หน้าแรก

วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ปฏิรูประบบราชการเพื่ออนาคต



ปฏิรูประบบราชการเพื่ออนาคต

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

ความหมายของการปฏิรูประบบราชการ หมายถึงการพยายามปรับปรุงระบบราชการทั้งระบบ โดยคำนึงถึง
1. เน้นผลงานมากกว่ารูปแบบและกระบวนการ
2. เน้นประชาชนและสังคม ระบบราชการนั้นต้องเป็นเครื่องมือของรัฐเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนโดยส่วนรวม
3. ด้านสามัญสำนึก หลักการนี้มีความจำเป็นสำหรับระบบราชการ ซึ่งเป็นตัวแก้ไขในการยุ่งยากในการยึดติดระเบียบราชการเป็นผลทำให้เกิดความล้าช้า
4. ประหยัด ใช้ภาษีอากรของประชาชนให้คุ้มค่า และรับผิดชอบในการจัดการให้ใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิผล
การปฏิรูประบบราชการนั้นเกิดจากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ระบบที่เป็นอยู่นั้นไม่สามารถรองรับความต้องการของประชาชนและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้เกิดความต้องการที่จะปฏิรูประบบ


สาเหตุที่ไม่สามารถปฏิรูประบบราชการ
1. ไม่มีแรงกดดันเพียงพอ การปฏิรูปในต่างประเทศส่วนใหญ่นั้นเกิดจากแรงกดดันจากสถานการณ์การเงิน จนกลายเป็นแรงกดดันทางการเมือง ซึ่งทำให้นักการเมืองต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง มิฉะนั้นจะทำให้ประเทศชาติเสียหายได้
2. ไม่มีแรงจูงใจอย่างเพียงพอ การปฏิรูประบบราชการไม่ปรากฏเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนเนื่องจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องนั้นขาดแรงจูงใจอย่างเพียงพอ
3. ขาดผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และมีความรับผิดชอบ ผู้นำการเมืองมักจะไม่เข้าใจและไม่ได้สนใจในการปฏิรูประบบราชการเนื่องจากมุ่งผลระยะสั้นและไม่สามารถผลักดันการปฏิรูประบบราชการได้
4. กลัวและไม่แน่ใจ ข้าราชการมักจะระแวง กลัวว่าตนเองจะต้องถูกปลดออกจากงาน กลัวว่าต้องทำงานหนักขึ้น คือมักจะมองการปฏิรูปไปในทางเสียหาย
5. แรงต่อต้านและผลประโยชน์ แรงต่อต้านที่สำคัญก็คือความกลัวในการสูญเสียผลประโยชน์ของคนในระบบ เพราะว่าในหน่วยงานราชการนั้นมีเรื่องของผลประโยชน์แอบแฝงอยู่มากมาย
ถ้าไม่มีการปฏิรูปจะทำให้มีประเด็น ดังนี้
1. ประเทศไทยจะก้าวตามประเทศอื่นๆ ไม่ทัน
2. คุณภาพชีวิตของคนไทยจะต่ำลง ช่องว่างทางเศรษฐกิจและสังคมของคนไทยจะห่างมากขึ้น
3. ประชาชนจะไม่ได้รับบริการที่ดี ยุติธรรม และเพียงพอจากรัฐ
4. ระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยจะน้อยลง
5. จะเกิดปัญหาต่างๆ ทั้งด้านสังคม การเมืองและเศรษฐกิจ

วิธีปฏิรูประบบราชการ
1. ลดบทบาทที่ไม่สำคัญของหน่วยงานราชการ
2. ลดความยุ่งยากในกฎระเบียบ
3. ให้อิสระในการบริหารและตัดสินใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง
4. ปรับปรุงรูปแบบให้การทำงานเกิดความคล่องตัว
5. กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนและมีการประเมินผลตามเป้าหมายและผลงานที่ปรากฏ
6. ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ
7. ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลผลประโยชน์ของตน
8. ปลอดภัยจากการแทรกแซงจากที่อื่น
9. ต้องพัฒนาข้าราชการให้เป็นมืออาชีพ

ใครจะเป็นผู้นำในการปฏิรูประบบราชการ
1. รัฐและฝ่ายการเมือง เป็นผู้กำหนดนะโยบายและแนวทางในการปฏิรูประบบ
2. ผู้บริหารรัฐ ต้องเป็นผู้กำหนดยุทธศาสตร์เป้าหมาย แผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของหน่วยงาน
3. ข้าราชการทุกคน ต้องทำความเข้าใจ ศึกษา และผลักดันการปฏิรูป
4. นักวิชาการ ต้องช่วยกันแสดงความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะ และเผยแพร่ความคิดเห็น
5. สื่อมวลชน ต้องติดตาม เผยแพร่ความคิด ตั้งคำถาม ประชาสัมพันธ์
6. ประชาชนทุกคน ต้องมีส่วนในการให้ข้อเสนอแนะ ทักท้วง เรียกร้อง ดูแลและเข้าร่วมในการปรับปรุงประสิทธิภาพต่างๆ ของรัฐ
การปฏิรูปนั้นไม่อาจสำเร็จได้ในระยะเวลาอันสั้น เป็นเรื่องที่ต้องการความต่อเนื่อง และต้องมีการริเริ่มอย่างจริงจังและต้องยอมรับข้อบกพร่องหรือความผิดพลาดซึ่งต้องมีการปรับปรุงและแก้ไขอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

แนวทางที่พึงปรารถนาในการพัฒนา
1. ต้องเน้นแก้ไขความยากจนในชนบท
2. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างรอบด้านทั้งด้านสติปัญญา ทักษะ และความสามารถทางเทคโนโลยี
3. เสริมสร้างความแข็งแกร่งของสถาบันครอบครัว เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ชุมชนและสังคม
4. ลดปัญหาอย่างยิ่งด้านการคมนาคมขนส่ง
5. ลดปัญหาด้านการเมืองและการบริหารประเทศ เนื่องจากกระบวนการคัดสรรไม่โปร่งใส ไม่มีระบบตรวจสอบที่ดีพอ และระบบราชการไม่มีประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

สิ่งที่จะนำไปสู่การพัฒนาประเทศ
1. การปฏิรูปการศึกษา เพื่อเพิ่มความสามารถของทรัพยากรมนุษย์อย่างรอบด้าน
2. การปฏิรูปการเมือง เพื่อขยายขอบเขตของการมีส่วนร่วมทางการเมืองให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
ทำให้การกำหนดนโยบายจองประเทศตอบสนองความต้องการของประชาชนมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่แต่เดิม
3. การปฏิรูประบบราชการ จะต้องเน้นการยกระดับประสิทธิภาพของการดำเนินกิจกรรมของประเทศในภาพรวม โดยลดบทบาทและหน้าที่ของภาคราชการทดแทนแนวโน้มของการขยายตัวอย่างที่เคยเป็นมาในอดีต

ปัญหาของระบบราชการ
1. อำนาจในการตัดสินใจนั้นยังรวมศูนย์เข้าที่ส่วนกลาง
2. การขยายตัวอย่างรวดเร็วของระบบราชการทำให้เกิดการทำงานซ้ำซ้อนกัน เกิดปัญหาประสิทธิภาพในการทำงาน
3. โครงสร้างของระบบราชการเน้นไม่คล่องตัว ไม่สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในอนาคต
4. ระบบธุรกิจการเมืองมีอิทธิพลมากในปัจจุบัน
ปัญหาที่ตัวข้าราชการ
1. ข้าราชการบางส่วนขาดจริยธรรมและจรรยาบรรณในการปฏิบัติหน้าที่
2. ขาดข้าราชการที่มีความรู้ความสามารถ ในการปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเสียบุคคลากรบางส่วนให้กับหน่วยงานเอกชน
3. ข้าราชการมีความรู้สึกต่ำต้อยในอาชีพหน้าที่ สภาวะแวดล้อมไม่ทำให้เกิดความภูมิใจในอาชีพและหน้าที่ของตน

ขั้นตอนในการปฏิรูป
ต้องมีการแบ่งแยกหน้าที่อย่างชัดเจนระหว่างข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำและยังต้องพัฒนาคุณภาพและความสามารถของหน่วยราชการให้สามารถรับผิดชอบในการบริหารงานโดยให้มีอิสระมากขึ้น โดยค่อยๆศึกษาและค่อยๆเริ่มตั้งเป็นหน่วยงานให้หน่วยงานมีอิสระในการบริหารงานโดยได้รับเงินงบประมาณเป็นก้อน โดยมีสัญญาผูกพันกับหน่วยงานหลัก และต้องทำงานตามที่ได้ตกลงไว้กันหน่วยงานหลัก โยมีผู้ทำหน้าที่ประเมินผลงานจากภายนอก เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบ และเป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณในครั้งต่อไป ซึ่งในการกระจายอำนาจนั้น ควรยึดเอาพื้นที่เป้าหมายเป็นหลัก โดยใช้จังหวัดเป็นพื้นที่เป้าหมายของการกระจายอำนาจ และให้จังหวัดมีหน่วยงานกลางระดับจังหวัดในฐานะที่เป็นราชการส่วนท้องถิ่น ที่มีความเป็นอิสระจากหน่วยงานของราชการส่วนกลาง โดยที่จังหวัดนั้นต้องมีอำนาจหน้าที่ในการหารายได้จากภาษีอากรในท้องถิ่น และต้องได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลด้วยซึ่งต้องทดลองทำในจังหวัดที่มีความพร้อมสูงก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวของประชากรค่อนข้างสูง
ในที่สุดแล้วประเทศชาติโดยรวม ตัวข้าราชการ ภาคธุรกิจเอกชนและประชาชนจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการปฏิรูปดังกล่าว ซึ่งทำให้เพิ่มสมรรถนะในการบริหารกิจกรรมทางเศรษฐกิของประเทศ ช่วยให้การเมืองดำเนินไปอย่างตามกติกา และช่วยลดปัญหาสังคมก่อนจะลุกลามไปเป็นปัญหาใหญ่ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น