หน้าแรก

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม



ทฤษฎีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

ทฤษฎีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม หมายถึง การกระทำรวมหมู่ของกลุ่มคนที่มีเป้าหมายบางอย่างร่วมกัน เพื่อผลักดันสังคมให้เคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ต้องการหรือเพื่อตอบสนองข้อเรียกร้องที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันของกลุ่มคนที่เข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ความแตกต่างของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมกับการกระทำรวมหมู่ในรูปแบบอื่นๆ เช่น กลุ่มผลประโยชน์ทางธุรกิจและพรรคการเมือง อยู่ที่ความต่อเนื่องของการกระทำที่มีระยะเวลายาวนานพอสมควร มีการระดมผู้เข้าร่วมที่มีอุดมการณ์หรือเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงในแนวทางเดียวกัน ไม่ใช่การรวมตัวกันในลักษณะเฉพาะกิจหรือการทำงานร่วมกันภายในสถาบัน องค์กร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของหน่วยงานโดยไม่มีปฏิบัติการเคลื่อนไหวผลักดันสังคมในลักษณะที่เป็นขบวนการเคลื่อนไหว
 
จุดกำเนิดสำคัญของสำนัก ขบวนการทางสังคมใหม่ คือการวิพากษ์ทฤษฎีการระดมทรัพยากรว่า สนใจเฉพาะการตอบคาถามว่าขบวนการทางสังคมเกิดขึ้นอย่างไร (How) ขณะเดียวกันก็วิพากษ์ทฤษฎีมาร์กซิสต์ 1ว่ามีข้อจากัดในการอธิบายปรากฏการณ์/ขบวนการทางสังคมใหม่ๆ เช่น ขบวนการสิ่งแวดล้อม ขบวนการสิทธิสตรีและอัตลักษณ์ทางเพศสภาพ ที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1960s และ 1970s (Donatella Della Porta and Mrio Diani, 1999: 11) ซึ่งได้ทำให้เกิดคำถามในหมู่นักทฤษฎีในยุโรปกลุ่มหนึ่งว่า เหตุใดจึงเกิดขบวนการซึ่งมิได้มีฐานจากความขัดแย้งทางชนชั้นเหล่านี้ขึ้นมาอย่างกว้างขวาง (ผาสุก, 2544) และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ได้ทาให้เกิดคาถามกับจุดเน้นของการวิเคราะห์ความขัดแย้งซึ่งอยู่ที่ความสัมพันธ์ระหว่าง ทุน-แรงงานหรือความขัดแย้งที่ตั้งอยู่บนฐานของการควบคุมทรัพยากรทางเศรษฐกิจ อันเป็นลักษณะสำคัญของขบวนการทางสังคมแบบเก่า (Old Social Movement)
Alberto Melucci ได้ชี้ให้เห็นถึงการก่อตัวขึ้นของปรากฏการณ์ความขัดแย้งทางสังคมหลังสมัยใหม่เหล่านี้ และเห็นว่าทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ที่ใช้อธิบาย คือทฤษฎีทางชนชั้นและทฤษฎีแนวการกระทำรวมหมู่ของสำนักอเมริกา หรือทฤษฎีการระดมทรัพยากร นั้นมีข้อจากัด เนื่องจากสนใจแต่เพียงองค์กรการเคลื่อนไหว ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี และความสำเร็จหรือความล้มเหลว การทำความเข้าใจปรากฏการณ์ของขบวนการทางสังคมโดยนักทฤษฎีซึ่งอธิบายภายใต้ทฤษฎีสังคมศาสตร์เท่าที่มีอยู่จึงให้คาตอบได้เพียงว่าขบวนการทางสังคมเกิดขึ้น อย่างไร (How) แต่ไม่อาจให้คำตอบได้ว่า เหตุใดหรือทำไม (Why) ขบวนการทางสังคมจึงเกิดขึ้น (Melucci, 1985: 214) การตระหนักถึงความไม่เพียงพอของแนวการวิเคราะห์แบบชนชั้นดั้งเดิมนี้เอง ได้เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของกรอบการวิเคราะห์ของสำนักคิดที่เรียกว่า ขบวนการทางสังคมใหม่
ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่เกิดขึ้นกับสังคมไทยในหลายรูปแบบขณะนี้ จะเป็นผลดีกับประเทศชาติได้ เพราะในปัจจุบัน เราจะเห็นว่าการเคลื่อนไหวของ กลุ่มทางสังคม” (Social Group) ได้มีบทบาทมากขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมที่เป็นประจักษ์ในสังคมไทยเราอาจแบ่งออกได้เป็น
2 แบบคือ พวกกลุ่มเคลื่อนไหว (
Mob) กับกลุ่มขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหม่ (New Social Movement) สองกลุ่มนี้มีความแตกต่างกัน ทั้งในเชิงของการสร้างนิยาม/ความหมาย เนื้อหาสาระ วัตถุประสงค์ และขบวนการการเคลื่อนไหวใหม่ทางสังคม ทั้งนี้ตัวอย่างความแตกต่างที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ เรื่องกระบวนการในการจัดตั้งเช่น กลุ่มขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหม่ มีที่มาจากอุดมการณ์ แต่พวกกลุ่มเคลื่อนไหว (Mob) กลับมีที่มาจากเรื่องผลประโยชน์หรือได้รับการว่าจ้างมา หรือเรื่องของการบิดเบือนหลักการแห่งนิติรัฐ อำนาจศาล กระบวนการยุติธรรม เช่น มีการรวบรวมคนจำนวนมากให้เคลื่อนไหวทำการปิดถนนที่ใช้เป็นพื้นที่สาธารณะ เพื่อประท้วงคำตัดสินศาลในเรื่องของการรุกป่าของนายทุน เพื่อทำรีสอร์ท แล้วเสนอข้อต่อรองรัฐให้แก้ไขปัญหาด้วยการเปิดให้เป็นพื้นที่เช่า ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดจากผลประโยชน์ส่วนตนไม่ใช่ประโยชน์สาธารณะ  เป็นต้น ดังนี้แล้วจึงเห็นได้ว่าการเคลื่อนไหวในแบบของกลุ่มขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหม่ (New Social Movement) น่าจะเป็นทางที่สร้างสรรค์กว่า
ตัวอย่างที่ดีที่อาจตีความได้ว่าอยู่ในลักษณะของกลุ่มขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหม่
(
New Social Movement) ที่น่าสนใจ คือ ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหม่ในการต่อต้านการคอร์รัปชัน ของกลุ่มต่างๆ ที่เริ่มจากการรวมตัวของภาคเอกชน ที่มี คุณดุสิต ศิริวรรณ เป็นผู้ริเริ่ม รวมกับเครือข่ายภาคประชาชน สื่อ นักวิชาการ และพยายามเชื่อมโยงไปถึงภาครัฐ เข้ามาร่วมเป็นภาคีเครือข่าย ในการต่อต้านและต่อสู้กับการทุจริตที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ด้วยหวังว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวที่เกิดผลทางบวกในการต่อต้านและปฏิเสธการทุจริตทุกรูปแบบที่มีในประเทศ ทั้งเป็นการลดทอนการเติบโตของการทุจริต รวมไปถึงการสร้างค่านิยมและบรรทัดฐานของสังคมใหม่ที่เกี่ยวกับการทุจริตในยุคหน้า ว่า จะรังเกียจ คนโกง และการทุจริตทุกรูปแบบ
อย่างไรก็ตาม ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหม่เพื่อการต่อต้านการคอร์รัปชัน จะประสบผลสำเร็จที่ชัดเจนขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อทุกภาคส่วนมีความร่วมมือกันอย่างชัดเจนและมีการแสดงออกอย่างจริงจัง ในทุกสถานการณ์ที่มีการทุจริต เพราะถ้าเราไม่ช่วยกันและยังกลัวคนโกงอยู่ เราทุกคนก็จะถูกโกงไปกันหมด เหง้าหน่อ ของการต่อต้านการทุจริตได้เกิดขึ้นแล้ว ทีนี้ก็อยู่ที่พวกเราทุกคนแล้ว ร่วมกันต่อต้านการคอร์รัปชัน เพื่ออนาคตของประเทศไทย
สรุป การทบทวนสถานะและบทบาทของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมไทยภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สนใจ และห่วงใย ได้ร่วมกันพิจารณาอย่างรอบคอบว่าควรจะมีท่าทีต่อสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบันอย่างไร จะทำอย่างไรให้ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมไทยตอบคำถามต่อประชาชนมากกว่าสถาบันสังคมและการเมืองจารีต จะทำอย่างไรกลุ่มและองค์กรต่างๆ จึงจะสามารถเป็นพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เป็นอิสระภายใต้เงื่อนไขและข้อผูกมัดของแหล่งทุนเช่นองค์กรกึ่งรัฐที่มีแนวคิดอนุรักษ์นิยมทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือไม่กลายสภาพเป็นเพียงเครื่องมือของการกดทับและการธำรงสถานะเดิมของสถาบันสังคมและการเมืองจารีตอย่างเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

บรรณานุกรม

กรรณชฎา พูนพนิช. (2541). ประวัติศาสตร์ขบวนการสหภาพแรงงานไทยยุคเริ่มต้นถึงพ.ศ. 2500.
ในฉลอง สุนทราวาณิชย์และคณะ (บรรณาธิการ) ประวัติศาสตร์รแรงงานไทย
(ฉบับกู้ศักดิ์ศรีกรรมกร) กรุงเทพฯ : พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ภาควิชาประวัติศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท
.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2540). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่/ขบวนการเคลื่อนไหวประชาสังคมในต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและผลิตตำรามหาวิทยาลัยเกริก.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2540). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่/ขบวนการเคลื่อนไหวประชาสังคมในต่างประเทศ: บทสำรวจพัฒนาการสถานภาพและนัยเชิงความคิด/ทฤษฎีต่อการพัฒนาประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและผลิตตำรามหาวิทยาลัยเกริก.
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. (2546). ความเคลื่อนไหวของนักศึกษาไทยในยุคแรก. ในวิทยากร เชียงกูล(บรรณาธิการ) ขบวนการนักศึกษาไทยจาก 247514 ตุลาคม 2516 กรุงเทพฯ: สายธาร.
นภาพร อติวานิชยพงศ์. (2547). สหภาพแรงงานกับการเป็นขบวนการทางสังคม. ในนวลน้อย ตรีรัตน์(บรรณาธิการ) ประชาธิปไตย ประชาสิทธิ์ ประชาชน กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมืองจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประภาส ปิ่นตบแต่ง. (2541). การเมืองบนท้องถนน 99 วันสมัชชาคนจน. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและผลิตตำรามหาวิทยาลัยเกริก
ปิยะมิตร ลีลาธรรม. (2549). ก้าวแห่งชัยชนะของการเคลื่อนไหวทางสังคมที่ฝรั่งเศส ฟ้าเดียวกัน. (เมษายน มิถุนายน).
ผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2544). ทฤษฎีขบวนการทางสังคมสำหรับประเทศกำลังพัฒนา. ในศิโรฒน์
คล้ามไพบูลย์ (บรรณาธิการ) ทฤษฎีและความรู้ในยุคโลกาภิวัฒน์ กรุงเทพฯ: สถาบันวิถีทรรศน์
.
วิทยากร เชียงกูล. (2545). อธิบายศัพท์เศรษฐศาสตร์การเมือง. กรุงเทพฯ: สายธาร.
เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2542). ส่วนรวมมิใช่รัฐ ความหมายของประชาสังคม. ในอนุชาติ พวงสำลี และ กฤตยา อาชวนิจกุล. (บรรณาธิการ). ขบวนการประชาสังคมไทย ความเคลื่อนไหวภาคพลเมือง. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยและพัฒนาประชาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น