หน้าแรก

วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม



แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

สังคมไทยก็เหมือนกับสังคมมนุษย์ทั้งหลายในโลกที่ไม่หยุดอยู่นิ่งๆ หากมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสังคมอื่นๆ ในระดับเดียวกันแล้ว ก็อาจกล่าวได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนคนส่วนใหญ่ในสังคมปรับตัว เองไม่ทัน จนเกิดปัญหาทางวัฒนธรรมที่ต้องมีการแก้ไขกันตลอดมา ทั้งนี้ก็เพราะแต่เดิมสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมประชาชน ส่วนใหญ่อยู่ในชนบทที่มีการทำนาและการเพาะปลูกเป็นอาชีพหลัก การผลิตแต่เดิมก็เป็นแต่เพียงให้พอมีพอกิน ไม่ได้ผลิตอย่างใหญ่โตเพื่อส่งออกไปค้าขายกับต่างประเทศ จึงไม่มีความจำเป็นในการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีแต่อย่างใด แต่ในปัจจุบันสังคมเปลี่ยนมาเป็นสังคมอุตสาหกรรมที่มุ่งหวังผลิตสิ่งต่างๆ เพื่อส่งออกไปขายนอกประเทศ การผลิตผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งแต่เดิมผลิตเพื่อเลี้ยงตัวเองด้วยเทคโนโลยีง่ายๆ แบบดั้งเดิม ก็เปลี่ยนมาเป็นการผลิตเป็นจำนวนมากโดยอาศัยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทันสมัย เข้ามาช่วย มีการลงทุนและการใช้ที่ดินอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการใช้ที่ดินก็มีการขยายเขตการเพาะปลูกพืชพันธุ์นานาชนิดไปตาม บริเวณต่างๆ โดยเฉพาะที่ดอนและที่ตามป่าเขา ก่อให้เกิดการรุกล้ำป่าสงวนและการทำลายสภาพแวดล้อมอย่างกว้างขวางการผลิตแบบ ที่เป็นแบบเกษตรอุตสาหกรรมที่ชาวบ้านธรรมดาทั่วไปซึ่งไม่มีศักยภาพทั้งใน ด้านเงินทุน กำลังคน และเทคโนโลยีจะทำได้ จึงเป็นเรื่องของบุคคลร่ำรวยที่เป็นนายทุน

แนวคิดเกี่ยวกับทุนทางสังคม



แนวคิดเกี่ยวกับทุนทางสังคม

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

                ระบบสังคมและเศรษฐกิจที่ปัจจัยในการผลิตส่วนใหญ่เป็นของเอกชนซึ่งมุ่งแสวงหากำไรโดยใช้การซื้อขาย หรือตลาดเป็นตัวชี้นำเรื่องการลงทุน การผลิต การจำหน่าย พร้อมทั้งการตั้งราคาสินค้าและบริการ บุคคลและนิติบุคคลมีสิทธิ์และอิสระที่จะขายที่ดิน แรงงาน สินค้าและบริการโดยผ่านการใช้เงินเป็นส่วนใหญ่ ส่วนประกอบต่างๆ ของระบบทุนนิยมมีมาตั้งแต่ครั้งโบราณและเริ่มค่อยๆ ได้รับการรวมหลอมให้เป็นระบบเศรษฐกิจขึ้นในเกาะอังกฤษเมื่อราว 500 ปีที่ผ่านมา เมื่อระบบศักดินาค่อยๆ เสื่อมลงในสังคมตะวันตก หลังจากนั้นระบบทุนนิยมก็ค่อยๆ แพร่ขยายออกไปในยุโรปและส่วนอื่นของโลก มันเป็นระบบที่สังคมส่วนใหญ่ใช้ในระหว่างการปฏิวัติอุตสาหกรรมซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อราว 240 ปีก่อน
ในช่วงเวลาราว 500 ปีที่กล่าวถึงนั้น แนวคิดเรื่องทุนนิยมพัฒนาอยู่ตลอดเวลาและวิวัฒน์มาเป็นฐานของระบบที่เรียกกันว่า เศรษฐกิจแบบผสมในปัจจุบัน นั่นคือ สังคมต่างๆ นำส่วนประกอบของระบบเศรษฐกิจหลายระบบมาผสมกันตามที่เห็นว่ามันเหมาะสมกับสังคมของตน โดยเฉพาะการให้รัฐมีบทบาทในการเป็นเจ้าของปัจจัยในการผลิตและจำหน่ายสินค้าและบริการอันเป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบสังคมนิยม ฉะนั้น ทุกประเทศจึงมักมีรัฐวิสาหกิจ ส่วนจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปรัชญาของแต่ละประเทศ ระบบทุนนิยมวิวัฒน์ไปตามแนวคิดของปราชญ์ในเกาะอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ ในจำนวนนี้ผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในตอนต้นๆ ได้แก่ อะดัม สมิธ ผู้รวมแนวคิดของเขาไว้ในหนังสือชื่อ The Wealth of Nations ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2319 แนวคิดของเขาวางอยู่บนฐานของความเชื่อมั่นในการมีประสิทธิภาพของระบบนายทุนแบบตลาดเสรี ฉะนั้นรัฐควรจะมีบทบาทน้อยที่สุด หรือเท่าที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

พัฒนาการการเมืองการปกครองของไทย



พัฒนาการการเมืองการปกครองของไทย

เขียนโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

การเมืองการปกครองของไทยในสมัยสุโขทัยและอยุธยาได้วิวัฒนาการมาสอดคล้องกับสภาพสังคมและวัฒนธรรมไทยในสมัยนั้นๆ ครั้นถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์การเมืองการปกครองของไทยได้เปลี่ยนแปลงไปเพราะได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกเป็นสำคัญ

1. การปกครองของไทยแต่เดิม
การปกครองของไทยแต่เดิม มีลักษณะเช่นเดียวกับการปกครองชาติอื่นๆ คือมีการรวมกลุ่มกันอยู่เป็นหมู่เป็นเหล่าบางแห่งก็รวมกันเข้าเป็นชุมชนขนาด ใหญ่ มีหัวหน้าเป็นผู้ปกครองดูแลรับผิดชอบให้ความคุ้มครองป้องกันภยันตรายตามควร แก่ฐานะทำนองหัวหน้าหรือนายกับลูกน้องอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของกลุ่ม ตกอยู่แก่หัวหน้าสิ้นเชิง โดยมีขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นเครื่องกำกับยึดเหนี่ยว ต่อมาเมื่อมีพลเมืองเพิ่มมากขึ้นปัญหาเรื่องการทำมาหากินโดยอาศัยผืน แผ่นดินเป็นหลักและความสำคัญในเรื่องพื้นที่และดินแดนจึงเกิดขึ้น มีการกำหนดของอาณาเขตการปกครองของกลุ่ม และหมู่ชนชาติไทยเป็นกลุ่มชนชาติใหญ่ที่มีระเบียบการปกครองและวัฒนธรรมสูง จีนยกย่องเรียกว่า "ไต๋" "ชาติใหญ่" ประกอบกับชาวไทยมีคุณธรรมประจำชาติ ดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวว่า ชนชาติไทยมีคุณธรรม 3 ประการ เป็นสำคัญจึงสามารถปกครองประเทศสยาม ได้คือ ความรักอิสระของชาติความปราศจากวิหิงสาและความฉลาดในการประสานประโยชน์ถ้าจะ เรียกเป็นภาษาอังกฤษ คือ Love of National Independence, Toleration and Power of Assimilation สำหรับ การจัดรูปการปกครองของไทยแต่เดิม จากพงศาวดารและหลักฐานอ้างอิง พอสันนิฐานได้ว่าไทยในสมัยน่านเจ้านั้นการปกครองในส่วนกลางแบ่งออกเป็น 9 กระทรวง คือ

แนวคิดในการพัฒนาชุมชน



แนวคิดในการพัฒนาชุมชน

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

1. การพัฒนาแบบมีส่วนร่วม
การมีส่วนร่วมของประชาชน (People’s Participation) การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นคำที่เริ่มใช้กันเมื่อประมาณ 30 ปี ที่ผ่านมา เพื่อแสดงว่าโครงการพัฒนาต่างๆ ที่นำไปให้ชาวบ้านในชุมชนต่างๆนั้น ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วม บ้าง ก็บอกว่ามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน โดยชุมชนมีส่วนสมทบงบประมาณ 5-10% ถ้าไม่ มีเงินก็คิดจากมูลค่าแรงงาน วัสดุสิ่งของหรือวัสดุแรงงาน หรืออะไรก็ได้ที่มาจากชุมชนงบประมาณเกือบทั้งหมด รวมทั้งการคิดและวางแผนมาจากข้างบน (Top Down) คือ มาจากหน่วยงานภายนอกทั้งหน่วยงานราชการหรือองค์กรเอกชนบ้างก็บอกว่ามีส่วน ร่วมในทุกขั้นตอน คือ การเก็บข้อมูลวางแผนการปฏิบัติ และประเมินผล และอ้างว่านี่คือกระบวนการที่มาจากข้างล่าง (Bottom Up) รวมทั้งอ้างว่าได้มีการทำประชาพิจารณ์ (Public Hearing) แล้ว ซึ่งหมายถึงว่าได้รับการ รับรอง จากชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ในการกำหนดนโยบาย การบริหารจัดการทรัพยากร การบริหารจักการชุมชน คน ทุนของชุมชน จึงต้องมีการแยกแยะเนื้อหาและรูปแบบของ การมีส่วนร่วมของประชาชน ให้ เหมาะสมกับในแต่ละเรื่องพร้อมกับวิธีการและกระบวนการที่เหมาะสมการมีส่วน ร่วมของประชาชนจึงไม่ใช่แต่เพียงรูปแบบ เช่นการเลือกตั้งในทุกระดับ แล้วก็ปล่อยให้ผู้ได้รับเลือกตั้งไปดำเนินการทุกอย่างทุกเรื่องการมีส่วน ร่วมของประชาชนหมายความว่า หลังการดำเนินงานของผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเข้าไปทำหน้าที่แทนประชาชนการมี ส่วนร่วมของประชาชนจึงไม่ใช่เพียงไปหา 5-10% มาสมทบ โครงการที่องค์กรจากภายนอกนำเข้าไปให้ ไม่ใช่การเข้าไปเก็บข้อมูลให้ข้าราชการที่บอกว่าจะเอาไปทำโครงการพัฒนาท้อง ถิ่น ไม่ใช่แค่การไปร่วมประชุมรับฟังการเสนอโครงการแล้วยกมือรับรองแล้วอ้างว่า เป็นประชาพิจารณ์การมีส่วนร่วมของประชาชนคือการแสดงออกถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน ของชุมชนในการจัดการทุนชุมชน จัดการชีวิตของตนเอง การมีส่วนร่วมเกิดจากแนวความคิดในการพัฒนาชุมชน คือ กระบวนการที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีโอกาสได้แสดงทัศนะและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งมีการนำความคิดเห็นดังกล่าวไปประกอบการพิจารณา กำหนดนโยบายและการตัดสินใจของรัฐ ประกอบด้วยการให้ข้อมูลข่าวสารต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชน (ประชาพิจารณ์) การวางแผนร่วมกัน และการพัฒนาศักยภาพของประชาชนให้สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้โดยมีหลักการดัง นี้คือ

วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น



การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น

เขียนโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำและประสานแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.. 2546 ได้กำหนดให้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นไว้ ซึ่งประกอบด้วย 9 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
ในขั้นตอนนี้ หน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น จะต้องพบผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ ความสำคัญ แนวทางและขั้นตอนในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา แล้วจัดทำโครงการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสนอผ่านปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ผู้บริหารท้องถิ่นอนุมัติในโครงการดังกล่าว แล้วแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อทราบ
ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูลและปัญหาสำคัญ
1. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ข้อมูลที่ควรจัดเก็บควรเป็นข้อมูลที่มีความครอบคลุมและทันสมัย ประกอบด้วย ข้อมูลประชากร อาชีพ รายได้ สุขภาพ การศึกษา ทรัพยากร การคมนาคมขนส่ง การพาณิชย์ การลงทุน อุตสาหกรรม และข้อมูลงบประมาณ เป็นต้น
                2. การรวบรวมปัญหาสำคัญของท้องถิ่น
เพื่อจะนำมาใช้ในการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหา และจะต้องนำแผนชุมชนมาพิจารณาประกอบการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
ขั้นตอนที่ 3  การวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนาของท้องถิ่นในปัจจุบัน
ขั้นตอนนี้เป็นการประเมินถึงปัจจัยภายในองค์กร ได้แก่ จุดแข็ง จุดอ่อน และปัจจัยภายนอก ได้แก่ โอกาส และอุปสรรค โดยใช้เทคนิค SWOT Analysis มาเป็นเครื่องมือ

การปฏิรูประบบราชการ



การปฏิรูประบบราชการ

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom
               
การปฏิรูประบบราชการไทยในอดีต
เมื่อครั้งในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้มีการจัดระเบียบการปกครองแบบ จตุสดมภ์
โดยแบ่งภารกิจของราชการออกเป็นเวียง วัง คลัง นา โดยมีสมุหนายก และสมุหกลาโหมเป็นตำแหน่งหลักในการบริหารราชการแผ่นดิน และในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ปฏิรูประบบราชการโดยนำแนวคิดและแบบอย่างการบริหารราชการของประเทศตะวันตกมาใช้ โดยยกเลิกระบบจตุสดมภ์
สมุหนายก สมุหกลาโหม เพื่อลดความซ้ำซ้อนของงาน มาเป็นการจัดระบบการการบริหารราชการด้วยการแบ่งส่วนราชการออกเป็นกระทรวง ทบวง กรม เพื่อจัดโครงสร้างความสัมพันธ์ของส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้เป็นระบบยิ่งขึ้น และใช้ระบบนี้มาจนถึงปัจจุบัน  

สาเหตุของการปฏิรูประบบราชการในปัจจุบัน (ปี พ.. 2545)
1. กระแสโลกาภิวัฒน์ ที่ส่งผลให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง นอกจากนี้ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้บุคคลสามารถติดต่อสื่อสารกันได้รวดเร็วมากขึ้น จึงทำให้สังคมในปัจจุบันเป็นสังคมแห่งยุคข้อมูลข่าวสาร ดังนั้นระบบราชการไทยจึงต้องมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงการบริหารราชการแผ่นดินให้สอดรับกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
2. วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ทำให้รัฐบาลขาดงบประมาณในการพัฒนาประเทศ จึงต้องมีการลดค่าใช้จ่าย รวมทั้งการยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่มีความจำเป็น
3. ระบบราชการไทยเกิดความล้มเหลว ขาดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน อาทิ การทุจริตคอร์รัปชั่น เนื่องจากการบริหารงานที่ไม่มีความโปร่งใส (ขาดหลักธรรมาภิบาล) การทำงานล่าช้า ไม่มีความคล่องตัว โครงสร้างขององค์กรที่มีขนาดใหญ่ จำนวนของข้าราชการที่มีมาก การทำงานที่ยึดกฎ ระเบียบ มากเกินไป ฯลฯ 
จากสาเหตุต่างๆ ที่กล่าวข้างต้นนับได้ว่าเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจาก  ระบบราชการแบบเก่าไม่สามารถที่จะขับเคลื่อนผลักดันการบริหารและพัฒนาประเทศได้ จึงส่งผลให้เกิดความจำเป็นต้องปฏิรูประบบราชการ ทั้งนี้ก็เพื่อให้การบริหารงานเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลสูงสุด สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชน สังคม และประเทศชาติได้อย่างทั่วถึง และสามารถแข่งขันกับนานาประเทศในเวทีโลกได้  

ชุมชนเข้มแข็งทางเลือกใหม่ของการพัฒนา



ชุมชนเข้มแข็งทางเลือกใหม่ของการพัฒนา

เขียนโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

จากการวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศที่เริ่มขึ้นในปลายปี 2539 ต่อเนื่องมาจนถึงต้นปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นปีแรกของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ได้ก่อให้เกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคมต่างๆ ส่งผลกระทบต่อประชาชนชั้นและทุกภาคส่วนของสังคม ประเด็นเรื่อง ชุมชนเข้มแข็ง จึงได้รับการหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงเป็นอันมาก ในฐานะที่เป็นทางเลือกที่สำคัญของการพัฒนา เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นได้เพียงลำพังดังนั้นหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนจึงต้องเข้ามาแก้ไขปัญหาร่วมกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเป็นต้องให้ความสำคัญต่อกระบวนการพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางตามหลักปรัชญาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 โดยการเพิ่มศักยภาพของคนและชุมชนให้เข้มแข็ง มีความพร้อมในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน ความเข้มแข็งของชุมชนจึงเป็นฐานสำคัญในการลดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการสร้างกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนในอนาคต ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาที่สำคัญประการหนึ่งต่อเนื่องมาถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9

การใช้ตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จการดำเนินงาน



การใช้ตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จการดำเนินงาน

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

ความหมายของตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้ หมายถึง ตัวแปรประกอบหรือองค์ประกอบที่มีค่าแสดงถึงลักษณะหรือปริมาณของระบบการดำเนินงานส่วนใดส่วนหนึ่งในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง  ซึ่งเป็นสารสนเทศที่บ่งบอกสภาวะหรือสภาพการณ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่เราสนใจ ซึ่งการนำตัวแปรหรือข้อเท็จจริงต่างๆ มาสัมพันธ์กันเพื่อให้เกิดคุณค่าจะสะท้อนให้เห็นสภาพการณ์ที่ต้องการศึกษาโดยรวม
ลักษณะที่สำคัญของตัวบ่งชี้ มี 5 ประการ ดังนี้ (Johnstone, 1981)
1. ตัวบ่งชี้สามารถให้สารสนเทศเกี่ยวกับสิ่ง หรือสภาพที่ศึกษาอย่างกว้างๆ ตัวบ่งชี้ที่นำมาใช้ในด้านสังคมศาสตร์ให้สารสนเทศที่ถูกต้องแม่นยำไม่มากก็น้อยแต่ไม่จำเป็นต้องถูกต้องแม่นยำอย่างแน่นอน
2. ตัวบ่งชี้มีลักษณะที่แตกต่างไปจากตัวแปร เนื่องจากตัวบ่งชี้เกิดจากการรวมตัวแปรหลายๆ ตัวที่มีความสัมพันธ์กันเข้าด้วยกันเพื่อให้เห็นภาพรวมของสิ่งหรือสภาพที่ต้องการศึกษา แต่ตัวแปรจะให้สารสนเทศของสิ่งหรือสภาพที่ต้องการศึกษาเพียงด้านเดียวเพราะว่ามีลักษณะที่เฉพาะเจาะจง เช่น อัตราส่วนของครูต่อนักเรียน
3. ตัวบ่งชี้จะต้องกำหนดเป็นปริมาณ ตัวบ่งชี้ต้องแสดงสภาพที่ศึกษาเป็นค่าตัวเลข หรือปริมาณเท่านั้น ในการแปลความหมายค่าของตัวบ่งชี้จะต้องนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ดังนั้นในการสร้างตัวบ่งชี้จะต้องมีการกำหนดความหมายและเกณฑ์ของตัวบ่งชี้อย่างชัดเจน
4. ตัวบ่งชี้จะเป็นค่าชั่วคราว จะมีค่า ณ จุดเวลา หรือช่วงเวลานั้นๆ เมื่อเวลาเปลี่ยนไป ค่าตัวบ่งชี้ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้
5. ตัวบ่งชี้เป็นหน่วยพื้นฐานในการพัฒนาทฤษฎี

การจัดการความรู้ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช



การจัดการความรู้ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

บรรลุเป้าหมาย ความหมายของการจัดการความรู้วิจารณ์ พานิช (2548) ได้ให้ความหมายของคำว่า การจัดการความรู้ ไว้ว่าหมายถึงเครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์การไปเป็นองค์การเรียนรู้ และ บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน โดยการจัดการความรู้เป็นการดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการต่อความรู้ ได้แก่
1. การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์การ
2. การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ
3. การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งานของตน
4. การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน
5. การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัด ขุมความรู้ออกมาบันทึกไว้
6. การจดบันทึก ขุมความรู้และ แก่นความรู้สำหรับไว้ใช้งาน และปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน ลุ่มลึกและเชื่อมโยงมากขึ้น เหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น 

การจัดการความรู้ (Knowledge Management)



การจัดการความรู้ (Knowledge Management)

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

การจัดการความรู้เป็นแนวคิดการจัดการสมัยใหม่ที่มองคนในองค์การเป็นสินทรัพย์อันมีค่าเนื่องจากกระแสยุคโลกาภิวัตน์ที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว องค์กรต้องมีการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลง ทำให้คนในองค์กรต้องเป็น Knowledge worker
- ต้องสามารถทำงานได้เองอย่างรอบด้าน
- สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
- มีความมุ่งมั่นต่อองค์กร
- ทำงานอย่างมีเป้าหมาย
องค์ประกอบที่เปลี่ยนแปลงขององค์กรนี้จะต้องเป็นคนที่มีสมรรถนะสูง (High competency) เพื่อที่จะสามารถอยู่รอดได้ในสภาวะแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก รวดเร็ว นั่นคือองค์กรต้องมีความสามารถในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage)โดยองค์กรต้อง Better, Cheaper, Faster 

ชุมชนในยุคการรวมกลุ่มเครือข่ายเศรษฐกิจและสังคมสู่การเป็นชุมชนเข้มแข็ง



ชุมชนในยุคการรวมกลุ่มเครือข่ายเศรษฐกิจและสังคมสู่การเป็นชุมชนเข้มแข็ง

เขียนโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

1.  บทนำ
ในอดีตที่ผ่านมา การศึกษาชุมชนมักจะมุ่งเน้นเพื่อการเข้าใจสภาพความเป็นอยู่ของชุมชน ลักษณะของชุมชน วัฒนธรรม ความเชื่อและปัญหาของชุมชน เป็นหลัก สิ่งที่มักจะมองข้ามไปก็คือ ความต้องการที่แท้จริงของชุมชน ถึงแม้ว่าจะมีการศึกษาและพูดถึงความต้องการของชุมชนบ้าง แต่มักจะศึกษาถึงลักษณะความเป็นมาไปได้ในการพัฒนาชุมชน ตามความต้องการของผู้กำหนดนโยบายการพัฒนา ประเทศจากระดับส่วนกลางที่มีอำนาจมากกว่าคำนึงถึงความต้องการที่แท้จริงของชุมชนในพื้นที่
ปัจจุบันประชาชนในประเทศไทยมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะมองจากมิติด้านใดก็ตามจะพบรูปแบบความเป็นพลวัตปรากฏในทุกมิติ การศึกษาชุมชนปัจจุบันจะต้องศึกษาอิทธิพลต่างๆ ทั้งจากแรงกดดันภายในชุมชน และแรงกระเพื่อมที่เป็นกระแสผลักดันจากภายนอกชุมชน
ซึ่งมีอิทธิพลทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อความเป็นพลวัตของชุมชน
อย่างไรก็ตามการศึกษาชุมชนในประเทศไทยมีความตื่นตัวมากยิ่งขึ้น สถาบันอุดมศึกษาในแต่ละจังหวัดได้มุ่งเน้นการศึกษาชุมชนและท้องถิ่นรอบๆ สถาบันของตนเองอย่างให้ความจริงจังข้อนี้ส่งผลให้มีข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับชุมชนในมิติต่างๆ ทั้งในระดับภูมิภาค และระดับมหาภาคของภูมิภาคอย่างลึกซึ่งและกว้างไกล และเพิ่มประโยชน์ทั้งในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติมากยิ่งขึ้น

ทฤษฎีชนชั้นนำ



ทฤษฎีชนชั้นนำ

เรียบเรียงโดย
                                                                        

วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom



วิลเฟร โด พาเรโต และเกตาโน มอสกา (Vilfredo Pareto & Gaetano Mosca) กล่าวว่าหลักการพื้นฐานของชนชั้นนำคือ ความเหนือกว่าของบุคคลผู้ซึ่งจะขึ้นมาเป็นชนชั้นนำ โดยพาเรโต เชื่อว่า คนที่เป็นชนชั้นนำจะต้องมีความฉลาดที่เหนือกว่า คุณลักษณะเชิงจิตวิทยา คือสิ่งที่เป็นพื้นฐานของชนชั้นนำปกครอง พาเรโตเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งสำคัญจะเกิดขึ้นเมื่อชนชั้นนำคนหนึ่งขึ้นมาแทนที่ชนชั้นนำคนเดิม คือกระบวนการหมุนเวียนของชนชั้นนำ (Circulation of Elites) คือชนชั้นนำทุกคนจะต้องค่อยๆ เสื่อมลง สูญเสียความเข้มแข็งของตนเอง เมื่อเป็นดังนี้ ผู้นำที่ปกครองด้วยกำลังจะสูญเสียจินตนาการและความหลักแหลมในการดำรงรักษาไว้ซึ่งหลักการและการปกครองตนเอง สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างพาเรโตและมอสกาคือ พาเรโตชื่อว่าคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับชนชั้นปกครองเหมือนกันในทุกๆ เวลา แต่มอสกาเชื่อว่า คุณลักษณะดังกล่าว เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละสังคมเช่น ในบางสังคมความกล้าหาญและความเป็นนักรบในการต่อสู้อาจเป็นปัจจัยหลักที่นำไปสู่การเป็นชนชั้นนำ ในขณะที่บางสังคม ทักษะ และความสามารถที่จะนำมาซึ่งความมั่งคั่งเป็นสิ่งที่ถูกพิจารณามากกว่า 

ซี ไรท์ มิลลส์ (Mills, 1956)  ได้เสนอทฤษฎีชนชั้นนำ โดยเชื่อว่า ชนชั้นนำปกครอง (Elite Ruler) เป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยการว่า ชนชั้นปกครองอยู่บนฐานของการหาผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ เพราะแท้ที่จริงแล้วผลประโยชน์ของชนชั้นนำและคนส่วนใหญ่แตกต่างกัน และสิ่งนี้ได้สร้างศักยภาพที่เป็นความขัดแย้งระหว่างคน 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งอยู่ที่ยอดสุดของลำดับขั้นที่ทำการผูกขาดอำนาจ โดย 3 สถาบันหลัก คือ บริษัทขนาดใหญ่ การทหาร และรัฐบาลสหพันธ์รัฐ  ผลประโยชน์และกิจกรรมของชนชั้นนำจากสถาบันหลักเหล่านี้ มีความเหมือนกันและเกี่ยวพันกัน สร้างชนชั้นนำอำนาจ (Power Elite) ชนชั้นนำอำนาจมีความเกี่ยวข้องกับความสอดคล้องกันของอำนาจทางการเมือง การทหาร การเศรษฐกิจ  มิลล์เรียกผู้นำทางการเมืองว่า นายทหารของชนชั้นนำทางเศรษฐกิจ” Lieutenants of the Economic Elite) จากลักษณะชนชั้นนำ 3 สถาบัน และลักษณะชนชั้นนำของประเทศสหรัฐอเมริกา มิลลส์ เห็นว่านำไปศึกษาในสภาพสังคมของสหราชอาณาจักรได้ โดยงานวิจัยพบว่า คนส่วนใหญ่ที่อยู่ในตำแหน่งชนชั้นนำของประเทศ เป็นประชากรที่มีภูมิหลังที่มีอภิสิทธิ์ในสังคมสูง เช่น นักการเมือง ผู้พิพากษา ข้าราชการระดับสูง ข้าราชการทหารระดับสูง และกรรมการบริหารทั้งในบริษัทขนาดใหญ่ และธนาคารสำคัญๆ นอกจากนี้ยังมีระดับการคัดสรรตนเองของชนชั้นนำขึ้นคือบุตรของสมาชิกที่เป็นชนชั้นนำถูกคัดโดยตนเองเพื่อไปสู่ตำแหน่งชนชั้นนำ สิ่งที่พบคือ ความเหมือนกันของเบื้องหลังทางการศึกษา อ้างใน (รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข, ชนชั้นนำในการเมืองไทยปัจจุบัน, 2550)

ทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucracy System Theory) ของ Max Weber



ทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucracy System Theory) ของ Max Weber

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

เมื่อประเทศไทยปฏิรูประบบราชการเมื่อครั้งสมัยรัชกาลที่ 5 สมัยนั้นก็ได้นำทฤษฎีที่โด่งดังของ แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) มาใช้ในการบริหารจัดการงานราชการแผ่นดิน ในยุคนั้นคนไทยจึงติดปากเรียกรูปแบบระบบอย่างนี้ว่าระบบราชการตั้งแต่สมัยนั้นมายันสมัยนี้ ทั้งๆที่ฝรั่งเจ้าตำรับเค้าเรียกว่า Bureaucracy System Theory ระบบนี้อาจจะเหมาะสมกับราชการในยุคนั้น เพราะขนาดของราชการยังไม่ใหญ่โตมโหฬารอย่างในยุคนี้ ที่มีบุคลากรราชการถึงสามล้านกว่าคน ระบบนี้ใช้การตัดสินใจเป็นแบบรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ปัจจุบันงานราชการจึงล่าช้าเป็นใส้เดือนเพราะช้ากว่าเต่า รัฐบาลช่วงหลังๆก็คิดว่าควรจะต้องปฏิรูปกันอีกสักครั้ง แต่ก็ล้มลุกคลุกคลานไม่เป็นท่าเพราะติดที่เรื่องของผลประโยชน์ ที่ถูกวางและจัดสรรกันอย่างลงตัวมาเกือบร้อยปี รัฐบาลยุคผู้นำดิจิตอลก็ฟันธงว่า ทฤษฎีที่จะเอามาปฏิรูปครั้งใหม่นี้ คือ E-Government หากมีโอกาสผมจะมาเล่าให้ฟัง ตอนนี้ขอคุยเรื่อง Bureaucracy ก่อน ซึ่งมีรายละเอียดของทฤษฎีดังนี้ครับ

คัดและพัฒนาคน
ระบบนี้จะใช้วิธีสรรหาและคัดเลือกบุคลากรด้วยระบบคุณธรรม (Merit System) คือวัดกันที่ความรู้ความสามารถเพรียวๆ มีการสอบ บรรจุแต่งตั้งกันอย่างเป็นระบบ คนเก่งได้ทำงาน คนห่วยต้องกลับไปนอนบ้าน เมื่อเข้ามาทำงานแล้ว จะมีแผนในการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบ ว่าช่วงนี้ต้องรู้เรื่องนี้ เมื่อเวลาผ่านไปทำงานสูงขึ้นก็ควรจะต้องผ่านการฝึกอบรมเพื่อต้องรู้เรื่องนั้นอย่างนี้เป็นต้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเช่นสายทหาร จะเป็นทหารได้นั้นต้องผ่านการสรรหา สมัคร สอบคัดเลือก บรรจุแต่งตั้ง เมื่อทำงานจนก้าวหน้าไปถึงจุดหนึ่งก็จะต้องได้รับการฝึกอบรมเรื่องนั้น เมื่อทำงานมีอายุงานสูงขึ้นไปอีกระดับหนึ่งก็ต้องไปอบรมหลักสูตรที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างนี้เป็นต้น

Key Success Factors



Key Success Factors

เขียนโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการแข่งขัน (Key Success Factors, KSF) เป็นปัจจัยหลักที่ใช้กำหนดความสำเร็จทั้งทางด้านการเงินและการแข่งขันในแต่ละอุตสาหกรรม KSF จะระบุถึงปัจจัยต่างๆ ที่องค์กรธุรกิจต่างๆควรจะต้องมีเพื่อที่จะประสบความสำเร็จในการแข่งขันในแต่ละอุตสาหกรรม เมื่อองค์กรธุรกิจทราบถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จในการแข่งขันของแต่ละอุตสาหกรรมแล้วก็จะต้องพยายามเสริมสร้างความสามารถภายในขององค์กรเองให้เหมาะสม  และสอดคล้องกับปัจจัยแห่งความสำเร็จในอุตสาหกรรมนั้นๆ ถ้ามีความเหมาะสมระหว่างจุดแข็งหรือความสามารถภายในองค์กรกับปัจจัยเหล่านั้นแล้ว ก็มีโอกาสอย่างมากที่องค์กรจะประสบความสำเร็จในการแข่งขันในอุตสาหกรรมนั้นๆ ตัวอย่างเช่น ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (KSF) ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มประเบียร์ได้แก่ การใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุดจากอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ เพื่อให้ต้นทุนในการผลิตต่ำ การมีสายสำพันธ์ที่ดีกับผู้จัดจำหน่าย รวมทั้งการโฆษณาซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ สำหรับในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ปัจจัยแห่งความสำเร็จได้แก่ การออกแบบที่ดึงดูดใจ และต้นทุนในการผลิตที่เหมาะสม

แนวคิดการปฏิรูประบบราชการ



แนวคิดการปฏิรูประบบราชการ

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management: NPM) ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศในกลุ่ม OECD (ประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้ว) เช่นประเทศหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ให้ความสำคัญในการปรับปรุงระบบการบริหารงานภาครัฐ ดังนั้นการปฏิรูประบบราชการจึงเป็นภารกิจที่รัฐบาลในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทยได้ทุ่มเทและพัฒนาระบบราชการเพื่อการเป็นระบบราชการยุคใหม่ ที่ดำเนินการภายใต้หลักธรรมาภิบาล จุดเน้นของการจัดการภาครัฐแนวใหม่ มีดังนี้
1. มุ่งเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen Center)
2. มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามตัวชี้วัด (KPI: Key Performance)
3. ภาครัฐจะต้องลดบทบาทลงโดยการจ้างภาคเอกชนดำเนินการแทน (Out Sourcing)
4. สรรหาผู้บริหารที่มีสมรรถนะสูงจากบุคคลนอกระบบ (Performance Appraisal)
5. เน้นการบริหารแบบมืออาชีพ (Professional)
6. การสวมจิตวิญญาณผู้ประกอบการ (Entrepreneur) โดยนำกลไกตลาด เน้นลูกค้า ทำงานเชิงรุก ชอบเสี่ยง แสวงหาโอกาส เจรจาต่อรอง ฯลฯ
7. มุ่งการแข่งขันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและการพัฒนา (Competitive to Efficiency and Development)
8. มอบอำนาจการใช้ดุลยพินิจและให้อิสระในการจัดการ (Empowerment)
9. กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น (Decentralization)
10. แปรรูปรัฐวิสาหกิจ (Privatization)

แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน



แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

การพัฒนายังเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง แนวคิดการพัฒนาอาจจะแบ่งได้ 2 กลุ่ม กลุ่มแรก มองว่าการพัฒนาเป็นการดำเนินการไปตามลำดับขั้นตอนจากระดับหนึ่งไปสู่อีกระดับหนึ่ง โดยต้องสร้างความพร้อมด้านต่างๆ อย่างเหมาะสม อีกกลุ่มหนึ่งมองว่าการพัฒนาจะเกิดขึ้นได้ โดยการกระตุ้นหรือชักนำด้วยปัจจัยในการพัฒนา เช่น การสะสมทุน โดยมีความเชื่อว่าความพร้อมเป็นสิ่งที่สร้างได้ความเชื่อนี้มักจะเกิดการพัฒนาแบบ ก้าวกระโดดเพราะประชาชนไม่สามารถสร้างความพร้อมตามแบบของนักพัฒนาขึ้นมา สำหรับปรัชญาของการพัฒนาชุมชนนั้น อยู่บนพื้นฐานความศรัทธาในตัวคนว่าเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญที่สุด โดยต้องเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีพลังในเรื่องความคิดริเริ่ม และมีความเป็นผู้นำซ่อนอยู่ ถ้าได้รับการพัฒนาพลังเหล่านี้ก็จะเติบโต และเมื่อบุคคลมีโอกาสก็จะสามารถเรียนรู้ เปลี่ยนแปลงทัศนคติ และพัฒนาขีดความสามารถให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูงขึ้น การพัฒนาพลังและขีดความสามารถของคนในชุมชนทุกด้านเป็นสิ่งที่พึงปรารถนา และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความเป็นอยู่ของคนทุกคนและชุมชนโดยรวม เศรษฐกิจชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจของชาติ ดังนั้น เพื่อให้เศรษฐกิจของชาติมีความเจริญรุ่งเรือง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาเศรษฐกิจในระดับล่างคือเศรษฐกิจในชนชุนชนบทด้วย เศรษฐกิจชุมชนเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ทั้งด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม บริการ ทั้งในด้านการผลิต การบริโภค และการกระจายผลผลิต โดยให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของชุมชน คือ การมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ และร่วมรับประโยชน์ บนรากฐานของความสามารถที่มีอยู่ จากการใช้ทุนของชุมชนที่มีอยู่หรือสามารถจัดหามาได้ตามศักยภาพ

แนวคิดวัฒนธรรมองค์การ



แนวคิดวัฒนธรรมองค์การ

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

วัฒนธรรมองค์การ หมายถึง ความรู้ ความคิด ความเชื่อ ข้อสมมุติพื้นฐาน (Basic Assumption) และค่านิยมที่มีอยู่ร่วมกันภายในจิตใจของคนจำนวนหนึ่ง หรือส่วนใหญ่ขององค์การ ซึ่งคนกลุ่มดังกล่าวใช้ระบบความรู้ ความคิด นี้เป็นแนวทางในการคิด ตัดสินใจ และทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมภายในองค์การ (สุนทร วงศ์ไวศยวรรณ, 2548. หน้า 5 อ้างอิงใน Davis, 1984; Gregory, 1983; Sackmann, 1991; Sathe, 1985; Smircich, 1985; Schein, 1985; 1992)
วัฒนธรรมองค์การ หมายถึง พฤติกรรม หรือการกระทำ/การแสดงออกที่ฏิบัติกันอย่างสม่ำเสมอ เกิดขึ้นในขณะที่บุคคลในองค์การมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ซึ่งอาจแสดงออกในรูปของ พิธีการ กิจกรรม และงานในโอกาสต่างๆ ของหน่วยงาน เครื่องแบบการแต่งกาย ภาษาในการสื่อสาร ธรรมเนียมปฏิบัติ/แนวปฏิบัติ เป็นต้น (สุนทร วงศ์ไวศยวรรณ, 2548. หน้า 5 อ้างอิงใน Moore & Synder, 1988; Trice & Beyer, 1984)
วัฒนธรรมองค์การ หมายถึง กฎเกณฑ์ที่ไม่เป็นทางการในหน่วยงาน/องค์การ ที่สมาชิกในองค์การต้องเรียนรู้ และได้รับการหล่อหลอม เพื่อที่สมาชิกจะได้สามารถปฏิบัติงานในหน่วยงาน/องค์การได้อย่างสอดคล้องกลมกลืน และในขณะเดียวกันก็เป็นการควบคุมให้สมาชิกอยู่ในกรอบวิถีปฏิบัติเดียวกัน (พีรธร บุณยรัตพันธุ์, 9 มกราคม 2551)
จากความหมายข้างต้น อาจแยกความหมายของวัฒนธรรมองค์การออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 1) ระบบความรู้และความคิด ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ในจิตใจหรือหัวคิดของคน เป็นส่วนที่ไม่สามารถจับต้อง/สัมผัส หรือวัดค่าได้ กล่าวอีกนัยคือ ส่วนที่เป็นนามธรรม 2) พฤติกรรม จะตรงข้ามกับด้านแรก คือ เป็นส่วนที่สามารถจับต้อง/สัมผัสได้ วัดค่าได้ สามารถมองเห็นเป็นรูปธรรม และ 3) เป็นเครื่องมือ/ กลไก ในการควบคุมและขัดเกลาอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อให้คนในองค์การสามารถทำงานได้และอยู่ในกรอบวิถีปฏิบัติเดียวกัน
 

แนวคิดวิสาหกิจชุมชน



แนวคิดวิสาหกิจชุมชน

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

ความหมาย
วิสาหกิจชุมชน (Community Enterprise) มีความหมายในแต่ละหน่วยงานแตกต่างกันตามวิสัยทัศน์ นโยบาย และคุณลักษณะของหน่วยงานนั้นๆ 
ในความหมายของต่างประเทศ หมายถึง การประกอบการหรือโครงการ/กิจการของคนในชุมชน โดยมุ่งประโยชน์เชิงพาณิชย์และผลทางสังคมให้กับชุมชนเป็นตัวชี้วัด แสดงความยั่งยืนของชุมชน โดยมุ่งรักษาความสมดุลของสิ่งแวดล้อมและสวัสดิการภายในชุมชน สำหรับในประเทศไทย หมายถึง การประกอบกิจการโดยชุมชน นำทุนในชุมชนผสมผสานกับองค์ความรู้ใหม่และเทคโนโลยี ผลิตสินค้าและบริการให้ชุมชนมีอาชีพและรายได้พึ่งตนเองได้ (ศรีปริญญา ธูปกระจ่าง, 2546)

สำหรับกรมการพัฒนาชุมชน (อ้างถึงใน ศรีปริญญา ธูปกระจ่าง, 2546) ให้ความหมายของวิสาหกิจชุมชนว่า วิสาหกิจชุมชนนั้นไม่ใช่ธุรกิจ หากแต่วิสาหกิจชุมชน ตามความหมายของกรมการพัฒนาชุมชนให้น้ำหนักกับหลักความสามัคคีธรรมของชุมชน ผนึกกำลังหล่อหลอม ความคิดเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน สร้างสรรค์การประกอบกิจการโดยชุมชนจากพื้นฐานภูมิปัญญาเดิม ผสมผสานองค์ความรู้ใหม่ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม นำมาบริหารจัดการต้นทุนในชุมชนให้เกิดผลผลิตที่มีอรรถประโยชน์สูงสุดต่อชุมชน โดยการสร้างอาชีพที่ยั่งยืนและรายได้ที่มั่นคง
ความเป็นมาของแนวคิดเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชนวิสาหกิจชุมชนเป็นนโยบายของรัฐบาล โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พ...ทักษิณ ชินวัตร โดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.. 2544 เห็นชอบให้จัดโครงสร้างส่วนราชการตามที่สำนักงาน ก.. เสนอให้กลุ่มงานพัฒนาชุมชนอยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย มีภารกิจสำคัญคือ การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน

ปฏิรูประบบราชการเพื่ออนาคต



ปฏิรูประบบราชการเพื่ออนาคต

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

ความหมายของการปฏิรูประบบราชการ หมายถึงการพยายามปรับปรุงระบบราชการทั้งระบบ โดยคำนึงถึง
1. เน้นผลงานมากกว่ารูปแบบและกระบวนการ
2. เน้นประชาชนและสังคม ระบบราชการนั้นต้องเป็นเครื่องมือของรัฐเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนโดยส่วนรวม
3. ด้านสามัญสำนึก หลักการนี้มีความจำเป็นสำหรับระบบราชการ ซึ่งเป็นตัวแก้ไขในการยุ่งยากในการยึดติดระเบียบราชการเป็นผลทำให้เกิดความล้าช้า
4. ประหยัด ใช้ภาษีอากรของประชาชนให้คุ้มค่า และรับผิดชอบในการจัดการให้ใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิผล
การปฏิรูประบบราชการนั้นเกิดจากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ระบบที่เป็นอยู่นั้นไม่สามารถรองรับความต้องการของประชาชนและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้เกิดความต้องการที่จะปฏิรูประบบ

เศรษฐกิจพอเพียงในกระแสโลกาภิวัตน์



เศรษฐกิจพอเพียงในกระแสโลกาภิวัตน์

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

พลวัตการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มอันเกิดจากกระแสโลกาภิวัตน์ได้เปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ด้านการค้า, การลงทุนและการผลิตของโลกไปในแนวทางใหม่ที่ ทุน คน เทคโนโลยี สินค้าและบริการ สามารถเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนกันได้อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน กระแสโลกาภิวัตน์ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในบริบทสำคัญๆ ทั้งในระดับมหภาคและระดับจุลภาค เราจะเตรียมตัวอย่างไรกับภูมิทัศน์ใหม่ของการแข่งขันในเวทีโลกนี้ (สุวิทย์ เมษินทรีย์, 2549)
โครงสร้างความสัมพันธ์ กรอบความคิดและวัฒนธรรมการทำงานแบบใหม่ของการแข่งขัน ก่อให้เกิดโอกาส พร้อมๆ กับความเสี่ยงภัย เราจะรับมือกับประเด็นและความท้าทายเหล่านี้ได้มากน้อยแค่ไหน ย่อมขึ้นอยู่กับความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างความสัมพันธ์ดังกล่าว พร้อมๆ กับการประเมินความพร้อมและภูมิคุ้มกันของแต่ละภาคส่วนว่ามีอยู่มากน้อยเพียงใด จากอดีตถึงปัจจุบันมีการทะยานขึ้นมาและดับลงของมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอยู่ตลอดเวลา แต่ละประเทศจึงจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและความผันผวนที่เกิดขึ้น กรณีศึกษาเชิงลึกของเกาหลีใต้ ประเทศที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นพร้อมกับไทย ในขณะที่เกาหลีก้าวทะยานไปแล้ว ประเทศไทยยังขับเคลื่อนไปในอัตราค่อนข้างเฉื่อย ภายใต้ภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนไปในเวทีโลก การสร้างความมั่งคั่งของชาติมีได้หลายมิติ อาทิ มิติของอุตสาหกรรมและธุรกิจ จะทำอย่างไรให้ธุรกิจและอุตสาหกรรมในประเทศมีการเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ในมิติของวัฒนธรรมจะใช้วัฒนธรรมเป็นรากในการสร้างความมั่งคั่งของชาติได้อย่างไร หรือในมิติของภูมิศาสตร์จะทำให้ประเทศไทยมีจุดเด่นเป็นศูนย์กลางของภมิภาคได้อย่างไร ธุรกิจไทยสามารถพัฒนาเพื่อไต่ข้ามบันไดการสร้างมูลค่าจากรูปแบบธุรกิจที่ ทำมากได้น้อยได้หรือไม่