วัฒนธรรมทางการเมือง
เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร
งามละม่อม
Wachirawachr
Ngamlamom
ความหมายของวัฒนธรรมทางการเมือง
พลเมืองภาคเหนือตอนบนมีความผูกพันกับวัฒนธรรมล้านนาและยังคงรักษาเอกลักษณ์ของตนเองมาจนถึงปัจจุบัน มีประเพณี ความคิด
ค่านิยมที่แตกต่างจากคนภาคอื่น และเป็นผลผลิตของประวัติศาสตร์ของความเป็นอาณาจักรล้านนา
แต่อย่างไรก็ตามยังเปิดรับเอาวัฒนธรรมจากสังคมอื่นที่ไม่ขัดกับวัฒนธรรมดั้งเดิม
หรือผสมผสานทางวัฒนธรรมทั้งนี้ส่วนหนึ่งเนื่องจากนโยบายของรัฐบาลกลางโดยการรวมเอาดินแดนล้านนาเป็นส่วนหนึ่งของสยามด้วยวิธีการยกย่องให้เกียรติแก่คนล้านนาตั้งแต่สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นต้นมาดังที่กล่าวแต่ต้น
การแสดงออกต่อผู้นำผู้บริหารประเทศและยอมรับผู้นำประเทศตราบใดผู้นำประเทศยังให้เกียรติแก่คนล้านนา พฤติกรรมดังกล่าวถือว่าเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองดังที่นักวิชาการและนักรัฐศาสตร์ได้ให้ความหมายวัฒนธรรมการเมืองไว้ดังนี้
อนุสรณ์ ลิ่มมณี (2525: 50) กล่าวว่า วัฒนธรรมทางการเมือง คือแบบกระสวน หรือชุดของทัศนคติ
ทิศทางของความคิดความเชื่อและค่านิยมของแต่ละคนที่มีต่อการเมือง ซึ่งประกอบด้วยระบบการเมือง
ผู้แสดงบทบาททางการเมือง กระบวนการทางการเมือง และส่วนอื่นๆ ของระบบการเมือง แบบกระสวนดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่สมาชิกของระบบการเมืองส่วนใหญ่มีอยู่ร่วมกัน
ผู้แสดงบทบาททางการเมือง กระบวนการทางการเมือง และส่วนอื่นๆ ของระบบการเมือง แบบกระสวนดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่สมาชิกของระบบการเมืองส่วนใหญ่มีอยู่ร่วมกัน
เชาว์ ไพรพิรุณโรจน์ (2530: 106) แสดงทัศนะว่า
วัฒนธรรมทางการเมือง หมายถึง ค่านิยม ทัศนคติ และความเชื่อทางการเมือง
ซึ่งเป็นมิติทางด้านจิตวิทยา สังคม และวัฒนธรรมของระบบการเมือง
วัฒนธรรมทางการเมืองของระบบการเมืองหนึ่งๆ
ย่อมเป็นผลผลิตทั้งของประวัติศาสตร์ของระบบการเมืองและประวัติชีวิตของมวลสมาชิกในระบบการเมืองนั้น
Robert A. Dahl (1966: 352-355) กล่าวว่า วัฒนธรรมทางการเมืองถือเป็นปัจจัยในการอธิบายแบบแผนต่างๆ
ที่มีความแตกต่างกันในด้านของความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งลักษณะเด่นๆ
ของวัฒนธรรมทางการเมือง ได้แก่ ความรู้สึกหรือการอบรมกล่อมเกลาของการแก้ปัญหา
การมีกิจกรรมร่วมกัน และความรู้สึกหรือการอบรมสั่งสอนที่มีต่อระบบการเมืองและที่มีต่อบุคคลอื่น
ประเภทหรือลักษณะของวัฒนธรรมทางการเมือง
ประชาชนไทยคุ้นเคยกับระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน
(Representative) ผ่านระบบรัฐสภา (Parliamentary Democracy) มาตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
ลักษณะการเมืองแบบนี้จะมีการเลือกผู้แทนเพื่อไปทำหน้าที่นิติบัญญัติในรัฐสภาและรัฐสภาจะมีการเลือกคณะบุคคลทำหน้าที่บริหารที่เรียกว่า
คณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาลรับผิดชอบการบริหารต่อรัฐสภา
ที่ผ่านมาพลเมืองภาคเหนือตอนบนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบอบการเมืองของไทยก็ต้องรับอิทธิพลการเมืองประชาธิปไตยแบบตัวแทน
โดยประชาชนจะทำหน้าที่ครั้งหนึ่งเมื่อมีการเลือกตั้ง
และไม่มีการติดตามประเมินผลตัวแทนของตน
รวมทั้งจะจำยอมต่อผู้มีอำนาจไม่แยกแยะว่าอำนาจที่ผู้นำมีนั้นเป็นอำนาจที่ได้มาอย่างชอบธรรมหรือไม่ ดังที่ Gabriel A. Almond
และ Sidney Verba เรียกว่าวัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้า
นับตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2535 กระแสประชาธิปไตยแรงมากทำให้ประชาชนตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพอันเป็นหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย
ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ประชาชนเข้าถึงสารสนเทศที่เป็นความรู้มากขึ้น
ประชาชนสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารและตัวแบบของประชาธิปไตยจากนานาประเทศที่เจริญทำให้เกิดการเปรียบเทียบ รัฐบาลภายใต้การนำของพรรคไทยรักไทย (พ.ศ. 2544-48)
ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณะมากขึ้น เข้าถึงแหล่งทุนมากขึ้น
เป็นการกระจายโอกาสให้ประชาชนในระดับรากหญ้าทดลองการจัดการทุน
จัดการทรัพยากรภายในชุมชนของตนเอง
ราชการเป็นเพียงพี่เลี้ยงมิใช่เป็นผู้หยิบยื่นและกำกับอย่างเข้มงวดเหมือนในอดีต
ประชาธิปไตยจึงพัฒนาไปสู่การเมืองแบบมีส่วนร่วมมากขึ้นและอย่างกว้างขวาง (Participative
Democracy)
อาจกล่าวได้ว่าพลเมืองไทยเริ่มให้ความสำคัญกับประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นประเภทที่สามและลักษณะของวัฒนธรรมทางการเมือง
ตามแนวคิดของ Gabriel A. Almond และ Sidney Verba, (1965) ที่แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
ประเภทที่หนึ่ง
วัฒนธรรมทางการเมืองแบบคับแคบ (The Parochial
Political Culture) เป็นวัฒนธรรมทางการเมืองของบุคคลที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการเมืองเลย
ไม่มีการรับรู้
ไม่มีความเห็น และไม่ใส่ใจต่อระบบการเมือง ไม่คิดว่าตนเองมีความจำเป็นต้องมีส่วนร่วมทางการเมือง
เพราะไม่คิดว่าการเมืองระดับชาติจะกระทบเขาได้
และไม่หวังว่าระบบการเมืองระดับชาติจะตอบสนองความต้องการของตนได้ สังคมที่อาจพบวัฒนธรรมทางการเมืองแบบคับแคบ ก็คือบรรดาสังคมเผ่าทั้งหลายในทวีปแอฟริกาหรือชาวไทยภูเขาเผ่าต่างๆ
ซึ่งในแต่ละเผ่าขาดความเชื่อมโยงกับการเมืองระดับชาติ
ขาดโอกาสในการรับรู้และเข้าใจบทบาทของตนต่อระบบการเมือง
แต่มีการรับรู้ที่ “แคบ” อยู่เฉพาะแต่กิจการในเผ่าของตน หรือในประเทศด้อยพัฒนาที่ประชาชนส่วนใหญ่ยากจนและไร้การศึกษาจึงถูกปลูกฝังด้วยความเชื่อดั้งเดิมมาแต่โบราณว่าเรื่องการปกครองเป็นเรื่องของผู้ปกครอง
ทำให้ผู้ปกครองใช้อำนาจได้โดยไม่ถูกตรวจสอบจากประชาชน
ประเภทที่สอง วัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้า (The Subject Political
Culture) เป็นวัฒนธรรมทางการเมืองของบุคคลที่มีความรู้ความเข้าใจต่อระบบการเมืองโดยทั่วๆ
ไปแต่ไม่สนใจที่จะเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองในตลอดทุกกระบวนการ
และไม่มีความรู้สึกว่าตนเองมีความหมายหรืออิทธิพลต่อระบบการเมือง
บุคคลเหล่านี้มักมีพฤติกรรมยอมรับอำนาจรัฐ
เชื่อฟัง และปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐโดยดุษฎี ลักษณะของวัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้าจะพบได้ในกลุ่มคนชั้นกลางในประเทศกำลังพัฒนา
เป็นกลุ่มคนที่มีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับระบบการเมืองโดยทั่วไป
แต่ยังคงมีความเชื่อที่ฝังรากลึกมาแต่เดิมอันเป็นอิทธิพลของสังคมเกษตรกรรมว่าอำนาจรัฐเป็นของผู้ปกครอง
ประชาชนทั่วไปควรมีหน้าที่เชื่อฟังและปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น
ประเภทที่สาม วัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม
(The Participant Political
Culture)
เป็นวัฒนธรรมทางการเมืองของบุคคลที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการเมืองเป็นอย่างดี เห็นคุณค่าและความสำคัญในการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง ทั้งนี้เพื่อควบคุม กำกับ และตรวจสอบให้ผู้ปกครองใช้อำนาจปกครองเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมจะพบเห็นได้ในชนชั้นกลางส่วนใหญ่ของประเทศอุตสาหกรรมหรือประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed Country) และประเทศที่มีความมั่นคงทางการเมืองแบบประชาธิปไตยดังกรณีประเทศอินเดีย
เป็นวัฒนธรรมทางการเมืองของบุคคลที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการเมืองเป็นอย่างดี เห็นคุณค่าและความสำคัญในการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง ทั้งนี้เพื่อควบคุม กำกับ และตรวจสอบให้ผู้ปกครองใช้อำนาจปกครองเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมจะพบเห็นได้ในชนชั้นกลางส่วนใหญ่ของประเทศอุตสาหกรรมหรือประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed Country) และประเทศที่มีความมั่นคงทางการเมืองแบบประชาธิปไตยดังกรณีประเทศอินเดีย
ประชาชนเขาติดตามพฤติกรรมการทำงานของผู้แทน
และรัฐบาลที่เขาเลือกเข้าไปทำหน้าที่บริหารหรือนิติบัญญัติแล้ว เขาจะใช้ความรู้
ข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์ในการติดตามประเมินผลนักการเมืองและรัฐบาลเพื่อประกอบการตัดสินใจเมื่อเขาต้องใช้สิทธิและหน้าที่ในการเลือกผู้แทนของเขาครั้งต่อไปทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น
การแบ่งประเภทวัฒนธรรมทางการเมืองในมุมมองนี้จะใช้เกณฑ์คุณสมบัติของประชาชนที่มีความรู้เกี่ยวกับชาติ
ว่ามีความเข้าใจระบบการเมืองมากน้อยเพียงใด มีความรู้เกี่ยวกับบทบาทของผู้ปกครองและการบริหารงานของรัฐบาลหรือไม่เพียงใด
ดังที่ นพคุณ เมืองแวง ศรายุทธ
โยธีคณะ และสุกิจ เจริญรัตนกุล (2524) ได้จำแนกวัฒนธรรมทางการเมือง โดยใช้แนวทางการค้นหาความโน้มเอียงทางการเมืองของบุคคล ซึ่งวัดจากปัจจัย 3 ประการ คือ
โยธีคณะ และสุกิจ เจริญรัตนกุล (2524) ได้จำแนกวัฒนธรรมทางการเมือง โดยใช้แนวทางการค้นหาความโน้มเอียงทางการเมืองของบุคคล ซึ่งวัดจากปัจจัย 3 ประการ คือ
1. บุคคลนั้นมีความรู้เกี่ยวกับชาติของเขาและเกี่ยวกับระบบการเมืองของเขาโดยทั่วไปอย่างไร
ตลอดจนเขามีความรู้สึกต่อลักษณะทั่วๆ ไปของระบบอย่างไร
เขามีความคิดเห็นหรือการตัดสินว่าระบบอย่างนี้เป็นอย่างไร
2. บุคคลผู้นั้นมีความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างทางการเมือง
และบทบาททางการเมืองของชนชั้นปกครองอย่างไร
เขามีความรู้สึกและมีความคิดเห็นต่อโครงสร้างบทบาทของผู้นำ และนโยบายของรัฐอย่างไร
บุคคลนั้นมีความรู้เกี่ยวกับการบริหารของรัฐอย่างไร
3. มีความรู้เกี่ยวกับการบริหารของรัฐอย่างไร
มีความรู้เกี่ยวกับสถาบัน ตัวบุคคล
และกระบวนการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการบริหารนั้นอย่างไร และมีความรู้สึก
ความคิดเห็นต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างไร
วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย
ดังที่ทราบแล้วว่าประชาธิปไตย หมายถึง
การที่ประชาชนสามารถเข้าถึงอำนาจรัฐอย่างเท่าเทียมกันและตระหนักถึงความมีอิสระเสรีภาพอย่างกว้างขวางของพวกเขา
(All Members of The Society Have Equal Access to Power and
All Members Enjoy Universally Recognized Freedoms and Liberties)
(Moore. 2008)
จะเห็นว่ารัฐต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนมีอิสระเสรีภาพในการที่จะจัดการอำนาจรัฐในระดับที่เขามีความรู้สึกว่าไม่เป็นการจำกัดความเป็นอิสระและเสรีภาพของพวกเขา
ดังนั้นประชาชนในฐานะพลเมืองจะต้องรู้ว่าโครงสร้างและกลไกตลอดจนรูปแบบการปกครองแบบใดที่เหมาะสมกับเขา
เขาจะต้องมีความรู้สึกถึงความพอดีของการปกครองตนเองและการถูกปกครองจากส่วนกลาง
มีนักวิชาการได้อธิบายถึงวัฒนธรรมการเมืองแบบประชาธิปไตยขึ้นอยู่กับความเข้าใจความหมายของความเป็นประชาธิปไตยของสมาชิกในสังคม
ทินพันธุ์ นาคะตะ (2517: 8-12) สรุปลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ดังนี้
1. จะต้องมีจิตใจสนับสนุนหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย
คือ มีความต้องการปกครองแบบนี้มากกว่าแบบอื่นๆ
รวมทั้งจะต้องเห็นด้วยกับหลักการปกครองที่ว่า การปกครองของประชาชน
โดยประชาชน และเพื่อประชาชน
โดยประชาชน และเพื่อประชาชน
2. จะต้องมีความเชื่อและยึดมั่นในคุณค่าและศักดิ์ศรีของบุคคล
รวมทั้งรู้จักเคารพสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่นในการพูด การเขียน การแสดงความคิดเห็น
และการแสดงออก แม้ว่าสิ่งนั้นจะขัดแย้งกับความคิดเห็นของตนก็ตาม
คนที่มีจิตใจเป็นประชาธิปไตยจะต้องยอมรับหรือมีความอดกลั้นในเรื่องความแตกต่างในการประพฤติปฏิบัติของผู้อื่น
ตราบใดที่บุคคลนั้นไม่ละเมิดศีลธรรมและสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น
3. จะต้องเคารพในกติกาและการปกครองแบบประชาธิปไตย
คือใช้วิธีตัดสินปัญหาด้วยเสียงข้างมาก
โดยมีข้อผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามจากทุกฝ่าย
ขณะเดียวกันก็ให้ความคุ้มครองสิทธิของฝ่ายที่มีเสียงข้างน้อย
เพื่อประกันว่าการแก้ไขปัญหาเป็นไปเพื่อประโยชน์ของคนส่วนรวม และให้เป็นไปตามหลักที่ว่า
แต่ละคนมีสิทธิและเสียงเท่ากัน (One Man One Vote) ส่วนบุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับเสียงข้างมากจะถือว่าเป็นฝ่ายตรงกันข้าม
หรือจะขจัดออกจากสังคมไม่ได้
นอกจากนั้นยังรวมถึงการปฏิบัติกันอย่างยุติธรรมตามกฎหมายอีกด้วย
4. จะต้องสนใจในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองการปกครอง
โดยติดตามข่าวสารบ้านเมือง สนทนาถึงปัญหาของบ้านเมืองกับผู้อื่น
และพยายามเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ หรือในการกำหนดนโยบายของทางราชการ
5. จะต้องมีความสำนึกในหน้าที่พลเมืองของตน
และมีความเชื่อมั่นในตนเองเป็นต้นว่า ปฏิบัติตามกฎหมายและการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
ยิ่งกว่านั้นยังต้องมีความเชื่อว่า การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองของตนจะได้ผล
6. จะต้องมองโลกในแง่ดี มีความไว้วางใจผู้อื่น
และมีความเชื่อมั่นในตัวเจ้าหน้าที่หรือสถาบันของทางราชการ
สิ่งนี้นับว่ามีความจำเป็นต่อความสำเร็จของการปกครองแบบประชาธิปไตยอยู่ไม่น้อย
เพราะการเมืองเป็นเรื่องของความร่วมมือร่วมใจกัน แม้จะมีความขัดแย้งกันอยู่ก็ตาม
ความสำเร็จของการดำเนินงานของสถาบันทางการเมืองต่างๆ
ส่วนหนึ่งจะต้องอาศัยความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
7. จะต้องรู้จักการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมีเหตุผล
และในทางสร้างสรรค์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการใช้อำนาจหน้าที่และการปฏิบัติงานของทางราชการ
เพราะถ้าปล่อยให้ข้าราชการทำอะไรได้โดยไม่มีการคัดค้าน ควบคุม และตรวจสอบแล้ว
อาจทำให้เหลิงอำนาจได้ง่าย
วิสุทธิ์ โพธิแท่น (2524: 156-160) กล่าวถึงลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยว่า ต้องมีลักษณะดังนี้
1. ความมีเหตุผล
2. การเข้าร่วมในการเมืองอย่างกระตือรือร้น
3. การมีความรู้ในเรื่องการเมือง
4. การสำนึกในความสามารถทางการเมืองของตน
5. การตัดสินใจใดๆ จำต้องใคร่ครวญอย่างรอบคอบ
โดยการประเมินจากพยานและหลักฐาน
และการตรวจสอบเปรียบเทียบที่จะเลือกตัดสินใจในทางการเลือกที่มีอยู่หลายทาง
สิ่งหนึ่งที่จะทำให้สังคมใดเป็นประชาธิปไตยมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปรัชญาพื้นฐานของมนุษย์ที่มองมนุษย์ด้วยกันอย่างมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน
ไม่แยกความมีความจน เชื้อชาติและศาสนา หากพื้นฐานความนึกคิดตรงนี้ปฏิบัติได้
พฤติกรรมและทัศนคติแบบประชาธิปไตยดังกล่าวข้างต้นก็สามารถจะปฏิบัติได้ง่ายขึ้น
ระบบอุปถัมภ์
ระบบอุปถัมภ์ (Patronage
System) เป็นระบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่มีฐานะทางสังคม
เศรษฐกิจไม่เท่ากัน ที่ต่างฝ่ายมีปฏิสัมพันธ์ต่างตอบแทน
แต่สามารถอยู่ร่วมกันได้เนื่องจากสองฝ่ายต่างพึงพอใจในสิ่งที่ตอบแทนซึ่งกันและกัน
สิ่งให้กันและกัน ไม่จำเป็นต้องมีมูลค่าทางเศรษฐกิจเท่ากันเพียงแต่อยู่ที่ความพึงพอใจของผู้อุปถัมภ์และผู้ถูกอุปถัมภ์
เช่น อาจเป็นทรัพย์สินเงินทอง สถานภาพทางสังคม
การคุ้มครอง หรือแรงงาน ฯลฯ
การคุ้มครอง หรือแรงงาน ฯลฯ
ระบบอุปถัมภ์เป็นความสัมพันธ์ส่วนตัว
ต่างจากระบบตลาดที่ไม่ใช่ความสัมพันธ์ส่วนตัว
แต่เป็นการแลกเปลี่ยนที่รู้ชัดว่าอะไรเป็นอะไรและมีกติกาที่ชัดเจนเพื่อให้คนแปลกหน้าสามารถแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างกันได้
แต่ระบบอุปถัมภ์เป็นความสัมพันธ์ที่ผู้อุปถัมภ์มีทรัพยากรมากกว่าสามารถให้อุปการะแก่ผู้ถูกอุปถัมภ์ซึ่งมีทรัพยากรด้อยกว่า
ฝ่ายผู้ถูกอุปถัมภ์ก็จะตอบแทนด้วยความนิยมชมชอบ ให้ข้อมูลข่าวสาร
เป็นฐานเสียงในการสนับสนุนทางการเมือง (อคิน รพีพัฒน์, 2552) ระบบอุปถัมภ์ของไทยมีมาแต่สมัยโบราณที่เรียกว่าระบบไพร่ฟ้าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างนายกับบ่าวที่บ่าวต้องเชื่อฟังนายแม้ต่อมาจะเรียกเป็นชื่ออย่างอื่น
เช่น เจ้านายกับลูกน้อง เจ้าพ่อกับมือปืน หัวคะแนนกับนักเลือกตั้ง
นักการเมืองกับข้าราชการ เป็นต้น
ถ้าพิจารณาให้ละเอียดย้อนไปไกลกว่านั้น
ระบบอุปถัมภ์กล่าวได้ว่ามีมาตั้งแต่สังคมยุคเผ่าที่หัวหน้าเผ่าต้องดูแลคุ้มครองคนในเผ่าของตน
สมาชิกของเผ่าให้ความจงรักภักดีและแรงงานต่างพึ่งพาอาศัยกัน
พัฒนาการของความเป็นอยู่ของมนุษย์จากสังคมเผ่ามาเป็นบ้าน ชุมชน เมืองและรัฐ
แต่ระบบอุปถัมภ์ที่ปรากฏหลักฐานทางการปกครองในสมัยสุโขทัยที่พ่อขุนรามคำแหงสร้างระบบการปกครองแบบพ่อปกครองลูกซึ่งเป็นความสัมพันธ์แบบครอบครัวใครเดือดร้อนสามารถร้องเรียนแจ้งเหตุแก่พระมหากษัตริย์ได้
โดยได้แขวนกระดิ่งไว้ที่ประตูพระราชวัง
เมื่อประชาชนเดือดร้อนสามารถสั่นกระดิ่งร้องทุกข์ต่อพ่อขุนรามคำแหง (อาทร จันทวิมล,
2548)
การศึกษาระบบอุปถัมภ์เป็นการศึกษาแนวประวัติศาสตร์ทางสังคมวิทยา
โดยทั่วไปมีการอธิบายระบบอุปถัมภ์ในเชิงการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลซึ่งเป็นมุมมองที่แคบไป
ถ้าศึกษาในแนวทางทฤษฎีทางโครงสร้าง (Structuralism) มีการอธิบายโครงสร้างทางสังคมศาสตร์ที่ครอบคลุมเนื้อหาทางมานุษยวิทยา
สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ จิตวิทยา
มนุษยศาสตร์ในส่วนของมนุษยศาสตร์ยังครอบคลุมกิจกรรมเกี่ยวกับวรรณคดี
ภาษาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ รวมทั้งวิจิตศิลป์ (สุเทพ สุนทรเภสัช, 2548: 57-58) ดังนั้นระบบอุปถัมภ์จึงเป็นค่านิยมที่ได้ผสมเอาส่วนประกอบของโครงสร้างทางสังคมหลายส่วนเข้าไว้ด้วยกัน
มิใช่เป็นเรื่องของมานุษยวิทยาหรือรัฐศาสตร์เท่านั้น
ระบบอุปถัมภ์
ภายใต้ระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชในสมัยอยุธยา
ความสัมพันธ์เป็นความสัมพันธ์แบบนายกับบ่าว จะแบ่งเป็น 2 ชั้น ได้แก่ ชนชั้นนายและชนชั้นไพร่
ชนชั้นนายหมายถึงเป็นผู้ปกครอง
หรือข้าราชการที่มียศฐาบรรดาศักดิ์ในอดีตจะเป็นเชื้อพระวงศ์ และเจ้าเมือง
อีกกลุ่มหนึ่งเป็นขุนนางหมายถึงราษฎรที่มีความสามารถ ถูกชนชั้นนายแต่งตั้งเป็นผู้รับใช้ในงานหน้าที่ของตน
ปัจจุบันเปิดกว้างมากขึ้นได้รวมเอาผู้ที่เป็นข้าราชการที่มีตำแหน่งชั้นยศ ส่วนชนชั้นไพร่ จะมีสองประเภท ได้แก่ ไพร่หลวงและไพร่สม
ไพร่หลวงจะต้องรับใช้หลวงโดยการเป็นแรงงาน หลวงสามารถเกณฑ์มาใช้แรงงานได้
ไพร่สมคือผู้ที่รับใช้เจ้านายและขุนนางไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย
เมื่อปี พ.ศ. 2475
ชนชั้นขุนนางคณะราษฏรได้ยึดอำนาจโดยอาศัยความได้เปรียบด้านการศึกษา ทุน
และในฐานะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ผู้วางโครงสร้างและออกแบบระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน สงวนอำนาจของชนชั้นเจ้านายไว้เป็นของตนเอง
ดังที่เรียกว่าพรรคข้าราชการ หรือกลุ่มอำมาตยาธิปไตย โดยให้กลุ่มประชาชนทั่วไปให้มีสถานะด้อยกว่า
ความสัมพันธ์ระหว่างชนสองชนชั้นอาจปรากฏความสัมพันธ์หลายรูปแบบ เช่น
ความสัมพันธ์ที่มีการแลกเปลี่ยนสิ่งทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมระหว่างกัน ความสัมพันธ์ระหว่างนายกับลูกน้อง
ความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างพวกพ้องเดียวกัน
ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานของรัฐและประชาชน เป็นต้น
อคิน รพีพัฒน์ (2552) อธิบายว่า ระบบนี้สามารถยั่งยืนมาจนทุกวันนี้เนื่องจากผู้ให้มีคุณธรรม
และผู้รับมีความภักดี การมองเช่นนี้เป็นมุมองของนักมานุษยวิทยา ส่วนนักรัฐศาสตร์มองระบบอุปถัมภ์ในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทางการเมืองและทางราชการ ซึ่งขัดกับหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ยึดหลักความมีเหตุผลและความเสมอภาคไม่มีชนชั้น และในระบบราชการให้ความสำคัญกับหลักประสิทธิภาพประสิทธิผลของงาน การนำเอาการปกครองและการบริหารราชการแบบประชาธิปไตยสมัยใหม่มาใช้ภายใต้สังคมที่คุ้นเคยกับระบบอุปถัมภ์จะต้องมีการปรับให้ไปด้วยกันได้
ดังกรณี รัชกาลที่ 5 ปฏิรูประบบราชการเมื่อมีการแต่งตั้งขุนนางให้ยศตำแหน่งมอบหน้าที่ให้ใครต้องพิจารณาควบคู่ไปกับระบบคุณธรรม จะเห็นว่าการพัฒนาประชาธิปไตยของไทยจึงไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควรจะเป็นส่วนหนึ่งเนื่องจากระบบอุปถัมภ์ เพราะคนไทยเชื่อในเรื่องบุญกรรม ตายแล้วเกิดใหม่จึงยอมรับความแตกต่างของชนชั้น จึงไม่เชื่อในเรื่องความเสมอภาค ที่ทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกันของความเป็นมนุษย์ การนำระบบคุณธรรมมาใช้จึงถูกกัดกร่อนด้วยระบบอุปถัมภ์
และผู้รับมีความภักดี การมองเช่นนี้เป็นมุมองของนักมานุษยวิทยา ส่วนนักรัฐศาสตร์มองระบบอุปถัมภ์ในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทางการเมืองและทางราชการ ซึ่งขัดกับหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ยึดหลักความมีเหตุผลและความเสมอภาคไม่มีชนชั้น และในระบบราชการให้ความสำคัญกับหลักประสิทธิภาพประสิทธิผลของงาน การนำเอาการปกครองและการบริหารราชการแบบประชาธิปไตยสมัยใหม่มาใช้ภายใต้สังคมที่คุ้นเคยกับระบบอุปถัมภ์จะต้องมีการปรับให้ไปด้วยกันได้
ดังกรณี รัชกาลที่ 5 ปฏิรูประบบราชการเมื่อมีการแต่งตั้งขุนนางให้ยศตำแหน่งมอบหน้าที่ให้ใครต้องพิจารณาควบคู่ไปกับระบบคุณธรรม จะเห็นว่าการพัฒนาประชาธิปไตยของไทยจึงไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควรจะเป็นส่วนหนึ่งเนื่องจากระบบอุปถัมภ์ เพราะคนไทยเชื่อในเรื่องบุญกรรม ตายแล้วเกิดใหม่จึงยอมรับความแตกต่างของชนชั้น จึงไม่เชื่อในเรื่องความเสมอภาค ที่ทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกันของความเป็นมนุษย์ การนำระบบคุณธรรมมาใช้จึงถูกกัดกร่อนด้วยระบบอุปถัมภ์
1)
ระบบอุปถัมภ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมือง
ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองถือเป็นดัชนีชี้วัดวัฒนธรรมความเป็นประชาธิปไตยซึ่งสามารถอธิบายวัฒนธรรมการเมืองทั้งในระดับบุคคลและสังคม
โดยได้แบ่งเป็นสามระดับได้แก่ หนึ่ง วัฒนธรรมการเมืองแบบเพิกเฉย (Parochial
Political Culture) คือเป็นสังคมที่มีผู้ไม่ให้ความสนใจเกี่ยวกับการเมืองอยู่มาก
ไม่มีความรู้ว่าการเมืองจะมีประโยชน์ต่อตนอย่างไร สอง วัฒนธรรมการเมืองแบบไพร่ฟ้า (Subject
Political Culture) เป็นสังคมที่มีผู้ให้ความสนใจการเมืองตามคำสั่ง
คำชี้นำของเจ้าหน้าที่รัฐ
ข้าราชการรวมทั้งเชื่อในระเบียบกฎเกณฑ์ที่ออกโดยเจ้าหน้าที่รัฐ และสาม วัฒนธรรมการเมืองแบบมีส่วนร่วม (Participant
Political Culture) เป็นสังคมที่มีผู้ให้ความสนใจการเมืองติดตามเรียนรู้เกี่ยวกับการเมือง
รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองและนักการเมือง มีความกระตือรือร้นที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง (Almond & Verba, 1965: 16) สังคมไทยในยุคปัจจุบันถ้ายอมรับว่าระบบอุปถัมภ์มีอิทธิพลอยู่ ถือได้ว่าสังคมไทยมีวัฒนธรรมแบบไพร่ฟ้า และกำลังพัฒนาไปสู่วัฒนธรรมการเมืองแบบมีส่วนร่วม ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงความรู้และข้อมูลข่าวสารได้อย่างกว้างขวางและเท่าเทียมกันมากกว่าในอดีตโดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ตามภูมิภาคและท้องถิ่น
รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองและนักการเมือง มีความกระตือรือร้นที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง (Almond & Verba, 1965: 16) สังคมไทยในยุคปัจจุบันถ้ายอมรับว่าระบบอุปถัมภ์มีอิทธิพลอยู่ ถือได้ว่าสังคมไทยมีวัฒนธรรมแบบไพร่ฟ้า และกำลังพัฒนาไปสู่วัฒนธรรมการเมืองแบบมีส่วนร่วม ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงความรู้และข้อมูลข่าวสารได้อย่างกว้างขวางและเท่าเทียมกันมากกว่าในอดีตโดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ตามภูมิภาคและท้องถิ่น
2)
ระบบอุปถัมภ์กับการพัฒนาชุมชน
ระบบอุปถัมภ์ยังคงมีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง
การบริหารหรือการพัฒนาบนความมีเหตุมีผลซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย
ระบบอุปถัมภ์เป็นการยอมรับในความไม่เท่าเทียมทางสถานะของคนสองฝ่ายคือฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐและฝ่ายประชาชน
ในขณะที่กระแสประชาธิปไตยไหลบ่าเข้าสู่ประเทศไทยฝ่ายเจ้านายจึงจำยอมผ่อนคลายอำนาจของตนเอง ยอมรับแนวคิดการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
และแนวคิดการกระจายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบไปสู่ชุมชน
โดยเฉพาะชุมชนวิชาชีพหรือสมาคมวิชาชีพ เป็นแนวคิดที่ขยายตัวออกไปพร้อมๆ กับสำนึกของการปกครองตนเอง หรือสำนึกอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบทางสังคมของประชาชนและชุมชนที่ควบคู่ไปกับการไม่ไว้วางใจให้รัฐที่ออกแบบโครงสร้างอำนาจรวมศูนย์สู่ส่วนกลางมากเกินไป
(กิตติศักดิ์ ปรกติ,
2550: 47) ชุมชนเองก็ได้รับบทเรียนการบริหารการพัฒนาที่ถูกออกแบบจากส่วนกลาง ทำให้ชุมชนต้องพึ่งพามากขึ้นไม่สามารถจะพัฒนาตนเองให้เข้มแข็งได้
กระบวนการพัฒนาทำให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างหรือการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ไปพร้อมๆ
กัน (สุเทพ สุนทรเภสัช, 2548:
72) การพัฒนาชุมชนจึงถูกแบ่งออกเป็นสองกระบวนการกล่าวคือเป็นกระบวนการที่จัดการโดยส่วนกลาง
อีกกระบวนการหนึ่งเป็นสิ่งที่ชุมชนต้องออกแบบและจัดการเองบนพื้นฐานของสภาพแวดล้อมและภูมิปัญญาของตนเอง
ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการพัฒนา กิจกรรมทางศาสนา
พิธีกรรมชุมชนจะมีผู้นำในการดำเนินการ
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำและสมาชิกชุมชนเป็นวัฒนธรรมการมีส่วนรวมชนิดหนึ่งและเป็นการมีส่วนร่วมที่ตั้งอยู่บนหลักการของเหตุและผล
มิใช่เป็นการตอบแทนแบบระบบอุปถัมภ์
เพราะผู้นำและสมาชิกชุมชนให้ความร่วมมือสนับสนุนมีเป้าหมายอันเดียวกันในการพัฒนาชุมชนกล่าวคือแนวทางหรือแผนการพัฒนาชุมชนสมาชิกชุมชนต้องมีส่วนร่วมทุกขั้นตอนจึงจะได้รับการสนับสนุนจากคนในชุมชน
และทรัพยากรของชุมชน
บรรณานุกรม
กิตติศักดิ์ ปรกติ. (2550). สิทธิชุมชน. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
เชาว์ ไพรพิรุณโรจน์. (2530). ลัทธิและอุดมการณ์ทางการเมือง.
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทินพันธุ์ นาคะตะ. (2517). ประชาธิปไตย: ความหมายปัจจัยที่เอื้ออำนวยและการสร้างจิตใจ.
วารสารธรรมศาสตร์. 3(2): 10.
นพคุณ เมืองแวง ศรายุทธ
โยธีคณะ และสุกิจ เจริญรัตนกุล. (2524). แนววิเคราะห์วัฒนธรรมทางการเมือง. กรุงเทพฯ:
เซ็นเตอร์พับลิคเคชั่นการพิมพ์.
วิสุทธิ์ โพธิแท่น. (2524). ผู้ปกครองที่พึงประสงค์. กรุงเทพฯ : ศูนย์วิจัย คณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิสุทธิ์ โพธิแท่น. (2524). ประชาธิปไตยแนวความคิด และตัวแบบประเทศประชาธิปไตย
ในอุดมคติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุเทพ สุนทรเภสัช. (2548). มนุษยวิทยากับประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธา การพิมพ์.
อคิน รพีพัฒน์. (2552). ระบบอุปถัมภ์. สืบค้นจาก http://www.nidambe11.
net/ekonomiz/2005q1/article2005march16p1.htm.
อาทร จันทรวิมล. (2548). ประวัติของแผ่นดินไทย.
พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรไทย.
อนุสรณ์ ลิ่มมณี. (2525). การวิเคราะห์ระบบการเมือง.
กรุงเทพฯ: คุณพินอักษรกิจ.
Almond, G. A., & Verba, S. (1965). The
Civic Culture: Political Attitudes and Democracy in Five Nations. Boston: Little, Brown and Co.
Dahl, R.A.(1966). Political Opposition in Western Democracies. New
Haven: Yale University Press.
Moore, B.J. (2008). Types of
Bureaucratic agencies. Retrieved March 5,
2008, from http://en.wikipedia.org/wiki/Bureaucracy
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น