เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร งามละม่อม
Wachirawachr Ngamlamom
ภูมิปัญญา หมายถึง
ผลึกขององค์ความรู้ที่มีเอกลักษณ์ซึ่งมนุษย์ในสังคมหนึ่งๆ คิดค้นขึ้นจากการบูรณาการระหว่างความคิดและความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสรรพสิ่งรอบตัว
ภูมิปัญญาจึงเป็นสิ่งที่มนุษย์ได้มาโดยผ่านกระบวนการสั่งสม สืบทอด
ปรับปรุงและประยุกต์ต่อเนื่องกัน
เป็นระบบคุณค่าดั้งเดิมที่สะท้อนออกมาให้เห็นในชีวิตประจำวันของบุคคลด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ
ภูมิปัญญาจึงมีความเชื่อมโยงกับระบบต่างๆของสังคมทั้งระบบตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
มีความหลากหลาย ไม่หยุดนิ่ง และแตกต่างกันไปในแต่ละสังคม (พัชรินทร์ สิรสุนทร)
สิริมาส เฮงรัศมี (2547)
กล่าวว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นเปรียบได้กับ ความรู้ ขนบธรรมเนียม
ประเพณีและวัฒนธรรมที่หยั่งรากฐาน สืบทอดสั่งสม
และผ่านกาลเวลาไม่ว่าจะยาวหรือสั้นอยู่ในสังคมแต่ละพื้นที่นั่นเอง
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นความรู้ที่ได้มาจากประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตประจำวันและสืบทอดความรู้นั้นจากรุ่นสู่รุ่น
ซึ่งอาจเหมือนหรือแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น หรือกลุ่มชาติพันธุ์ ขึ้นอยู่กับระบบสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชนนั้นๆ
ซึ่งสอดคล้องกับ นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ (2539)
ที่กล่าวไว้ว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นประกอบด้วยลักษณะสำคัญ 4 อย่างคือ
1. เป็นความรู้และระบบความรู้
2. เกิดจากการสั่งสม
การเข้าถึงความรู้ และการกระจายความรู้
3.
การถ่ายทอดความรู้และระบบความรู้
4.
การสร้างสรรค์และการปรับปรุงภูมิปัญญาความรู้
แนวคิดเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้เกิดขึ้นจากข้อจำกัดของการพัฒนาในอดีตที่ไม่ให้ความสำคัญกับองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่น
และการละเลยระบบวัฒนธรรม และเศรษฐกิจฐานราก ภูมิปัญญาจึงมีลักษณะคล้ายคลึงกับวัฒนธรรมคือ เป็นสิ่งที่ไม่คงที่ (Dynamics) มีความหลากหลาย
(Differentiation) และเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ซึ่งประกอบด้วยสาระสำคัญสองประการคือ
1. ส่วนที่เป็นรูปธรรม
ได้แก่ผลผลิตทางภูมิปัญญา เช่น ผ้าทอ งานจักสาน
2. ส่วนที่เป็นนามธรรม ได้แก่
ระบบคิด ความเชื่อ ทัศนคติและค่านิยม
ฉะนั้น
ภูมิปัญญาจึงอาจกล่าวได้ว่า
เป็นการผสมผสานอย่างมีบูรณาการระหว่างระบบคิดและศักยภาพของมนุษย์ในแต่ละสังคม
(พัชรินทร์ สิรสุนทร )
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาไทย หมายถึง
สิ่งที่เป็นองค์ความรู้ของชาวบ้านที่เกิดจากการสั่งสม สะสม สามารถคิดเอง ทำเอง
เป็นความรู้แบบองค์รวม สามารถถ่ายทอดได้
มีความเชื่อมโยงบูรณาการ นำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นสุขหรือป้องกันและแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นได้ ภูมิปัญญาเป็นสินทรัพย์ของประชาชนและชุมชนที่มีการสั่งสมทุนทางปัญญา ความรู้ วัฒนธรรม ทักษะฝีมือธรรมชาติของชุมชน ความสงบ วิถีชีวิต วัสดุตามธรรมชาติ สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานหรือทุนทางสังคมของชุมชน เพราะเป็นสิ่งที่ได้รับการสร้างสมและสืบทอดต่อ ๆ มาเป็นสมบัติของคนในชุมชนซึ่งมีอยู่มาก สิ่งที่จะต้องเร่งทำในวันนี้ คือ การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น รักษาภูมิปัญญาเดิมของไทยแล้วต่อยอดภูมิปัญญาด้วยวิทยาการและความรู้สมัยใหม่ เพื่อให้พื้นฐานของไทยแข็งแกร่งและอยู่รอดได้อย่างมั่นคง
มีความเชื่อมโยงบูรณาการ นำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นสุขหรือป้องกันและแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นได้ ภูมิปัญญาเป็นสินทรัพย์ของประชาชนและชุมชนที่มีการสั่งสมทุนทางปัญญา ความรู้ วัฒนธรรม ทักษะฝีมือธรรมชาติของชุมชน ความสงบ วิถีชีวิต วัสดุตามธรรมชาติ สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานหรือทุนทางสังคมของชุมชน เพราะเป็นสิ่งที่ได้รับการสร้างสมและสืบทอดต่อ ๆ มาเป็นสมบัติของคนในชุมชนซึ่งมีอยู่มาก สิ่งที่จะต้องเร่งทำในวันนี้ คือ การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น รักษาภูมิปัญญาเดิมของไทยแล้วต่อยอดภูมิปัญญาด้วยวิทยาการและความรู้สมัยใหม่ เพื่อให้พื้นฐานของไทยแข็งแกร่งและอยู่รอดได้อย่างมั่นคง
ภูมิปัญญาไทย (Thai Wisdom) หมายถึงองค์ความรู้ที่เกิดและพัฒนาขึ้นของคนไทยตามพัฒนาการของสังคมไทยและบริบทของสังคมวัฒนธรรมไทยในแต่ละช่วงเวลา
เป็นสิ่งที่แสดงถึงพฤติกรรมและ
วิถีชีวิตของคนไทยที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ ค่านิยม ประเพณี ศิลปะ พิธีกรรม คำสอน จารึก วรรณกรรม
การดำเนินชีวิต นวัตกรรมตลอดจนเทคโนโลยีต่างๆที่คนไทยคิดค้นขึ้น หรือรวมเรียกว่า วัฒนธรรมไทย
(Thai Culture) ภูมิปัญญาไทยจึงเป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากกระบวนการคิดและกระบวนการปรับตัวของคนไทยเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้โดยปกติสุขภายในชุมชนท้องถิ่นหรือสังคมไทย (พัชรินทร์ สิรสุนทร)
วิถีชีวิตของคนไทยที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ ค่านิยม ประเพณี ศิลปะ พิธีกรรม คำสอน จารึก วรรณกรรม
การดำเนินชีวิต นวัตกรรมตลอดจนเทคโนโลยีต่างๆที่คนไทยคิดค้นขึ้น หรือรวมเรียกว่า วัฒนธรรมไทย
(Thai Culture) ภูมิปัญญาไทยจึงเป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากกระบวนการคิดและกระบวนการปรับตัวของคนไทยเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้โดยปกติสุขภายในชุมชนท้องถิ่นหรือสังคมไทย (พัชรินทร์ สิรสุนทร)
ลักษณะของภูมิปัญญา
1. เกิดจากภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง
หรือถ่ายทอดความรู้เดิมจากบรรพบุรุษที่มีอยู่ในท้องถิ่น
2. เป็นเรื่องของการเรียนรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill)
ความเชื่อ (Belief) และพฤติกรรม (Behavior)
ของคนในชุมชน
3. แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน
คนกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม
4. องค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิต
5. เรื่องการแก้ไขปัญหา
การจัดการ การปรับตัว การเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดของบุคคลชุมชนและสังคม
6. แกนหลัก
หรือกระบวนทัศน์ในการมองชีวิต เป็นพื้นฐานความรู้ในเรื่องต่างๆ
7. มีลักษณะเฉพาะตัวและเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
8. มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับความสมดุลในการพัฒนาสังคม
วิธีการถ่ายทอดภูมิปัญญาแบ่งได้เป็น
2 วิธี คือการถ่ายทอดโดยตรง
ซึ่งมักถ่ายทอดโดยการบอกเล่าจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง
ทั้งที่ถ่ายทอดเป็นภาษาพูดและเป็นลายลักษณ์อักษร และการถ่ายทอดโดยอ้อม
ซึ่งทำได้ในรูปของความบันเทิงต่างๆ เช่น ภาพวาด สถาปัตยกรรม คำร้องลิเก ลำตัด
และคติชาวบ้านต่างๆ เป็นต้น
ข้อเสนอแนะ เป็นที่ยอมรับกันว่าการพัฒนาที่ผ่านมาตามแนวทฤษฎีภาวะทันสมัย
(Modernization Theory) นับตั้งแต่เริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับแรกในปี 2503
เป็นการพัฒนาที่ละเลยภาคเกษตรกรรม
แต่กลับเน้นการเติบโตในภาคอุตสาหกรรมที่คนไทยไม่มีความรู้ความชำนาญ
และไม่มีปัจจัยพื้นฐานเพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นในด้าน ทุน
กำลังคนที่มีความรู้ความชำนาญในสาขาวิชาการศึกษาแบบตะวันตก หรือ ความรู้
ความชำนาญทางด้านเทคโนโลยีต่างๆ
กระบวนทัศน์การพัฒนาดังกล่าวส่งผลให้เกิดปัญหาความยากจน
และความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้
ก่อให้เกิดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากในปี 2546
สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงาน “ผลสรุปการดำเนินงานการแก้ปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ในรอบครึ่งปี” แสดงให้เห็นว่ามีแนวโน้มสถานการณ์ดีขึ้นโดยที่เส้นความยากจนได้เพิ่มจาก
473บาท/คน/เดือน ในปี2531 เป็น 922 บาท/คน/เดือน ในปี 2545
แต่ในจำนวนเงินดังกล่าวยังนับว่าอยู่ห่างไกลจากสภาพที่เรียกได้ว่ามี
ความมั่นคงในชีวิต
และในกลุ่มคนยากจนส่วนใหญ่ยังคงเป็นคนชนบทและกระจุกตัวอยู่ในภาคเกษตร
โดยเฉพาะในครัวเรือนเกษตรกร
แรงงานรับจ้างภาคเกษตร และแรงงานรับจ้างทั่วไป
กลุ่มคนยากจนกลุ่มนี้มีปัญหาในการดำรงชีวิตหลายด้าน ซึ่งปัญหาที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ
ปัญหาหนี้สินครัวเรือน ในปลายปี 2546 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ Tdri เสนอรายงานการวิจัยเรื่อง
“ความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยการขจัดความยากจน: บทบาทภาครัฐ”
ว่าในช่วง 8 ปี (พ.ศ.2537-2545) หนี้สินครัวเรือนเพิ่มขึ้นถึง 170 %
คือเพิ่มจาก 31,000 บาทต่อครัวเรือน เป็น 85,000 บาทต่อครัวเรือน
จากปัญหาที่พบดังกล่าวทำให้หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องเริ่มคิดทบทวนหาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาประเทศ
ประเทศไทยจึงต้องหันกลับมามองศักยภาพที่เราเคยมีและสั่งสมมานาน
กระบวนทัศน์ที่เริ่มเปลี่ยนไปของการพัฒนาได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบของสังคมไปด้วย
“วิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่น”
ได้รับความสนใจขึ้นมาควบคู่กับความเป็นสากล
ท่าทีของรัฐบาลและองค์กรระหว่างประเทศที่มีต่อการพัฒนาจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม
เกิดแนวคิดการจัดระเบียบสังคมและการบริหารจัดการใหม่ๆ
จากแนวทางการพัฒนาที่รัฐเป็นผู้กำหนดทิศทางให้ท้องถิ่น
เป็นการให้ชุมชนท้องถิ่นเป็นผู้กำหนดอนาคตของตนเอง
จากนโยบายการพัฒนาที่เน้นการลงทุนด้าน “โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ”
มาเป็นการลงทุนทางสังคม โดยเน้นการพัฒนา “คน”
แทน ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุถึงเป้าประสงค์ให้คนไทย “อยู่ดีกินดี มีความมั่นคงในชีวิต คิดทันโลก” และมุ่งสร้าง
“ สังคมคุณภาพ - สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ -
สังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน” นั่นเอง
จากวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงปี 2540
นับเป็นบทเรียนและเป็นดัชนีชี้วัดถึงความล้มเหลวของการพัฒนาตามแบบโลกทุนนิยมที่เน้นระบบอุสาหกรรม
ที่ต้องพึ่งพิงองค์ความรู้และเทคโนโลยีจากภายนอก
โดยละเลยความแตกต่างทางกายภาพและภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ชาติเรามีอยู่
การกำหนดให้มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยมาใช้เป็นแนวทางหลักในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
ถือได้ว่าเป็นการพัฒนาแนวคิดกระแสรองขึ้นมาเพื่อต้านแนวคิดกระแสหลักที่แพร่กระจายอยู่ในสังคมโลกขณะนี้
นับได้ว่าเป็นทางเลือกหนึ่งให้สังคมในการพัฒนาประเทศ
อีกทั้งยังเป็นการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการคิดค้นองค์ความรู้ใหม่ๆที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นนั้นๆอย่างจริงจัง
เอกสารอ้างอิง
ชนิตา
รักษ์พลเมือง. (2545). แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนา: กระบวนทัศน์ที่เปลี่ยนแปลง.
เอกสารประกอบโครงการพัฒนาผู้นำด้านนโยบายการศึกษาและการพัฒนาของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพ
จัดโดยภาควิชาสารัตถศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดิเรก
ปัทมสิริวัฒน์. (2547). ทุนสังคม และทุนวัฒนธรรมในระบบเศรษฐกิจและการจัดการยุคใหม่.
รวมบทความจากการประชุมทางวิชาการ ประจำปี 2547 มหาวิทยาลัยนเรศวร.
รวมบทความจากการประชุมทางวิชาการ ประจำปี 2547 มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พัชรินทร์
สิรสุนทร. (2547). แนวคิดและทฤษฎีด้านการพัฒนาสังคม.
เอกสารประกอบการสอนสาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น