2544) ได้ให้ความหมายของ
"องค์กรแห่งการเรียนรู้"
ว่าเป็นองค์กรที่ใช้คนในการสร้างความเป็นเลิศให้แก่องค์กร
ขณะเดียวกันก็ใช้องค์กรในการสร้างความเป็นเลิศให้แก่คน
โดยใช้การเรียนรู้เป็นกระบวนการเชิงกลยุทธ์ที่มีลักษณะต่อเนื่อง
และบูรณาการเข้ากับการทำงาน และมีการกระจายการเชื่อมโยงการพึ่งพาทั้งในระดับบุคคล
องค์กร และชุมชน
คิม (Kim, 1993) สรุปว่า
"องค์กรแห่งการเรียนรู้"
เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่จะช่วยเพิ่มพูนทักษะความสามารถของสมาชิกในองค์กร
เพื่อนำองค์กรไปสู้การปฏิบัติที่มีประสิทธิผล
โรส, สมิท โรเบิร์ท และไคลเนอร์
(Ross, Smith, Roberts & Kleiner, 1994) สรุปว่า
"องค์กรแห่งการเรียนรู้"
เป็นกระบวนการในการทดสอบประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง
และปรับเปลี่ยนประสบการณ์เหล่านั้น
ให้กลายเป็นองค์ความรู้ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่องค์กร
โดยเป็นการสนองต่อจุดมุ่งหมายหาลักที่องค์กรวางไว้
มาร์ควอด์ท และ เรโนล์ด (Marguardt & Reynolde, 1994) ได้ให้ความหมายของ
"องค์การแห่งการเรียนรู้"
ว่าเป็นองค์กรที่มีบรรยากาศที่กระตุ้นการเรียนรู้ของบุคคล และกลุ่ม
ให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยใช้กระบวนการคิด วิพากษ์วิจารณ์
เพื่อความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้น มีวิธีการเรียนรู้ที่เป็นพลวัต
โดยอาศัยการเรียนรู้ การจัดการ และการใช้ความรู้เป็นเครื่องมือไปสู่ความสำเร็จ
ควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
ไดน็อกซ์ (Dinox, 1994) ได้ไห้ความหมายว่า
องค์กรแห่งการเรียนรู้ หมายถึง การจูงใจใช้กระบวนการเรียนรู้ทั้งในระดับบุคคล
กลุ่ม ปละระบบขององค์การ
เพื่อหารปรับเปลี่ยนองค์การไปในทิศทางที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนเสียขององค์การ
เนวิส และคณะ (Nevis et al, 1995) ให้ความหมายว่า
องค์การแห่งการเรียนรู้ หมายถึง
ความสามารถหรือกระบวนการภายในองค์การที่มุ่งรักษาพัฒนาการปฏิบัติที่อาศัยพึ่งพาประสบการณ์
ถือได้ว่าเป็นระบบที่เกิดขึ้นและคงอยู่กับองค์กรแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้ปฏิบัติก็ตาม
ชาง (Tsang, 1997) ได้ให้ความหมายว่า
องค์การแห่งการเรียนรู้ คือ ระบบของการบริหารและกล่าวว่าระบบ (System) หมายถึง ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันของส่วนย่อยต่างๆ
เพื่อรวมกันเป็นทั้งหมด ซึ่งไม่สามารถที่จะแบ่งระบบออกเป็นส่วนย่อยในการทำงานได้
ระบบจะเป็นตัวกำหนดหน้าที่พฤติกรรมและลักษณะของภาพรวมขององค์กรทั้งหมด
องค์การแห่งการเรียนรู้เปรียบเสมือนระบบที่ซับซ้อนของส่วนต่างๆ
ซึ่งจะต้องทำงานขึ้นแก่กันประสานสัมพันธ์กัน
วรนารถ แสงจันทร์ (2540) สรุปได้ว่า
"องค์การแห่งการเรียนรู้" เป็นองค์กรที่มีการปฏิรูปอย่างต่อเนื่อง
อกนวยความสะดวก กระตุ้น และสร้างบรรยากาศของการเรียนรู้
เน้นกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นทุกระดับ
ซึ่งคนในองค์กรสามารถขยายขอบเขตความสามารถของตนอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่จุดหมายที่บุคคลในระดับต่างๆ
ตองการอย่างแท้จริง เป็นที่ซึ่งให้อิสระในการคิดสิ่งใหม่ๆ ได้รับการยอมรับเอาใจใส่
เป็นที่ซึ่งบุคคลมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
มีการเรียนรู้กันทั้งบทเรียนที่ผิดพลาด และประสบความสำเร็จ และสามารถนำความรู้มาปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในองค์กร
จนสามารถนำองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ร่วมกันกำหนดไว้
สมิต สัชฌุกร(2541) ได้ให้ความหมายของ
"องค์กรแห่งการเรียนรู้" ว่าเป็นองค์กรที่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้
และสร้างองค์ความรู้เพื่อเพิ่มพูนสมรรถนะ
อันจะนำไปสู่ความก้าวหน้าในการดำเนินกิจการเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร
วิฑูรย์ สิมิโชคดี (2543) ได้ให้ความหมายขององค์การแห่งการเรียนรู้ไว้ว่า
หมายถึง
องค์การที่เปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนในองค์การได้แสดงความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่และอย่างต่อเนื่อง
เพื่อร่วมกันสร้างผลลัพธ์ที่องค์การต้องการ สนับสนุนให้สมาชิกทุกคนได้คิดใหม่ ทำงานร่วมกัน เกิดการเรียนรู้ร่วมกันและสร้างองค์ความรู้ให้เป็นเอกลักษณ์ให้แก่องค์การเพื่อให้ องค์การบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อร่วมกันสร้างผลลัพธ์ที่องค์การต้องการ สนับสนุนให้สมาชิกทุกคนได้คิดใหม่ ทำงานร่วมกัน เกิดการเรียนรู้ร่วมกันและสร้างองค์ความรู้ให้เป็นเอกลักษณ์ให้แก่องค์การเพื่อให้ องค์การบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
เสาวรส บุนนาค (2543) ได้สรุปความหมายขององค์การแห่งการเรียนรู้ว่า
หมายถึง องค์กรที่มีการปฏิรูปอย่างต่อเนื่อง กระตุ้น อำนวยความสะดวกให้บุคลากรได้ขยายขอบเขนการเรียนรู้
เพื่อพัฒนาความสามารถของตนอย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว ทั้งในระดับบุคคล ระดับกลุ้ม
ระดับองค์กร
โดยบุคลากรได้นำสิ่งที่องค์กรสนับสนุนด้านการเรียนรู้มาใช้ในการพัฒนาตนเองและทีมงาน
เพื่อนนำไปสู่จุดหมายร่วมกันขององค์กร โดยการานำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการเรียนรู้
วิโรจน์ สารรัตนะ (2544) องค์กรแห่งการเรียนรู้
เป็นองค์การที่สมาชิกในองค์การมีความตื่นตัวและมีแรงบันดาลใจที่พัฒนาศักยภาพของตนอย่างต่อเนื่อง
มีความคิดระเริ่มที่จะสร้างสรรค์สิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ
ให้เกิดขึ้นกับองค์การ มีความสัมพันธ์เพื่อการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสมาชิกตัวองค์การเอง โดยภาพรวมก็จะเป็นองคากรที่มุ่งจะแสวงหาความเป็นไปได้ และโอกาสเพื่อการพัฒนา เพื่อความเติบโต และเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสิ่งใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง
ให้เกิดขึ้นกับองค์การ มีความสัมพันธ์เพื่อการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสมาชิกตัวองค์การเอง โดยภาพรวมก็จะเป็นองคากรที่มุ่งจะแสวงหาความเป็นไปได้ และโอกาสเพื่อการพัฒนา เพื่อความเติบโต และเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสิ่งใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง
ลือชัย จันทร์โป๊ (2546) ให้ความหมายว่า
องค์การแห่งการเรียนรู้ หมายถึงองค์การแห่งการเรียนรู้ที่เป็นองค์การซึ่งสมาชิกในองค์การเพิ่มขีดความสามารถาของตนอย่างต่อเนื่อง
ทั้งในระดับบุคคล ระดับกลุ่ม
และระดับองค์การเพื่อนำไปสู่จุดหมายที่บุคคลในระดับต่างๆ ต้องการอย่างแท้จริง
เป็นองค์การที่ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม เพื่อการเปลี่ยนแปลง ความรู้
และประสบการณ์ให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง และมีการพัฒนาองค์การอย่างต่อเนื่อง
สุรพงศ์ เอื้อศิริพรฤทธิ์ (2547) ได้ให้ความหมายว่า
องค์การเรียนรู้ หมายถึง องค์การที่มีการดำเนินการหรือส่งเสริมให้บุคคล
ทีมงานหรือกลุ่มในองค์กรได้มีโอกาสเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถเพื่อปรับเปลี่ยนตนเองแล้วนำมาพัฒนาองค์การไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
ด้วยกระบวนการเรียนรู้ต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องโดยอาศัยปัจจัยต่างๆ
ทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ
เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม (2548) ได้สรุปไว้ว่าองค์การแห่งการเรียนรู้
หมายถึงองค์การ ที่เปิดโอกาส มีการส่งเสริม จูงใจให้สมาชิก
หรือบุคลากรในองค์การมีการศึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพูนความรู้
ความสามารถของตนโดยวิธีการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
เพื่อปรับเปลี่ยนพัฒนาองค์การไปสู่เป้าหมายที่กำหนด
จากความหมายของ
"องค์กรแห่งการเรียนรู้" ที่กล่าวมาในข้างต้น ผู้วิจัยพอสรุปได้ว่า
องค์กรแห่งการเรียนรู้
เป็นองค์ที่เอื้อให้บุคลากรในองค์การมีโอกาสทีจะพัฒนาตนเองและผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา
โดยใช้แนวทางการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
เป็นมิติในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของคนในองค์การให้เกิดจิตสำนึกร่วมกันที่จะเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างาจริงใจ
มีการแบ่งปัน และถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น