เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร งามละม่อม
Wachirawachr Ngamlamom
การพัฒนาของประเทศด้อยพัฒนานั้น
ควรเริ่มจากการลงทุนขนาดใหญ่ในสาขาเศรษฐกิจที่เป็นยุทธศาสตร์หรือเป็นสาขานำการพัฒนาให้กับสาขาอื่นๆ
เช่น สาขาโครงสร้างพื้นฐาน
การพัฒนาแนวนี้อาจทำให้เกิดการขาดดุลยภาพ
(Disequilibrium) ขึ้นในระบบเศรษฐกิจ แต่สามารถปรับตัวได้ถ้ารัฐบาลใช้มาตรการที่เหมาะสม
สาขาที่ควรเป็นยุทธศาสตร์ควรเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าสำเร็จรูปหรือเกือบสำเร็จรูป
เพื่อการบริโภคและอุปโภค
อุตสาหกรรมประเภทนี้จะทำให้มีการผลิตสินค้าขั้นกลางและขั้นพื้นฐานเพื่อนำมาใช้ในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ต่อไป
ในปี ค.ศ. 1958 อัลเบิร์ต โอ.
เฮิลช์แมน ได้เสนอทฤษฎีการพัฒนาความเจริญเติบโตอย่างไม่สมดุล โดยมีแนวคิดสำคัญว่า “การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศด้อยพัฒนานั้น
ควรเริ่มจากการลงทุนพัฒนาขนาดใหญ่ในสาขาเศรษฐกิจที่เป็นยุทธศาสตร์หรือสาขานำการพัฒนาในสาขาอื่น
เช่น สาขาการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนา และเฮิสช์แมน
เชื่อว่าการลงทุนพัฒนาในสาขาใดสาขาหนึ่งที่จะถือเป็นสาขานำได้นั้นจะต้องสามารถทำให้การอุตสาหกรรมอื่นๆ
ตามมาในภายหลังอันเกิดการมีอุตสาหกรรมสาขาแรกดังกล่าว และในตอนท้ายย่อมทำให้มีการอุตสาหกรรมต่างๆ
เพิ่มขึ้นและเกิดการพัฒนาในที่สุด
นอกจากนี้ เฮิสช์แมน
ยังถือว่าประเทศกำลังพัฒนามีทรัพยากรไม่พอเพียงอันเป็นสาเหตุที่ทำให้ด้อยพัฒนาและการพัฒนาอย่างไม่สมดุลนี้เป็นกระบวนการที่ค่อยเป็นค่อยไป
ดังนั้น
จึงเป็นไปได้ยากที่จะทำให้มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ทันสมัยในระบบเศรษฐกิจที่ล้าสมัย
ความขาดแคลนที่สำคัญได้แก่ การขาดความสามารถที่จะเข้าใจและตัดสินใจในการลงทุน
แม้จะมีโอกาสอยู่ก็ทำไม่ได้
การแก้ปัญหาจึงควรกระทำโดยการสร้างสถานการณ์เพื่อบีบให้คนตัดสินใจลงทุน
สถานการณ์ดังกล่าวทำได้โดยทำให้ภาคทางเศรษฐกิจแตกต่างกัน กล่าวคือ
ทำบางส่วนของเศรษฐกิจให้เจริญเติบโต ความขาดแคลนในภาคที่เป็นส่วนประกอบจะมีแรงบังคับให้เกิดความเจริญเติบโตตามไปด้วยโดยการลงทุน
ดังนั้น
ภาคหรือส่วนที่จะนำมาพัฒนาจึงควรได้รับการคัดเลือกให้เป็นที่แน่ใจว่าจะเป็นส่วนที่ทำให้มีการลงทุนตามในด้านอื่นๆ
รัฐบาลย่อมจะต้องเป็นผู้จัดหาโครงสร้างพื้นฐานให้พอเพียงอันเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ลงทุน
อย่างไรก็ตาม การมีโครงสร้างพื้นฐานเป็นเพียงเครื่องอำนวยความสะดวกเท่านั้น
มิได้เป็นสถานการณ์ที่จะบีบให้มีการลงทุนเกิดขึ้น
สิ่งที่ควรทำอาจจะเป็นการใช้ปัจจัยอย่างอื่น เช่น เงินช่วยเหลือและมาตรการด้านภาษี
เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น