สังคมไทย และอนาคตที่จะก้าวไปสู่ประชาคมอาเชี่ยน
เขียนโดย
วชิรวัชร งามละม่อม
Wachirawachr Ngamlamom
การที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกของอาเซียน
นับว่าเป็นผลดีต่อนโยบายด้านเศรษฐกิจของประเทศเป็น อย่างมาก เนื่องจากสามารถต่อรองทางด้านทางการค้ากับประเทศสมาชิก
นอกจากนี้การค้าระหว่างประเทศ สมาชิกด้วยกัน ได้ยึดหลักความถนัดในการผลิต หรือการ
แบ่งประเภท อุตสาหกรรมให้ประเทศสมาชิก ทำการ ผลิตโดยไม่มีการผลิต แข่งขันกัน
ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากการเป็นสมาชิกกลุ่มอาเซียน ดังนี้
1. ด้านการค้า
ได้รับสิทธิพิเศษทางด้านการค้าด้วยการได้ลดหย่อนอัตราภาษีศุลกากร
หรือยกเว้นภาษีที่ ประเทศไทยส่งไปขายยังประเทศสมาชิกสำหรับสินค้าบางประเภท
เช่นเดียวกับที่ประเทศสมาชิกได้รับจาก
ประเทศไทย ภายใต้ข้อตกลงของเขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟตา (AFTA:
ASEAN Free Trade Area)
2. ด้านอุตสาหกรรม
ได้ร่วมกับอาเซียนในการจัดตั้งโครงการอุตสาหกรรมเพื่อผลิตสินค้าสำหรับ ทดแทนสินค้า
ที่นำเข้าจากต่างประเทศ อาเซียนได้เลือกอุตสาหกรรมหลักให้ประเทศสมาชิกเลือก
ทำการผลิต คือ ประเทศไทยผลิตเกลือหิน และโซดาแอช อินโดนีเซียและมาเลเซียผลิตปุ๋ยยูเรีย สิงคโปร์ผลิตเครื่องยนต์ดีเซล
และฟิลิปปินส์ผลิตปุ๋ยฟอสเฟต โครงการนี้ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลง คือ
ไทยเปลี่ยนเป็นผลิต แร่โพแทช สิงคโปร์ยกเลิกโครงการ
ฟิลิปปินส์เปลี่ยนเป็นผลิตทองแดง แปรรูป ส่วนอินโดนีเซียและมาเลเซียยังคงผลิต
ปุ๋ยยูเรียตามเดิม ซึ่งการร่วมมือนี้เป็นการร่วมมือ ระดับรัฐบาล
ส่วนภาคเอกชนก็มีการร่วมมือกันในอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยการแบ่งการผลิตชิ้นส่วน รถยนต
์ตามความถนัดของแต่ละประเทศ และต่อมามีโครงการแบ่งผลิต สินค้าอุตสาหกรรม โดย
ผู้ผลิตจะต้องเป็น บริษัทเอกชนอย่างน้อย 2 บริษัท จากประเทศ สมาชิกอย่างน้อย 2
ประเทศ
3. ด้านการคลังและการธนาคาร
นโยบายด้านการคลังและการธนาคาร ประเทศสมาชิกได้ตกลง ร่วมมือกันในด้าน
การจัดตั้งตลาดตั๋วเงินที่ธนาคารรับรอง จัดตั้งบรรษัทการเงินอาเซียน
จัดตั้งคณะกรรมาธิการว่าด้วยการประกันภัย แห่งอาเซียน จัดตั้งกลไกยกเว้นการเก็บภาษีและ
ป้องกันการเก็บภาษีซ้ำซ้อน และร่วมมือ กับประชาคมยุโรปในการ
จัดตั้งกองทุนร่วมเพื่อการพัฒนา ระหว่างอาเซียนกับอีอีซี
4. ด้านการเกษตร
อาเซียนได้มีการร่วมมือกันทางด้านการเกษตรที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิก
นโยบายด้านการเกษตรได้ดำเนินการไปหลายโครงการ เช่น โครงการการสำรองอาหาร
เพื่อช่วยเหลือ ซึ่งกัน และกันในยาม ขาดแคลนในเวลาฉุกเฉิน
โครงการจัดตั้งศูนย์วางแผนพัฒนาการเกษตรของอาเซียน โครงการ จัดการเกี่ยวกับ
อาหารภายใต้ความร่วมมือของอาเซียน-ออสเตรเลีย โครงการเทคโนโลยี การประมง ภายใต้
ความร่วมมือของ อาเซียน-แคนาดา โครงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำภายใต้ความร่วมมือ
ของอาเซียน-อีซี โครงการ จัดตั้งด่านกักกันโรคพืช และสัตว์ในภูมิภาคอาเซียน
โครงการตั้งศูนย์เมล็ดพันธุ์ไม้ป่า โครงการอนุรักษ์ และจัดการต้นน้ำลำธาร โครงการปลูก ป่า
และโครงการตลาดของ ทรัพยากรป่าไม้ นอกจากนี้ยังมี โครงการอื่นที่อยู่ใน
ระหว่างการเจรจาตกลงอีกมาก
5. ด้านการขนส่งและคมนาคม
เป็นนโยบายที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวางนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศไทย
โดยเฉพาะทางด้านการขนส่งทางบก การเดินเรือและการท่าเรือ การบินพลเรือน การไปรษณีย์
และโทรคมนาคม
6. ด้านการเมือง
ความสามัคคีระหว่างประเทศสมาชิกของอาเซียนในการแก้ปัญหาอินโดจีน ทำให้ทั่วโลกหันมา
สนใจ และช่วยเหลืออินโดจีนมากขึ้น และยังช่วยแบ่งเบาภาระของประเทศไทย
เกี่ยวกับปัญหาผู้อพยพอีกด้วย
7. ด้านวัฒนธรรม ความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด
ทำให้เกิดโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่าง ประเทศสมาชิกซึ่งเป็น
การส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ยิ่งประเทศต่างๆ รวมตัวกันมากยิ่งขึ้น
ยิ่งส่งผลอนาคตซึ่งกันและกันมากขึ้น
ขณะเดียวกันสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในประเทศทั้งเด็ก สตรี คนชรา คนพิการ
คนด้อยโอกาส และครอบครัว เป็นสิ่งที่สามารถคาดการณ์ในอนาคตได้ว่าจะเป็นอย่างไร รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องสามารถนำมาวางยุทธศาสตร์เพื่อป้องกัน
แก้ไขปัญหาและพัฒนาไปสู่เป้าที่พึงประสงค์ต่อสังคมได้
การเปลี่ยนแปลงระดับโลกที่สำคัญ
ได้แก่ กฎ
กติกาใหม่ของโลกหลายด้านส่งผลให้ทุกประเทศต้องปรับตัวกฎระเบียบด้านสังคมมีบทบาทสำคัญมากขึ้น
โดยเฉพาะด้านสิทธิมนุษยชนที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้เกิดความเคารพ
และรักษาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
การปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจโลกแบบหลายศูนย์กลางรวมทั้งภูมิภาคเอเชียซึ่งทวีความสำคัญเพิ่มขึ้น
ได้แก่ การรวมกลุ่ม ในภูมิภาคเอเชีย ภายใต้กรอบการค้าเสรีของอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น
อินเดีย และประชาคมอาเซียน ในปี 2558 รวมทั้งกรอบความร่วมมืออื่นๆ
จะมีผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย โดยเฉพาะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่จะรองรับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
การเปลี่ยนแปลงภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ
มีความอ่อนแอด้านปัจจัยสนับสนุนในส่วนของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คุณภาพการบริการของโครงสร้างพื้นฐาน กฎหมาย กฎและระเบียบทางเศรษฐกิจ
ที่ไม่เอื้อต่อการจัดระบบการแข่งขันที่เป็นธรรมและเหมาะสมกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
สังคม ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ
ประชาชนได้รับการคุ้มครองทางสังคมเพิ่มขึ้นและมีการจัดสวัสดิการทางสังคมในหลายรูปแบบ
แต่กลุ่มผู้ด้อยโอกาสยังไม่สามารถเข้าถึง
บริการทางสังคมได้อย่างทั่วถึงสังคมไทยเผชิญวิกฤตความเสื่อมถอยด้านคุณธรรม
และจริยธรรม และมีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย
รวมถึงเผชิญปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดและการเพิ่มขึ้นของการพนัน
โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน
คนไทยตื่นตัวทางการเมืองและให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคม
และธรรมาภิบาลมากขึ้นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทบต่อผลผลิตภาคเกษตรและความยากจน, การบริหารจัดการพัฒนาประเทศ
ความขัดแย้งทางการเมืองและความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังดำรงอยู่และส่งผลต่อเศรษฐกิจ
การดำรงชีวิตของประชาชน ความเชื่อมั่นของนานาประเทศ ตลอดจนความสงบสุขที่ลดลง
สถานการณ์ด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในปัจจุบัน
พบว่า จากภาวะบีบคั้นทางเศรษฐกิจ ทำให้สถาบันครอบครัวอ่อนแอ
พ่อแม่มีเวลาการอบรมสั่งสอน และการอยู่กับลูกน้อยลง สมาชิกในครอบครัวขาดความตระหนักในบทบาท
และเกิดความแตกแยก นำไปสู่การหย่าร้างเพิ่มมากขึ้น
เด็กและผู้หญิงอาจตกเป็นผู้ถูกกระทำความรุนแรงจากบุคคลใกล้ชิด ผลกระทบคือ
ส่งผลให้เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อาทิ เสพยาเสพติดดื่มสุรา สูบบุหรี่
ทะเลาะวิวาท ติดเกมส์ และการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร
ทำให้เกิดผู้ป่วยเอดส์รายใหม่ในกลุ่มเสี่ยงที่หลากหลายขึ้น
จำนวนเด็กเร่ร่อนมากขึ้น และมีเด็กและเยาวชนบางส่วนขาดโอกาสทางการศึกษา
ทั้งนี้เนื่องจากนโยบายเรียนฟรี 15 ปี
มีปัญหาในเชิงคุณภาพและความเหลื่อมล้ำของคุณภาพการศึกษาระหว่างเมืองกับ
ชนบท
ไม่ตอบสนองปรัชญาการศึกษาที่จะสร้างคนให้สมบูรณ์ รู้จักคิด วิเคราะห์ มีจิตสำนึก
ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง ในส่วนค่านิยมของคนในสังคมที่เน้นการบริโภคนิยม
ทำให้เด็กมีภาวะโภชนาการเกิน และโรคอ้วนการเกิดอุบัติเหตุ โรคมะเร็ง
และโรคเรื้อรังต่างๆ ซึ่งนำไปสู่ความพิการได้ง่าย
ค่านิยมการให้ผู้ชายมีบทบาทการเป็นผู้นำ
ทำให้สตรีเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทั้งภาคการเมือง ภาครัฐและภาคเอกชนน้อยมาก
ขณะที่กลไกภาครัฐไม่สามารถปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงได้อีกทั้งนโยบายการพัฒนาประเทศหลายด้าน
ไม่มีคุณภาพเพียงพอ จึงพบว่ามีผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาต่างๆ
จำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการดูแลและช่วยเหลือ มีแรงงานต่างด้าวเพิ่มมากขึ้น
ปัญหาการค้ามนุษย์นับวันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น ผู้พ้นโทษหันกลับไปทำผิดซ้ำมากขึ้น
นโยบายการพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นไปสู่ความทันสมัย
ได้สร้างการเจริญเติบโตของเมือง แต่อีกด้านหนึ่งก่อให้เกิดชุมชนแออัด
จากการโยกย้ายถิ่นฐานจากชนบทเข้าสู่เมือง อีกทั้งคนชนบทตกอยู่ในภาวะความเสี่ยง
เปราะบาง ที่จะเป็นคนยากจนสูงเพราะการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม
สรุป ภาพรวมแนวโน้มอนาคต
พบว่า โครงสร้างครอบครัวทั้งในเมืองและชนบท ที่เป็นครอบครัวเดี่ยวส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กลง
ทำให้สัมพันธภาพของคนในครอบครัวน้อยลง เกิดภาวะความเครียด ซึมเศร้า
ความไม่มั่นคงทางอารมณ์เพิ่มขึ้น และปฏิสัมพันธ์ครอบครัวต่อชุมชนลดน้อยลง
สำหรับครอบครัวที่มีพ่อหรือแม่เลี้ยงลูกตามลำพังมีมากขึ้นจากการหย่าร้างที่สูงขึ้น
ขณะเดียวกันโครงสร้างของครอบครัวที่ประกอบด้วยบุคคลสองวัยคือ
ผู้สูงอายุและเด็กจะมีมากขึ้น
โดยผู้สูงอายุในชนบทจะถูกปรับเปลี่ยนบทบาทและรับภาระมากขึ้นแทนพ่อ แม่ เด็ก
และที่น่าวิตก เนื่องจากสื่อที่ไม่ปลอดภัยสำหรับเด็กและเยาวชนเพิ่มปริมาณ
และทวีความรุนแรงมากขึ้นรวมทั้งมีการเพิ่มจำนวนของกลุ่มผู้สูงอายุ
และผู้พิการทำให้ประเทศมีภาระค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลและดูแลเพิ่มมากขึ้น
การขาดความมั่นคงทางด้านที่อยู่อาศัย
ทำให้เกิดความเปราะบางในครอบครัว และยังส่งผลให้กลายเป็นผู้ด้อยโอกาสทางสังคม อาทิ
บุคคลเร่ร่อน บุคคลที่มีปัญหาสถานะทางกฎหมาย แต่บางกลุ่มมีจำนวนลดลงเช่น คนยากจน
ผู้ได้รับผลกระทบจากเอดส์ และครอบครัว สภาพปัญหามีความซับซ้อน
เปราะบางและรุนแรงขึ้น
แต่เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทย
มีนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก ถือเป็นโอกาสสำคัญในการเปลี่ยนแปลงค่านิยม
และทัศนคติของสังคม เพื่อพัฒนาศักยภาพ
และส่งเสริมบทบาทสตรีให้มีความเสมอภาคและเท่าเทียมกันระหว่างหญิง-ชาย
แต่จะทำได้หรือไม่ เป็นสิ่งท้าทาย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยิ่งนัก
สถานการณ์เด็ก
สตรี คนชรา คนพิการ คนด้อยโอกาส และครอบครัว
เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของรัฐบาลกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์หน่วยงานราชการ
เอ็นจีโอ
ภาคเอกชนและสื่อมวลชนในอันที่จะช่วยกันวางยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาและแนวทางพัฒนาในอนาคตร่วมกัน
ลำพังหน่วยงานใดหน่วยงานเดียวไม่สามารถทำได้จริง
สังคมไทยจึงต้องเป็นสังคมช่วยเหลือกัน ด้วยการจัดทำยุทธศาสตร์ กำหนดบทบาทหน้าที่
การจัดสรรงบประมาณและการปฏิบัติอย่างจริงจัง
เราจึงจะสามารถจัดการกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มในอนาคตได้ดีขึ้น
ในปัจจุบัน
บริบททางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก
โดยเฉพาะการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของประเทศในภูมิภาคใกล้เคียง คือ
จีนและอินเดีย รวมทั้งแนวโน้มการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคอื่นๆ
ตลอดจนปัญหาท้าทายความมั่นคงในรูปแบบใหม่ เช่น โรคระบาด การก่อการร้าย ยาเสพติด
การค้ามนุษย์ สิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติ ทำให้อาเซียนจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ
รวมทั้งเพื่อจัดการกับปัญหาท้าทายเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น