หน้าแรก

วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม



แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

สังคมไทยก็เหมือนกับสังคมมนุษย์ทั้งหลายในโลกที่ไม่หยุดอยู่นิ่งๆ หากมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสังคมอื่นๆ ในระดับเดียวกันแล้ว ก็อาจกล่าวได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนคนส่วนใหญ่ในสังคมปรับตัว เองไม่ทัน จนเกิดปัญหาทางวัฒนธรรมที่ต้องมีการแก้ไขกันตลอดมา ทั้งนี้ก็เพราะแต่เดิมสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมประชาชน ส่วนใหญ่อยู่ในชนบทที่มีการทำนาและการเพาะปลูกเป็นอาชีพหลัก การผลิตแต่เดิมก็เป็นแต่เพียงให้พอมีพอกิน ไม่ได้ผลิตอย่างใหญ่โตเพื่อส่งออกไปค้าขายกับต่างประเทศ จึงไม่มีความจำเป็นในการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีแต่อย่างใด แต่ในปัจจุบันสังคมเปลี่ยนมาเป็นสังคมอุตสาหกรรมที่มุ่งหวังผลิตสิ่งต่างๆ เพื่อส่งออกไปขายนอกประเทศ การผลิตผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งแต่เดิมผลิตเพื่อเลี้ยงตัวเองด้วยเทคโนโลยีง่ายๆ แบบดั้งเดิม ก็เปลี่ยนมาเป็นการผลิตเป็นจำนวนมากโดยอาศัยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทันสมัย เข้ามาช่วย มีการลงทุนและการใช้ที่ดินอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการใช้ที่ดินก็มีการขยายเขตการเพาะปลูกพืชพันธุ์นานาชนิดไปตาม บริเวณต่างๆ โดยเฉพาะที่ดอนและที่ตามป่าเขา ก่อให้เกิดการรุกล้ำป่าสงวนและการทำลายสภาพแวดล้อมอย่างกว้างขวางการผลิตแบบ ที่เป็นแบบเกษตรอุตสาหกรรมที่ชาวบ้านธรรมดาทั่วไปซึ่งไม่มีศักยภาพทั้งใน ด้านเงินทุน กำลังคน และเทคโนโลยีจะทำได้ จึงเป็นเรื่องของบุคคลร่ำรวยที่เป็นนายทุน

แนวคิดเกี่ยวกับทุนทางสังคม



แนวคิดเกี่ยวกับทุนทางสังคม

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

                ระบบสังคมและเศรษฐกิจที่ปัจจัยในการผลิตส่วนใหญ่เป็นของเอกชนซึ่งมุ่งแสวงหากำไรโดยใช้การซื้อขาย หรือตลาดเป็นตัวชี้นำเรื่องการลงทุน การผลิต การจำหน่าย พร้อมทั้งการตั้งราคาสินค้าและบริการ บุคคลและนิติบุคคลมีสิทธิ์และอิสระที่จะขายที่ดิน แรงงาน สินค้าและบริการโดยผ่านการใช้เงินเป็นส่วนใหญ่ ส่วนประกอบต่างๆ ของระบบทุนนิยมมีมาตั้งแต่ครั้งโบราณและเริ่มค่อยๆ ได้รับการรวมหลอมให้เป็นระบบเศรษฐกิจขึ้นในเกาะอังกฤษเมื่อราว 500 ปีที่ผ่านมา เมื่อระบบศักดินาค่อยๆ เสื่อมลงในสังคมตะวันตก หลังจากนั้นระบบทุนนิยมก็ค่อยๆ แพร่ขยายออกไปในยุโรปและส่วนอื่นของโลก มันเป็นระบบที่สังคมส่วนใหญ่ใช้ในระหว่างการปฏิวัติอุตสาหกรรมซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อราว 240 ปีก่อน
ในช่วงเวลาราว 500 ปีที่กล่าวถึงนั้น แนวคิดเรื่องทุนนิยมพัฒนาอยู่ตลอดเวลาและวิวัฒน์มาเป็นฐานของระบบที่เรียกกันว่า เศรษฐกิจแบบผสมในปัจจุบัน นั่นคือ สังคมต่างๆ นำส่วนประกอบของระบบเศรษฐกิจหลายระบบมาผสมกันตามที่เห็นว่ามันเหมาะสมกับสังคมของตน โดยเฉพาะการให้รัฐมีบทบาทในการเป็นเจ้าของปัจจัยในการผลิตและจำหน่ายสินค้าและบริการอันเป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบสังคมนิยม ฉะนั้น ทุกประเทศจึงมักมีรัฐวิสาหกิจ ส่วนจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปรัชญาของแต่ละประเทศ ระบบทุนนิยมวิวัฒน์ไปตามแนวคิดของปราชญ์ในเกาะอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ ในจำนวนนี้ผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในตอนต้นๆ ได้แก่ อะดัม สมิธ ผู้รวมแนวคิดของเขาไว้ในหนังสือชื่อ The Wealth of Nations ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2319 แนวคิดของเขาวางอยู่บนฐานของความเชื่อมั่นในการมีประสิทธิภาพของระบบนายทุนแบบตลาดเสรี ฉะนั้นรัฐควรจะมีบทบาทน้อยที่สุด หรือเท่าที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

พัฒนาการการเมืองการปกครองของไทย



พัฒนาการการเมืองการปกครองของไทย

เขียนโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

การเมืองการปกครองของไทยในสมัยสุโขทัยและอยุธยาได้วิวัฒนาการมาสอดคล้องกับสภาพสังคมและวัฒนธรรมไทยในสมัยนั้นๆ ครั้นถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์การเมืองการปกครองของไทยได้เปลี่ยนแปลงไปเพราะได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกเป็นสำคัญ

1. การปกครองของไทยแต่เดิม
การปกครองของไทยแต่เดิม มีลักษณะเช่นเดียวกับการปกครองชาติอื่นๆ คือมีการรวมกลุ่มกันอยู่เป็นหมู่เป็นเหล่าบางแห่งก็รวมกันเข้าเป็นชุมชนขนาด ใหญ่ มีหัวหน้าเป็นผู้ปกครองดูแลรับผิดชอบให้ความคุ้มครองป้องกันภยันตรายตามควร แก่ฐานะทำนองหัวหน้าหรือนายกับลูกน้องอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของกลุ่ม ตกอยู่แก่หัวหน้าสิ้นเชิง โดยมีขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นเครื่องกำกับยึดเหนี่ยว ต่อมาเมื่อมีพลเมืองเพิ่มมากขึ้นปัญหาเรื่องการทำมาหากินโดยอาศัยผืน แผ่นดินเป็นหลักและความสำคัญในเรื่องพื้นที่และดินแดนจึงเกิดขึ้น มีการกำหนดของอาณาเขตการปกครองของกลุ่ม และหมู่ชนชาติไทยเป็นกลุ่มชนชาติใหญ่ที่มีระเบียบการปกครองและวัฒนธรรมสูง จีนยกย่องเรียกว่า "ไต๋" "ชาติใหญ่" ประกอบกับชาวไทยมีคุณธรรมประจำชาติ ดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวว่า ชนชาติไทยมีคุณธรรม 3 ประการ เป็นสำคัญจึงสามารถปกครองประเทศสยาม ได้คือ ความรักอิสระของชาติความปราศจากวิหิงสาและความฉลาดในการประสานประโยชน์ถ้าจะ เรียกเป็นภาษาอังกฤษ คือ Love of National Independence, Toleration and Power of Assimilation สำหรับ การจัดรูปการปกครองของไทยแต่เดิม จากพงศาวดารและหลักฐานอ้างอิง พอสันนิฐานได้ว่าไทยในสมัยน่านเจ้านั้นการปกครองในส่วนกลางแบ่งออกเป็น 9 กระทรวง คือ

แนวคิดในการพัฒนาชุมชน



แนวคิดในการพัฒนาชุมชน

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

1. การพัฒนาแบบมีส่วนร่วม
การมีส่วนร่วมของประชาชน (People’s Participation) การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นคำที่เริ่มใช้กันเมื่อประมาณ 30 ปี ที่ผ่านมา เพื่อแสดงว่าโครงการพัฒนาต่างๆ ที่นำไปให้ชาวบ้านในชุมชนต่างๆนั้น ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วม บ้าง ก็บอกว่ามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน โดยชุมชนมีส่วนสมทบงบประมาณ 5-10% ถ้าไม่ มีเงินก็คิดจากมูลค่าแรงงาน วัสดุสิ่งของหรือวัสดุแรงงาน หรืออะไรก็ได้ที่มาจากชุมชนงบประมาณเกือบทั้งหมด รวมทั้งการคิดและวางแผนมาจากข้างบน (Top Down) คือ มาจากหน่วยงานภายนอกทั้งหน่วยงานราชการหรือองค์กรเอกชนบ้างก็บอกว่ามีส่วน ร่วมในทุกขั้นตอน คือ การเก็บข้อมูลวางแผนการปฏิบัติ และประเมินผล และอ้างว่านี่คือกระบวนการที่มาจากข้างล่าง (Bottom Up) รวมทั้งอ้างว่าได้มีการทำประชาพิจารณ์ (Public Hearing) แล้ว ซึ่งหมายถึงว่าได้รับการ รับรอง จากชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ในการกำหนดนโยบาย การบริหารจัดการทรัพยากร การบริหารจักการชุมชน คน ทุนของชุมชน จึงต้องมีการแยกแยะเนื้อหาและรูปแบบของ การมีส่วนร่วมของประชาชน ให้ เหมาะสมกับในแต่ละเรื่องพร้อมกับวิธีการและกระบวนการที่เหมาะสมการมีส่วน ร่วมของประชาชนจึงไม่ใช่แต่เพียงรูปแบบ เช่นการเลือกตั้งในทุกระดับ แล้วก็ปล่อยให้ผู้ได้รับเลือกตั้งไปดำเนินการทุกอย่างทุกเรื่องการมีส่วน ร่วมของประชาชนหมายความว่า หลังการดำเนินงานของผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเข้าไปทำหน้าที่แทนประชาชนการมี ส่วนร่วมของประชาชนจึงไม่ใช่เพียงไปหา 5-10% มาสมทบ โครงการที่องค์กรจากภายนอกนำเข้าไปให้ ไม่ใช่การเข้าไปเก็บข้อมูลให้ข้าราชการที่บอกว่าจะเอาไปทำโครงการพัฒนาท้อง ถิ่น ไม่ใช่แค่การไปร่วมประชุมรับฟังการเสนอโครงการแล้วยกมือรับรองแล้วอ้างว่า เป็นประชาพิจารณ์การมีส่วนร่วมของประชาชนคือการแสดงออกถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน ของชุมชนในการจัดการทุนชุมชน จัดการชีวิตของตนเอง การมีส่วนร่วมเกิดจากแนวความคิดในการพัฒนาชุมชน คือ กระบวนการที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีโอกาสได้แสดงทัศนะและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งมีการนำความคิดเห็นดังกล่าวไปประกอบการพิจารณา กำหนดนโยบายและการตัดสินใจของรัฐ ประกอบด้วยการให้ข้อมูลข่าวสารต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชน (ประชาพิจารณ์) การวางแผนร่วมกัน และการพัฒนาศักยภาพของประชาชนให้สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้โดยมีหลักการดัง นี้คือ