เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร งามละม่อม
Wachirawachr Ngamlamom
ทฤษฎีความเจริญเติบโตอย่างสมดุล
(Balanced Growth Theory) หมายถึง การลงทุนพร้อมๆ กันหลายๆ ด้านให้มีความสอดคล้องสนับสนุนกัน
ทั้งในด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม สินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าประเภททุน
สินค้าเข้าและสินค้าออก อุปสงค์และอุปทานของระบบเศรษฐกิจ
รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานด้วย
ผู้มีแนวคิดทางด้านนี้ ได้แก่
แรกนา เนอร์คเซ (Ragnar) กล่าวว่า “การลงทุนจะต้องกระทำขึ้นในทุกส่วนของระบบเศรษฐกิจโดยพร้อมเพรียงกันเพื่อขจัดปัญหาตลาดที่มีขนาดเล็ก
แรกนา เนอร์คเซ
ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาแบบสมดุล ทั้งนี้ เพราะว่าประเทศด้อยพัฒนาที่จะทำให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยอาศัยความต้องการจากภายนอกประเทศในการซื้อสินค้าพื้นฐานนั้นเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน
ดังนั้น
การส่งสินค้าออกไปขายในตลาดระหว่างประเทศจึงไม่สามารถช่วยให้เกิดการพัฒนาได้
แต่ต้องไม่หมายถึงประเทศด้อยพัฒนาทั้งหมด บางประเทศอาจอยู่ในข่ายยกเว้น เช่น คูเวต
และอิรัก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม งานสำคัญที่ต้องทำ ก็คือ การเพิ่มผลผลิตเพื่อขายทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดที่อื่นๆ
ด้วย เพราะตลาดภายในแคบและคนไม่มีอำนาจการซื้อ
ทั้งยังไม่เป็นระบบตลาดที่สมบูรณ์เหมือนประเทศที่พัฒนาแล้วด้วย ดังนั้น
การแก้ปัญหา คือ ต้องทำการลงทุนแบบสมดุล คือ มีการอุตสาหกรรมหลายๆ ด้าน คนก็จะได้งานทำมากขึ้น สามารถผลิตได้เพิ่มขึ้น
มีเงินลงทุนมากขึ้น ปรับปรุงเทคนิคให้ก้าวหน้าได้ อำนาจการซื้อของคนสูงขึ้น
โดยวิธีการดังกล่าว การผลิตและการซื้อสินค้าต่างๆ
กันจะสนับสนุนและส่งเสริมซึ่งกันและกันอันเป็นการขยายตลาดให้กว้างขึ้น
การพัฒนาอุตสาหกรรมก็เป็นไปได้และทำให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
โรเซนสเตน โรดัน
นอกจากสนับสนุนการพัฒนาแบบผลักดันแล้ว ยังเห็นว่า การลงทุนหลายๆ
ด้านอย่างพร้อมเพรียงกันนี้จะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
แผ่กระจายไปทุกสาขาในระบบเศรษฐกิจ มีผลผลิตเพิ่มขึ้นและมีความต้องการในสินค้าต่างๆ
ด้วย
โรเซนสเตน โรดัน
ได้เสนอทฤษฎีแรงผลักดันสำหรับการพัฒนา
โดยอธิบายเหตุผลว่าประเทศด้อยพัฒนานั้นมีปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนามากมายหลายอย่าง
กล่าวคือ การขาดแคลนนักลงทุนที่มีความสามารถ
ขาดแคลนทรัพยากรที่จะนำมาใช้ในการลงทุน รวมทั้งขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น เช่น
ถนน น้ำประปา ไฟฟ้า และโทรทัศน์ ที่สำคัญยิ่งคือ
ความสามารถในการออมทรัพย์ของประชากร ดังนั้น
การที่จะมีโครงการพัฒนาและดำเนินการให้โครงการเป็นไปได้นั้น
จำเป็นที่จะต้องใช้ทุนอย่างมากมายในตอนต้นเพื่อผลักดันเข้าสู่กระบวนการพัฒนา
เปรียบเทียบกับการแล่นขึ้นจากพื้นดินของเครื่องบินที่ต้องใช้ความเร็วและพลังงานอย่างมาก
และจะต้องทำเป็นแผนงานการลงทุนที่มีความครอบคลุม (Comprehensive Investment Program) โดยจะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานให้ครบถ้วนพอเพียงไว้รองรับการลงทุนดังกล่าวด้วย
และทุนที่ใช้คงต้องได้มาจากต่างประเทศ ส่วนแรงงานนั้นได้จากภายในประเทศ
อย่างไรก็ตาม
การนำเอาแนวคิดนี้มาประยุกต์ใช้ในประเทศกำลังพัฒนาอาจมีปัญหาบางประการที่สำคัญ คือ
ประเทศเหล่านี้มีทรัพยากรไม่พอเพียงที่จะใช้ในการพัฒนาหลายๆ ด้านหรือทุกด้านดังกล่าว
ทางออกที่หลายๆ ประเทศทำกัน ก็คือ การแสวงหาทรัพยากรเพื่อใช้ในการพัฒนาจากต่างประเทศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศที่พัฒนาแล้ว และส่วนมากจะเป็นการกู้เงิน เมื่อกู้มามาก
ความสามารถในการใช้หนี้มีน้อยก็อาจทำให้เป็นปัญหาระยะยาวได้
ในด้านของการจัดการเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักในกาที่จะพัฒนาให้ทุกด้านไปด้วยกันได้อย่างสอดคล้องต้องกัน
ทั้งนี้
จะต้องทำให้ส่วนประกอบทุกอย่างเปลี่ยนแปลงและดำเนินไปให้ถูกต้องสอดคล้องทั้งด้านสถานที่
เวลา ปริมาณ และคุณภาพ มีการจัดการและการควบคุมที่ดีมีประสิทธิภาพเกี่ยวกับการลงทุน
และการดำเนินการต่างๆ ในเรื่องการลงทุนตามแบบสมดุลนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น