เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร งามละม่อม
Wachirawachr Ngamlamom
จริยธรรมเป็นสิ่งที่สังคมกำหนดขึ้นมาว่า
อยากจะให้สมาชิกของสังคม มีพฤติกรรมที่สังคมนิยมชมชอบอยู่ในตัว
และลักษณะใดที่สังคมไม่นิยมก็ไม่อยากให้สมาชิกมีอยู่ในตัว
จริยธรรมแบ่งได้เป็น 4 ด้าน คือ
1) ความรู้เชิงจริยธรรม
หมายถึง ความรู้ว่าอะไรดีอะไรชั่วภายในสังคมของตน
แต่ความรู้ว่าอะไรดีอะไรชั่วนี้ยังเป็นข้อสรุปว่า
คนจะต้องทำตามที่ตนเองรู้เสมอไปเช่นรู้ว่าคอรัปชั่นเป็นสิ่งเลว
ก็ไม่แน่ว่าจะไม่คอรัปชั่น
2) ทัศนคติเชิงจริยธรรม คือ
ความรู้สึก ของบุคคลที่มีต่อสิ่งถูกสิ่งผิดในสังคมว่า ชอบหรือไม่ชอบ
ทัศนคติมีลักษณะจูงใจให้คนทำพฤติกรรมตามทัศนคติค่อนข้างมาก
3) เหตุผลเชิงจริยธรรม หมายถึง
การใช้เหตุผลที่บุคคลใช้เลือกที่จะทำ หรือไม่เลือกที่จะทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
ตัวอย่างเช่น
ถ้าเด็กคนจนต้องขโมยเงินมาซื้อยาให้แม่ที่เจ็บป่วยอยู่เด็กจะให้เหตุผลว่าเขาทำอย่างนั้นถูกแล้วเพราะเขาต้องมีความกตัญญู
จริยธรรมเรื่องความซื่อสัตย์ต้องเป็นรองเพราะเขาเป็นคนจน
4) พฤติกรรมเชิงจริยธรรม เป็น
พฤติกรรม ที่คนแสดงออกมาตามที่สังคมนิยมชื่นชอบ
หรืองดเว้นการแสดงพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ของสังคม เช่นการให้ทาน นอกจากนั้น
ยังหมายถึงพฤติกรรมที่แสดงออกในสภาพการณ์ที่ยั่วยุ เช่น
ถ้ามีคนมาให้สินบนข้าราชการเขาจะรับหรือไม่
เปียเจท์ และ โคลเบิร์ก
เชื่อว่าพัฒนาการทางสติปัญญาและอารมณ์เป็นรากฐานของพัฒนาการทางจริยธรรมหมายความว่า
บุคคลจะพัฒนาจริยธรรมได้มากน้อยเพียงไรขึ้นอยู่กับว่าเขามีความเข้าใจมากน้อยเพียงไร
ซึ่งหมายความว่าจริยธรรมของเด็กจะเจริญขึ้นตามความเจริญของสติปัญญา
โคลเบิร์ก
ได้ทำการวิเคราะห์เหตุผลเชิงจริยธรรม โดยทำการวิเคราะห์คำตอบของเยาวชนอเมริกันอายุ
10-16 ปี และแบ่งประเภทเหตุผลเชิงจริยธรรมไว้ 6 ประเภทคือ
ระดับที่ 1 ขึ้นก่อนกฎเกณฑ์
หมาถึงการตัดสินใจเลือกกระทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง
โดยไม่คำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้อื่น นั้นนี้จะแยกเป็น 2 ระยะ คือ
โดยไม่คำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้อื่น นั้นนี้จะแยกเป็น 2 ระยะ คือ
1.1
มีลักษณะที่จะหลบหลีกมิให้ตนเองถูกลงโทษทางกาย
เพราะกลัวความเจ็บปวดที่จะได้รับและยอมทำตามคำสั่งของผู้ใหญ่เพราะเป็นผู้มีอำนาจทางกายเหนือตน
1.2 มีลักษณะเลือกการกระทำ
ในสิ่งที่จะนำความพอใจมาให้ตนเท่านั้น
เริ่มรู้จักการแลกเปลี่ยนกันแบบเด็กๆคือเขาทำมา ฉันต้องทำไป เขาให้ฉัน ฉันก็ให้เขาดังนี้
เป็นต้น
ระดับที่ 2 ระดับตามกฎเกณฑ์
หมายถึงการทำตามกฎเกณฑ์ของกลุ่มย่อยๆ ของตน หรือทำตามกฎหมายและศาสนา
บุคคลที่มีจริยธรรมในระดับ 2 นี้ยังต้องการการควบคุมจากภายนอก แต่มีความสามารถในการเอาใจเขามาใส่ใจเรา
และมีความสามารถที่จะแสดงบทบาททางสังคมได้ ขั้นนี้แบ่งเป็น 2 ขั้นย่อยคือ
2.1
บุคคลยังไม่เป็นตัวของตัวเองเลยชอบคล้อยตามการชักจูงของผู้อื่นโดยเฉพาะเพื่อน
2.2
บุคคลที่มีความรู้บทบาทหน้าที่ของตนในฐานะที่เป็นหน่วยหนึ่งในสังคมของตน
จึงถือว่าตนมีหน้าที่ทำตามกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่สังคมของตนกำหนดหรือคาดหมาย
ระดับที่ 3 ระดับเหนือกฎเกณฑ์
หมายถึงการตัดสินข้อขัดแย้งต่างๆด้วยการนำมาคิดตรึกตรองชั่งใจโดยตนเองแล้วตัดสินใจไปตามแต่ว่า
จะเห็นความสำคัญของสิ่งใดมากกว่ากัน แบ่งเป็น 2 ขั้นย่อยเช่นกันคือ
3.1
มีลักษณะเห็นความสำคัญของคนหมู่มาก ไม่ทำตนให้ขัดต่อสิทธิอันพึงมีพึงได้ของผู้อื่น
สามารถควบคุมบังคับจิตใจตนเองได้
3.2 เป็นขั้นสูงสุด มีลักษณะแสดงทั้งการมีความรู้สากลนอกเหนือจากกฎเกณฑ์ในสังคมของตน
และมีการยืดหยุ่นทางจริยธรรม เพื่อจุดมุ่งหมายในบั้นปลายอันเป็นอุดมคติที่ยิ่งใหญ่
นอกจากนี้ยังมีหลักประจำใจซึ่งตรงกับหลักในพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า " หิริ -
โอตตัปปะ "ด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น