ภาวะผู้นำ
เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร
งามละม่อม
Wachirawachr
Ngamlamom
ภาวะผู้นำ (Leadership) เป็นกระบวนการของความสามารถในการนำผู้อื่น
มีอิทธิพลที่จะทำให้ผู้อื่นทำตามหรือสนับสนุนให้กิจกรรมงานบรรลุความสำเร็จร่วมกัน การศึกษาภาวะผู้นำในทางวิชาการมีการศึกษาในสามด้านได้แก่
การศึกษาคุณลักษณะ (Traits) อำนาจ (Power) และพฤติกรรมของผู้นำ (Behavior) วิธีการศึกษาส่วนใหญ่จะเป็นการศึกษาตัวแบบจากผู้ที่ประสบผลสำเร็จ
หรือผู้ที่มีอิทธิพลต่อผู้อื่นและเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป เช่น ผู้นำตามสถานการณ์ Adoft
Hitler อดีตผู้นำเผด็จการของเยอรมนี มุสโสลินีของอิตาลี และ วินสตันเชอชิล อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่
2 เป็นต้น ในทางกลับกันการศึกษาภาวะผู้นำ ทำให้สามารถทราบถึงคุณลักษณะและประเภทผู้นำได้
ผู้นำ (Leader) หมายถึงบุคคลที่มีความสามารถที่จะใช้ภาวะผู้นำของตนในการชักนำ
ชี้ชวน สั่งการ
หรือสนับสนุนให้ผู้อื่นทำตามให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ในการพัฒนาสังคมหรือชุมชนที่ประสบความสำเร็จ ผู้นำจะมีบทบาทมาก ผู้นำมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับสถานการณ์
หรือลักษณะงานที่รับผิดชอบเช่นผู้นำทางธุรกิจย่อมมีภาวะผู้นำต่างจากผู้นำทางการเมืองแม้ว่าจะอาศัยหลักการนำเหมือนกันแต่ศิลปะในการนำต่างกัน
ในการบริหารจัดการองค์กรไม่ว่าจะเป็นองค์กรระดับประเทศ หน่วยงานรัฐหรือเอกชนรวมทั้งชุมชนผู้นำต้องอาศัยความสามารถในการนำที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานคุณลักษณะ
อุปนิสัย พฤติกรรม และอำนาจ ความสามารถดังกล่าวเรียกว่า ภาวะผู้นำ
การที่องค์กรชุมชนพัฒนาจนเข้มแข็งต้องอาศัยผู้นำ
ผู้นำชุมชนสามารถศึกษาภาวะผู้นำที่เป็นแบบฉบับสากลเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง
ในทางวิชาการมีการศึกษาผู้นำที่มีภาวะของความเป็นผู้นำที่จะกล่าวต่อไป โดยแยกให้เห็นความหมายของผู้นำ และภาวะผู้นำ
ดังต่อไปนี้
Katz & Kahn
(1973: 301) ให้ความหมายผู้นำ ผู้ที่มีอิทธิพลของการกระทำ
พฤติกรรมความเชื่อและความรู้สึกของบุคคลหนึ่งในระบบสังคมที่มีต่อบุคคลอื่นโดยความเต็มใจยอมรับอิทธิพลนั้น
Webster (1973: 801) ให้ความหมายผู้นำหมายถึงผู้ที่ทำหน้าที่ในการนำ ควบคุม บังคับบัญชา
หรือเป็นผู้นำ หัวหน้าของกลุ่มหรืองานนั้นๆ
หรือเป็นผู้นำ หัวหน้าของกลุ่มหรืองานนั้นๆ
บุญทัน ดอกไธสง (2548: 266) ได้ให้ความหมายผู้นำหมายถึง (1) ผู้มีอิทธิพล มีศิลปะ
มีอิทธิพลต่อกลุ่มชน เพื่อให้พวกมีความตั้งใจที่จะบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ (2)
เป็นผู้นำและแนะนำ
เพราะผู้นำต้องช่วยเหลือกลุ่มให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดตามความสามารถ (3)
ผู้นำไม่เพียงแต่ยืนอยู่เบื้องหลังกลุ่มที่คอยแต่วางแผนและผลักดัน
แต่เขายืนอยู่ข้างหน้ากลุ่มและนำกลุ่มเพื่อปฏิบัติการงานให้บรรลุเป้าหมาย
เอกชัย กี่สุขพันธ์ (2538: 98-99)
ให้ความหมายผู้นำหมายถึงบุคคลที่มีบทบาทหรือมีอิทธิพลต่อผู้อื่นในองค์การหรือหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นความคิดหรือพฤติกรรมการทำงาน
Plato (2008) ให้ความหมาย ผู้นำ หมายถึงผู้ที่มีคุณธรรม (Virtue) การมีคุณธรรมก็เพื่อควบคุมจิตใจของผู้นำ
ซึ่งเพลโตเสนอว่าผู้ปกครองในอุตมรัฐ จะเป็นที่ยอมรับของประชาชนจะต้องมีคุณธรรม ได้แก่คุณธรรมปรีชาญาณ
Aristotle ลูกศิษย์แปลว่า ความรอบคอบ (Prudence) คุณธรรมความกล้าหาญ
คุณธรรมการรู้จักประมาณ และคุณธรรมความยุติธรรม Platoได้อธิบายว่าคุณธรรมปรีชาญาณเป็นคุณธรรมหลักของนักปกครอง
คุณธรรมความกล้าหาญเป็นคุณธรรมของทหาร
คุณธรรมรู้จักประมาณเป็นคุณธรรมของฝ่ายธุรการและคุณธรรมความเป็นธรรมที่ผู้ปกครองรัฐจะต้องปฏิบัติต่อพลเมืองอย่างเท่าเทียมกัน
(ตะวัน
สาดแสง, 2548: 205-208)
สาดแสง, 2548: 205-208)
ส่วนภาวะผู้นำหมายถึงกระบวนการของการใช้อิทธิพลของบุคคลหนึ่งบุคคลใดเพื่อให้ผู้อื่นช่วยเหลือและสนับสนุนหน้าที่การงานให้ประสบผลสำเร็จร่วมกัน
ซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวที่ทำให้ผู้นำเป็นผู้นำ (บุญทัน
ดอกไธสง, 2541: 265)
มีนักวิชาการอธิบายความหมายของภาวะผู้นำ ดังนี้
Peter F. Drucker (1986,
อ้างถึงใน Pettinger, R. 2000: 120)
ให้ความหมายภาวะผู้นำ หมายถึง
ผู้ที่มีวิสัยทัศน์ สามารถปฏิบัติงานได้มาตรฐานสูง
และมีบุคลิกภาพพิเศษเหนือข้อจำกัดทั่วไป
G. A.
Cole (1994,
อ้างถึงใน Pettinger, R. 2000:120) ให้ความหมายภาวะผู้นำ หมายถึงกระบวนการภายในกลุ่มที่ทำให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมีอิทธิพลต่อบุคคลอื่นให้อาสาสนับสนุนการทำงานของกลุ่มให้สำเร็จในแต่ละสถานการณ์
ภาวะผู้นำเป็นการศึกษาถึงองค์ประกอบของความเป็นผู้นำ
ในทางวิชาการได้อธิบายถึงความเป็นผู้นำโดยใช้ภาวะของความเป็นผู้นำ เพื่อจำแนกประเภทของผู้นำรวมทั้งให้ความหมายของผู้นำซึ่งการศึกษาภาวะผู้นำจะมีการวางกรอบแนวคิดหรือทฤษฎีภาวะผู้นำอยู่
4 กรอบแนวคิดได้แก่ ทฤษฎีอุปนิสัย (Trait Theory)
ที่พยายามศึกษาเกี่ยวกับชนิดของพฤติกรรมและความสัมพันธ์ของบุคคลที่เป็นผู้นำ ทฤษฎีสถานการณ์ (Situation Theory)
เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของทฤษฎีอุปนิสัยที่เมื่อเผชิญกับสถานการณ์บางอย่างจะมีการเรียกร้องหาผู้นำที่มีบุคลิกลักษณะที่แตกต่างจากปกติ (Different Situations Call for Different
Characteristics)
ในทางการบริหารจัดการแต่ละสถานการณ์ต้องการความสามารถในลักษณะที่ต่างกันออกไป เช่น การแก้ปัญหาทั่วไป การต้องการความถูกต้องแม่นยำ การต้องการความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การทำงานที่มีเวลาจำกัด
และสถานการณ์ที่ต้องการลดต้นทุนค่าใช้จ่าย เหล่านี้ต้องการความสามารถความชำนาญที่ต่างกัน ทฤษฎีตามหน้าที่ (Functional Theory)
เป็นการศึกษาลักษณะเฉพาะของพฤติกรรมของผู้นำที่จะทำให้งานของกลุ่มบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งการจะกระทำดังกล่าวได้ผู้นำจะต้องมีหน้าที่ทำให้องค์กรและงานบรรลุเป้าหมาย
การทำหน้าที่เช่นว่านั้น ได้แก่
การควบคุมติดตามความเป็นไปของสภาพแวดล้อม (Environmental Monitoring) การจัดระเบียบงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชา (Organizing Subordinate Activities) การสอนงานผู้ใต้บังคับบัญชา (Teaching and
Coaching Subordinates) การจูงใจ (Motivating Others) และเข้าไปจัดการงานของกลุ่มเมื่อจำเป็น (Intervening Actively in The Group’s Work) ทฤษฎีพฤติกรรม (Behavior Theory)
เป็นการศึกษาแบบฉบับของการปฏิบัติที่กระทำอยู่ ซึ่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับคุณลักษณะอุปนิสัยของผู้นำเท่านั้นยังต้องอาศัยความสามารถในการจูงใจรวมทั้งขึ้นอยู่กับขนาดของอิทธิพลและอำนาจ
ผู้นำประเภทนี้ได้แก่ผู้นำเผด็จการ ผู้นำประชาธิปไตย และผู้นำแบบเสรีนิยม วิธีการปฏิบัติเป็นการสะท้อนถึงพฤติกรรมของผู้นำที่แตกต่างกันออกไป
(บุญทัน ดอกไธสง, 2541: 262-292) Terry (1977: 419) ได้ศึกษาพฤติกรรมผู้นำสามารถแยกภาวะผู้นำออกเป็น 4 กลุ่มทฤษฎี
ได้แก่ ทฤษฎีสนับสนุน (Support Theory) ที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม ทฤษฎีทางสังคมวิทยา (Sociological Theory)
ให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นกลุ่ม ทฤษฎีทางจิตวิทยา (Psychological Theory)
ให้ความสำคัญกับศิลปะในการจูงใจ และทฤษฎีอำนาจนิยม (Autocratic Theory)
ให้ความสำคัญกับอำนาจในการสั่งการบังคับบัญชา
โดยสรุปภาวะผู้นำมีหลายลักษณะ มีขนาดของความมีอิทธิพลและอำนาจไม่เหมือนกันที่จะทำให้ผู้ตามปฏิบัติตามซึ่งต้องอาศัยอุปนิสัยพฤติกรรม
การจูงใจและสถานการณ์ที่เหมาะสมในการชักนำ
สั่งการควบคุมบังคับบัญชาและจูงใจให้ผู้อื่นปฏิบัติตามความต้องการของตนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน
จากทฤษฎีดังกล่าวข้างต้นสามารถแบ่งประเภทผู้นำได้ดังต่อไปนี้
1. ผู้นำแบบราชการ (Bureaucratic Leader) เป็นผู้นำที่
Weber (1905)
เชื่อว่ามีความจำเป็นในการสร้างหลักประกันคุณภาพและระบบความปลอดภัยและลดการทุจริตในการทำงานที่รายงานผ่านไปแต่ละขั้นตอนของโครงสร้างการบริหาร
โดยเฉพาะองค์กรของรัฐ องค์กรเอกชนขนาดใหญ่ หรือธนาคารขนาดใหญ่ กล่าวคือเป็นผู้นำที่ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบความถูกต้องในแต่ละขั้นตอนก่อนส่งรายงานขึ้นไปตามสายการบังคับบัญชา
2. ผู้นำแบบมีบารมี (Charismatic Leader) Weber อธิบายว่าเป็นผู้นำที่เกิดจากการยอมรับนับถือจากสมาชิก
ผู้นำประเภทนี้สมาชิกจะเชื่อว่าเขาสามารถมอบหมายความไว้วางใจให้บริหารจัดการองค์กรในระยะยาวได้
โดยเชื่อว่าความสำเร็จขององค์กรจะอยู่ที่ผู้นำมิใช่กลุ่มคณะ ซึ่งตรงกับแนวคิดผู้นำแบบประชาธิปไตย
เป็นผู้นำเกิดจากการยอมรับของผู้ตาม
การเอาอนาคตขององค์กรฝากไว้กับผู้นำจึงสุ่มเสี่ยงต่อความล้มเหลวเพราะจะทำให้ขาดโอกาสความคิดดีๆ
จากสมาชิก
3. ผู้นำแบบมีอำนาจสิทธิ์ขาด (Autocratic Leader) หรือผู้นำเผด็จการ Lewin, Lippitt & White (1939)
กล่าวว่าผู้นำประเภทนี้เป็นผู้นำที่มีอำนาจสิทธิขาดในการตัดสินใจในทุกเรื่องโดยไม่ฟังความเห็นของผู้ร่วมงาน
4. ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic Leader) Lewin, Lippitt & White อธิบายว่า เป็นผู้นำที่มีภาวการณ์นำตรงกันข้ามกับผู้นำแบบเผด็จการ
ผู้นำประเภทนี้เขาจะรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกหรือผู้ใต้บังคับบัญชา
แล้วนำมาศึกษาวิเคราะห์ก่อนจะตัดสินใจ
5. ผู้นำแบบเสรีนิยม (Laissez – Faire Leader) เป็นผู้นำที่ให้ความเป็นอิสระในการทำงานแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงาน
ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับคำแนะนำเนื่องจากผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ร่วมงานมีประสบการณ์สูง
ผู้นำที่ปล่อยอิสระในการทำงานโดยไม่มีการควบคุมผลลัพธ์ อาจทำให้ต้นทุนสูง
งานอาจเกิดความล่าช้า
6. ผู้นำแบบมุ่งเน้นประชาชน (People – Oriented Leader) เป็นผู้นำที่ให้ความสำคัญกับผู้ร่วมงาน จะมีการสนับสนุน ฝึกอบรม
สร้างความพึงพอใจในงานให้กับเพื่อนร่วมงานเพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีในการทำงาน
โดยเขาเชื่อว่างานจะสำเร็จลงได้เพราะคนที่มีใจให้กับงาน
7. ผู้นำแบบมุ่งเน้นงาน (Task-Oriented Leader) เขาจะให้ความสำคัญงานมาก่อนคน
โดยจะพิจารณาว่างานชนิดใดเหมาะกับคนประเภทใดจึงมั่นใจว่าจะทำให้งานสำเร็จได้
ลักษณะการทำงานร่วมกับผู้นำประเภทนี้คนทำงานขาดแรงจูงใจ
ลักษณะผู้นำแบบนี้คล้ายคลึงกับผู้นำเผด็จการ
8. ผู้นำแบบผู้รับใช้ (Servant Leader) เป็นผู้นำที่อำนวยความสะดวก
ให้การสนับสนุนทุกอย่างที่เห็นว่าจะทำให้งานบรรลุเป้าหมาย
ผู้นำประเภทนี้เป็นเสมือนเครื่องมือของผู้ร่วมงานมากกว่าที่จะออกคำสั่ง บทบาทของการทำงานจะอยู่ที่ผู้ร่วมงาน
มีภาวะการนำใกล้เคียงกับผู้นำแบบประชาธิปไตย
9. ผู้นำแบบประนีประนอม (Transaction Leader) เป็นผู้นำที่ใช้อำนาจในการให้คุณให้โทษขึ้นอยู่กับผลงานของกลุ่ม (Team’s
Performance) ให้โอกาสแก่ผู้ร่วมงานในการกำหนดเป้าหมายงานร่วมกัน
มีการประเมินตรวจสอบและฝึกอบรมผู้ใต้บังคับบัญชาเมื่อเห็นว่าการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
10. ผู้นำผู้เปลี่ยนแปลง (Transformation Leader)
เป็นผู้นำที่จะสร้างแรงจูงใจผู้ร่วมงานที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล
ใช้กระบวนการสื่อสารเพื่อให้ผู้ร่วมงานเห็นความสำคัญของการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ผู้นำประเภทนี้จะมีความคิดจินตนาการที่ต้องการให้องค์กรบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กร
ผู้นำประเภทนี้ชอบคิดใหญ่และมองการณ์ไกล
แต่จะใช้ประโยชน์จากสายการบังคับบัญชาทำงานในส่วนของรายละเอียด (Burns, 1978)
11. ผู้นำผู้คำนึงภาวะแวดล้อม (Environment Leader) เป็นผู้นำที่ตระหนักถึงที่มาของผู้ร่วมงานและสภาวะแวดล้อมที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจและจิตวิทยาของผู้ทำงานที่อยู่ในองค์กร
ดังนั้นเขาจะใช้วัฒนธรรมขององค์กรในการสร้างความคาดหวังของแต่ละบุคคลและพัฒนาผู้นำในทุกระดับ
ผู้นำประเภทนี้จะศึกษาองค์ประกอบและปัจจัยต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหาร
มีจิตวิทยาในการสั่งการให้ผู้ปฏิบัติเห็นประโยชน์ร่วมกัน
ผู้นำแต่ละประเภทดังกล่าวข้างต้นเป็นการจำแนกตามการใช้อำนาจของผู้นำ
และจำแนกตามการมีส่วนร่วมการตัดสินใจของผู้ร่วมงาน
ผู้นำประเภทที่เหมาะสมกับผู้นำชุมชนจะมีอยู่หลายประเภท เช่น
ผู้นำแบบประชาธิปไตย
ผู้นำแบบมุ่งเน้นประชาชน
ผู้นำแบบประนีประนอม ผู้นำผู้เปลี่ยนแปลง เป็นต้น ชุมชนใดต้องการผู้นำมีภาวะแบบใดขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของแต่ละชุมชน
อย่างไรก็ดีผู้นำแต่ละคนอาจมีส่วนผสมของภาวะผู้นำในแต่ละประเภทที่มีการบูรณาการภาวะผู้นำเพื่อให้การบริหารจัดการชุมชนบรรลุความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง
ดังที่ เสรี พงศ์พิศ (2548) ได้อธิบายคุณลักษณะของผู้นำชุมชนที่ดีไว้ว่าผู้นำชุมชนที่ดี
ต้องมีคุณธรรม ทำตัวเป็นแบบอย่าง สร้างความมั่นคงปลอดภัยให้ชุมชน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีในชุมชน
ปรารถนาและพร้อมที่จะเรียนรู้และส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน ปรารถนาและส่งเสริมนวัตกรรมหรือการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ มองเห็นจุดอ่อนจุดแข็ง
ข้อจำกัดและศักยภาพของตัวเองและของชุมชน
สร้างแรงบันดาลใจ สร้างขวัญกำลังใจให้สมาชิกในชุมชน เป็นตัวเชื่อมที่ดีและผนึกพลังชุมชน
เคารพในศักดิ์ศรีและให้เกียรติชาวบ้าน ไม่ดูถูกผู้อื่น ทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ
และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
สร้างเครือข่ายภายในชุมชนและกับนอกชุมชน เกิดประชาสังคมที่มีพลัง ดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้
ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน หรือวาระซ่อนเร้น
เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตนและพวกพ้อง มีความเชื่อมั่นในตัวเอง เป็นตัวของตัวเอง มีเหตุผล
มีความอดทนต่อการวิพากษ์วิจารณ์ใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ใช้ข้อมูล ความรู้ และปัญญาในการทำงานเพื่อชุมชน ไม่ใช้เงินหรืออำนาจอิทธิพลเพื่อชักนำ ครอบงำ บังคับขู่เข็ญคนอื่น มีวิสัยทัศน์มียุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน เป็นผู้มีบารมีที่ชาวบ้านอยากเดินตาม
มีความอดทนต่อการวิพากษ์วิจารณ์ใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ใช้ข้อมูล ความรู้ และปัญญาในการทำงานเพื่อชุมชน ไม่ใช้เงินหรืออำนาจอิทธิพลเพื่อชักนำ ครอบงำ บังคับขู่เข็ญคนอื่น มีวิสัยทัศน์มียุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน เป็นผู้มีบารมีที่ชาวบ้านอยากเดินตาม
บรรณานุกรม
ตะวัน สาดแสง. (2548). สร้างคน
สร้างองค์กร. กรุงเทพฯ: ส.
เอเซียเพรส.
บุญทัน ดอกไธสง. (2541). การจัดการองค์การ. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
บุญทัน ดอกไธสง. (2548). ผู้นำการแข่งขัน. กรุงเทพฯ: เสมาธรรมการพิมพ์.
เสรี พงศ์พิศ.
(2548). ชุมชนเรียนรู้ อยู่เย็นเป็นสุข. กรุงเทพฯ: พลังปัญญา.
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2538). การบริหารทักษะและการปฏิบัติ.
พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.
Katz, D., & Kahn, R.L. (1973). The
social psychology of organization. New York: John Wiley & Sons Inc.
Plato.
(2008). Plato on Utopia. Retrieved September 20, 2008, from http://plato.standford. edu/entries/plato-ethics-politics.
Pettinger,
R. (2000). Mastering Organizational Behaviour. London: Macmillan Press.
Weber, M. (1905). The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism: and
other Writings. New York: Penguim Group.
Webster, N. (1973). The Webster’s dictionary. 6th ed. New York: The new world
publishing company.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น