หน้าแรก

วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การปฏิรูประบบราชการ



การปฏิรูประบบราชการ

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom
               
การปฏิรูประบบราชการไทยในอดีต
เมื่อครั้งในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้มีการจัดระเบียบการปกครองแบบ จตุสดมภ์
โดยแบ่งภารกิจของราชการออกเป็นเวียง วัง คลัง นา โดยมีสมุหนายก และสมุหกลาโหมเป็นตำแหน่งหลักในการบริหารราชการแผ่นดิน และในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ปฏิรูประบบราชการโดยนำแนวคิดและแบบอย่างการบริหารราชการของประเทศตะวันตกมาใช้ โดยยกเลิกระบบจตุสดมภ์
สมุหนายก สมุหกลาโหม เพื่อลดความซ้ำซ้อนของงาน มาเป็นการจัดระบบการการบริหารราชการด้วยการแบ่งส่วนราชการออกเป็นกระทรวง ทบวง กรม เพื่อจัดโครงสร้างความสัมพันธ์ของส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้เป็นระบบยิ่งขึ้น และใช้ระบบนี้มาจนถึงปัจจุบัน  

สาเหตุของการปฏิรูประบบราชการในปัจจุบัน (ปี พ.. 2545)
1. กระแสโลกาภิวัฒน์ ที่ส่งผลให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง นอกจากนี้ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้บุคคลสามารถติดต่อสื่อสารกันได้รวดเร็วมากขึ้น จึงทำให้สังคมในปัจจุบันเป็นสังคมแห่งยุคข้อมูลข่าวสาร ดังนั้นระบบราชการไทยจึงต้องมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงการบริหารราชการแผ่นดินให้สอดรับกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
2. วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ทำให้รัฐบาลขาดงบประมาณในการพัฒนาประเทศ จึงต้องมีการลดค่าใช้จ่าย รวมทั้งการยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่มีความจำเป็น
3. ระบบราชการไทยเกิดความล้มเหลว ขาดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน อาทิ การทุจริตคอร์รัปชั่น เนื่องจากการบริหารงานที่ไม่มีความโปร่งใส (ขาดหลักธรรมาภิบาล) การทำงานล่าช้า ไม่มีความคล่องตัว โครงสร้างขององค์กรที่มีขนาดใหญ่ จำนวนของข้าราชการที่มีมาก การทำงานที่ยึดกฎ ระเบียบ มากเกินไป ฯลฯ 
จากสาเหตุต่างๆ ที่กล่าวข้างต้นนับได้ว่าเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจาก  ระบบราชการแบบเก่าไม่สามารถที่จะขับเคลื่อนผลักดันการบริหารและพัฒนาประเทศได้ จึงส่งผลให้เกิดความจำเป็นต้องปฏิรูประบบราชการ ทั้งนี้ก็เพื่อให้การบริหารงานเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลสูงสุด สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชน สังคม และประเทศชาติได้อย่างทั่วถึง และสามารถแข่งขันกับนานาประเทศในเวทีโลกได้  


การปฏิรูประบบราชการไทยในปัจจุบัน
ปรากฏเด่นชัดที่สุดในสมัย พ..ท ทักษิณ ชินวัตร จุดเริ่มต้นที่ปรากฏเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนของการปฏิรูประบบราชการในครั้งนี้เกิดขึ้นภายหลังจากที่ได้มีการประกาศใช้กฎหมายสำคัญ 2 ฉบับด้วยกัน คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ฉบับที่ 5 .. 2545 และพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.. 2545 ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.. 2545 ซึ่งแนวคิดการปฏิรูประบบราชการที่เป็นแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญของการปฏิรูปในครั้งนี้ คือ แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management: NPM)

แนวคิดการปฏิรูประบบราชการ
แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management: NPM) ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศในกลุ่ม OECD (ประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้ว) เช่นประเทศหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ให้ความสำคัญในการปรับปรุงระบบการบริหารงานภาครัฐ ดังนั้นการปฏิรูประบบราชการจึงเป็นภารกิจที่รัฐบาลในประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยได้ทุ่มเทและพัฒนาระบบราชการเพื่อการเป็นระบบราชการยุคใหม่ ที่ดำเนินการภายใต้หลักธรรมาภิบาล จุดเน้นของการจัดการภาครัฐแนวใหม่ มีดังนี้
1. มุ่งเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen Center)
2. มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามตัวชี้วัด (KPI: Key Performance)
3. ภาครัฐจะต้องลดบทบาทลงโดยการจ้างภาคเอกชนดำเนินการแทน (Out Sourcing)
4. สรรหาผู้บริหารที่มีสมรรถนะสูงจากบุคคลนอกระบบ (Performance Appraisal)
5. เน้นการบริหารแบบมืออาชีพ (Professional)
6. การสวมจิตวิญญาณผู้ประกอบการ (Entrepreneur) โดยนำกลไกตลาด เน้นลูกค้า ทำงานเชิงรุก ชอบเสี่ยง แสวงหาโอกาส เจรจาต่อรอง ฯลฯ
7. มุ่งการแข่งขันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและการพัฒนา (Competitive to Efficiency and Development)
8. มอบอำนาจการใช้ดุลยพินิจและให้อิสระในการจัดการ (Empowerment)
9. กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น (Decentralization)
10. แปรรูปรัฐวิสาหกิจ (Privatization)

กล่าวโดยสรุปภาพรวมของแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management: NPM) คือ มีระบบการบริหารงานมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์, มีมาตรฐานวัดได้, ใช้กลไกการตลาด เปิดโอกาสในการแข่งขันให้ภาคเอกชน และภาคประชาชนเข้าร่วมลงทุน, โปร่งใส ตรวจสอบได้ และการให้บริการที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ดังนั้นเพื่อให้ระบบราชการมีความสอดคล้องกับแนวคิดในการปฏิรูป ระบบราชการควรมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. รัฐจะมีบทบาทหน้าที่เฉพาะในส่วนที่จำเป็นจะต้องทำเท่านั้น เพื่อเปิดโอกาสให้ ประชาชนและชุมชนมีบทบาทมากขึ้น
2. การบริหารจัดการภายในภาคราชการจะมีความรวดเร็ว คุณภาพสูงและ ประสิทธิภาพสูง
3. การจัดองค์กรมีความกะทัดรัด คล่องตัวและปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว เน้นการทำงานที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ
4. มีลักษณะของการทำงานที่ทันสมัย ใช้เทคโนโลยี เครื่องมือ อุปกรณ์ที่เหมาะสมต่อการทำงาน
5. ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีคุณภาพสูง
6. ข้าราชการทำงานมุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยมีประชาชนเป็นเป้าหมาย
7. มีกลไกการบริหารงานบุคคลที่หลากหลาย มีระบบค่าตอบแทนที่เป็นธรรม เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถเต็มใจมารับราชการเป็นอาชีพ
8. มีวัฒนธรรมและบรรยากาศในการทำงานแบบมีส่วนร่วม
9. มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ (ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน, 7 กุมภาพันธ์ 2550

จากแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ นับได้ว่าเป็นนวัตกรรมทางการบริหารอย่างหนึ่งที่โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก..ร) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ฉบับที่ 5 .. 2545 ให้ดำเนินการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบราชการ จึงได้นำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้เป็นหลักคิด หลักปฏิบัติ โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการได้วางเป้าประสงค์หลักของการพัฒนาระบบราชการไทยไว้ 4 ประการ คือ (1) พัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนที่ดีขึ้น (2) ปรับบทบาทภารกิจและขนาดให้มีความเหมาะสม (3) ยกระดับขีดความสามารถและมาตรฐานการทำงานให้อยู่ในระดับสูงและเทียบเท่าเกณฑ์สากล และ (4) ตอบสนองต่อการบริหารปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานพัฒนาระบบราชการไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.. 2546-2550 ประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์ที่สำคัญดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานและวิธีการทำงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การรื้อปรับระบบการเงินและการงบประมาณ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างระบบริหารบุคคลและค่าตอบแทนใหม่
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยม
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การเสริมสร้างระบบราชการให้ทันสมัย
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การเปิดระบบราชการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
จากการปฏิรูประบบราชการที่ผ่านมาได้ดำเนินการตามแผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐมีความครอบคลุมการดำเนินงานใน 5 ด้าน สามารถสรุปได้ดังภาพต่อไปนี้


ที่มา: http://intranet.dip.go.th/article/datafile/การปฏิรูประบบราชการ-อสอ..ppt
                 
บรรณานุกรม

สำนักงานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (ไม่ปรากฏวันที่ เดือน ปีที่เผยแพร่). ไม่ปรากฏชื่อเรื่อง. สืบค้นจาก: http://www.polpacon7.ru.ac.th
กรมการประมง. (ไม่ปรากฏวันที่ เดือน ปีที่เผยแพร่). การจัดการภาครัฐแนวใหม่. สืบค้นจาก: http://www.fisheries.go.th
สถาบันส่งเสริมกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.  (ไม่ปรากฏวันที่ เดือน ปีที่เผยแพร่). โครงการสร้างต้นแบบการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์วัฒนธรรมและค่านิยม. สืบค้นจาก: http://www.goodpracticemodel.com
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์.  (2547).  ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 5).  กรุงเทพฯ:
แซทโฟร์ พริ้นติ้ง.
ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน.  (2550).  การถ่ายโอนความสามารถด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์จากองค์การกลางบริหารงานบุคคลภาครัฐให้กับหัวหน้าส่วนราชการ.  การประชุมวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ ระดับประเทศ ครั้งที่ 1.
วันชัย มีชาติ.  (2548).  พฤติกรรมการบริหารองค์การสาธารณะ.  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุนทร วงศ์ไวศยวรรณ.  (2540).  วัฒนธรรมองค์การ แนวคิด งานวิจัย และประสบการณ์.  กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์โฟร์เพช
สุมลมาลย์ กัลยาศิริ. (2545). การปรับปรุงโครงสร้างองค์กร & นโยบายการบริหารจัดการบุคลากร กสอ. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2551 จาก:  http://intranet.dip.go.th
สุมลมาลย์ กัลยาศิริ. (16 ตุลาคม 2545). การปรับปรุงโครงสร้างองค์กร & นโยบายการบริหารจัดการบุคลากร กสอ. สืบค้นจาก: http://intranet.dip.go.th
Schermerhorn, J. R., Hunt, G. J., & Osborn, N. R. (1992). Organizational Behavior. (6th ed.).   
John Wiley & Sons, Inc: New York Chichester Brisbane Toronto Singapore.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น