หน้าแรก

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การประเมินผลนโยบาย



การประเมินผลนโยบาย

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

                   การประเมินผลโครงการ (Project Evaluation) เป็นคำที่ประกอบขึ้นจากคำว่าการประเมินผล (Evaluation) กับคำว่าโครงการ (Project) ซึ่งหมายความได้ว่าเป็นกิจกรรมที่จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์บางประการ โดยที่ผู้จัดทำโครงการมุ่งหวังว่าเมื่อทำกิจกรรมนั้นตามหลักเกณฑ์หรือขั้นตอนต่าง ๆ ที่กำหนดไว้แล้ว จะบรรลุวัตถุประสงค์ในบางประการหรือหลายประการที่ตั้งไว้ หากมีกฎเกณฑ์หรือขั้นตอนหรือกระบวนการที่ดำเนินการแตกต่างกันก็อาจได้ผลลัพธ์ออกมาไม่เหมือนกัน (สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, 2541)

                1. ความหมายของการประเมินผลนโยบายสาธารณะ
Thomas R. Dye (1984) การประเมินผลนโยบายสาธารณะ หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้นเนื่องจากนโยบายสาธารณะ
Bryant & White (1976) การประเมินผลนโยบายสาธารณะ หมายถึง เป็นความพยายามอย่างหนึ่งในการบันทึกถึงสิ่งที่เกิดขึ้น และกำหนดว่าทำไมสิ่งนั้นจึงเกิดขึ้น การประเมินจึงหมายความได้ว่าเป็น ความพยายามที่จะค้นหาว่าแผนหรือโครงการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไร เป็นไปตามที่คาดหมายไว้หรือไม่เพียงใด
Jones Charles (1977) การประเมินผลนโยบายสาธารณะ หมายถึง การกระทำที่มีระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้ทราบถึงผลนโยบายในลักษณะเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ในลักษณะผลกระทบของการดำเนินการตามนโยบายที่มีต่อปัญหาของสังคม ที่นโยบายนั้นมุ่งแก้ไขการกระทำที่เป็นหน้าที่ประจำอย่างหนึ่งของรัฐบาลในทุกระบบการเมือง เป็นเสมือนเครื่องมือที่รัฐบาลใช้ทบทวน ตรวจตรา และประเมินความก้าวหน้าในการทำงานของตนเอง
Robbin. S. (1980) การประเมินผลนโยบายสาธารณะ หมายถึง เป็นกระบวนการของการดูแลติดตาม เพื่อที่จะดูว่าองค์กรหรือหน่วยงานได้รับและใช้ทรัพยากรเพื่อการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพียงใด

William N. (1981) การประเมินผลนโยบายสาธารณะ หมายถึง ขั้นตอนหนึ่งของการวิเคราะห์นโยบายที่มุ่งผลิตข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับผลของการดำเนินตามนโยบายว่า สามารถตอบสนองต่อความต้องการของสังคม สนองคุณค่าของสังคม และแก้ไขปัญหาที่เป็นเป้าหมายของนโยบายได้หรือไม่อย่างไร มุ่งตอบปัญหาที่ว่าหลังจากที่ได้นำนโยบายไปปฏิบัติแล้วเกิดอะไรขึ้น
Rossi & Freeman (1982) การประเมินผลนโยบายสาธารณะ หมายถึง เป็นการประยุกต์ใช้กระบวนการวิจัยทางสังคมศาสตร์อย่างเป็นระบบ เพื่อประเมินกรอบความคิด รูปแบบการดำเนินงาน และประโยชน์ของแผนงานในการเข้าแทรกแซงทางสังคม กล่าวคือ การวิจัยประเมินผลเกี่ยวข้องกับการใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อวินิจฉัยและปรับปรุงการวางแผน ประสิทธิผล และประสิทธิภาพของแผนงาน
Alkin, M.C. & Hofstetter, C.H. (2002) การประเมินผลนโยบายสาธารณะ หมายถึง เป็นกระบวนการกำหนดขอบเขตการตัดสินใจ การเลือกข้อมูลที่เหมาะสม การเก็บรวมรวมข้อมูล ตลอดจนการเขียนรายงานสรุป เพื่อให้ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจได้ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
Anderson James (2003) การประเมินผลนโยบายสาธารณะ หมายถึง เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประมาณการ การเปรียบเทียบผลของการแปลงนโยบายสู่ภาคปฏิบัติกับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ทำอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาในทุกขั้นตอนของกระบวนการนโยบาย ในการประเมินผลนโยบายนั้นผู้ประเมินจะต้องทราบอย่างน้อยที่สุดในประเด็นต่อไปนี้คือ เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของนโยบายคืออะไร การดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายกำหนดไว้อย่างไร และผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานทั้งหมดเป็นอย่างไร

ทฤษฎีการมีส่วนร่วม



ทฤษฎีการมีส่วนร่วม

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

                ยุคของการเปลี่ยนแปลงจากประชาธิปไตยแบบตัวแทน เป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม การทำงานแบบมีส่วนร่วมนั้นไม่ว่าจะเป็นระดับครอบครัว ระดับโรงเรียน ระดับชุมชน ระดับองค์กร หรือระดับประเทศนั้นว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในกระบวนทัศน์ปัจจุบัน เพราะจะช่วยให้ผู้มีส่วนร่วมเกิดความรู้สึกความเป็นเจ้าของ (Ownership) และจะทำให้ผู้มีส่วนร่วมหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั้น ยินยอมปฏิบัติตาม (Compliance) และรวมถึงตกลงยอมรับ (Commitment) ได้อย่างสมัครใจ เต็มใจ และสบายใจ ได้มีการดำเนินการแก้ปัญหาความไม่เรียบร้อยในห้องเรียนโดยกระบวนการมีส่วนร่วม (วันชัย วัฒนศัพท์, 2553) แต่อย่างไรก็ตาม การเข้ามามีส่วนร่วมนั้น จำเป็นจะต้องมีขั้นตอนเสียก่อน โดยคนจะเข้าร่วมในกิจกรรมทุกอย่าง อย่างน้อยต้องมีพื้นฐานคติความคิดในเรื่องของการมีส่วนร่วมอยู่ภายในใจ ไม่มากก็น้อย ทั้งนี้ หลักการพื้นฐานของการมีส่วนร่วมจะรวมถึงการให้ความสำคัญต่อมนุษย์ไม่น้อยไปกว่าเทคโนโลยี และควรคิดว่ามนุษย์ทุกคนต่างมีความคิดและมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกันมาตั้งแต่เกิด มีภูมิปัญญาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของตนในระดับหนึ่ง  มีความสามารถพัฒนาชีวิต ให้ดีได้ถ้าได้รับโอกาสที่จะร่วมคิด ร่วมเข้าใจ และร่วมจัดการเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม (นรินทร์ชัย พัฒนพงศา, 2546) ดังนั้น ก่อนอื่นจะได้รับรู้ถึงเนื้อหาสาระ จะขอกล่าวถึงความหมายของคำว่า การมีส่วนร่วมเป็นปฐมบท เพื่อเป็นการปูพื้นฐานในการทำความเข้าใจในลำดับหัวข้ออื่นๆ ต่อไป

นโยบายสาธารณะ



นโยบายสาธารณะ

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

การศึกษาเรื่องราวใดๆ ก็ตาม ก่อนที่จะศึกษาพิจารณาถึงรายละเอียดเนื้อหาสาระของเรื่องราวนั้นๆ สมควรที่จะทำความเข้าใจให้สอดคล้องต้องกันถึงความหมายของสิ่งนั้นๆ เสียก่อน เพื่อที่จะได้เกิดความรู้ ความเข้าใจร่วมกันเสียตั้งแต่เริ่มต้น ในขณะเดียวกัน ก่อนที่จะเข้าใจเนื้อหาสาระของนโยบายสาธารณะในส่วนต่างๆ จึงได้นำเสนอเบื้องต้นเสียก่อน
1. ความหมายของนโยบายสาธารณะ
กลุ่มนักวิชาการที่ให้ความหมายของนโยบายสาธารณะ โดยให้ความสำคัญในเรื่องของกิจกรรม หรือการกระทำ หรือการงดเว้นการกระทำ ดังเช่น James Anderson (1970) ได้ให้ความหมายของนโยบายสาธารณะว่า แนวทางการกระทำ (Course of Action) ของรัฐเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ความยากจน เป็นต้น เมื่อนโยบายสาธารณะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับแนวทางการกระทำของรัฐบาลแล้ว นโยบายสาธารณะจึงต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องราวต่างๆ อย่างน้อย 2 ประการ คือ 1) เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของรัฐบาลที่จะกระทำหรืองดเว้นการกระทำ 2) เกี่ยวข้องกับสิ่งใดก็ตามที่ได้กระทำหรืองดเว้นมิได้กระทำ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามที่ได้ตัดสินใจไปแล้ว ในขณะที่ Ira Sharkansky (1970) มองว่า นโยบายสาธารณะ เป็นเรื่องของกิจกรรมต่างๆ ที่รัฐบาลกระทำ ซึ่งจะต้องเกี่ยวข้องกับขอบข่ายของบริการสาธารณะ กฎข้อบังคับ การเฉลิมฉลองในโอกาสและเทศกาลที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ และการควบคุมกระบวนการกำหนดนโยบายหรือการกระทำทางการเมือง แต่ Thomas Dye (1972) ได้กล่าวถึงนโยบายสาธารณไว้อย่างกว้างๆ โดยมองว่า นโยบายสาธารณะ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ว่ารัฐบาลจะต้องกระทำอะไร ทำไมจึงต้องกระทำเช่นนั้น และอะไรเป็นความแตกต่างที่รัฐบาลกระทำขึ้น อะไรก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำหรือเลือกที่จะไม่กระทำ และ David Easton (1953) มองนโยบายสาธารณะว่า เป็นกิจกรรมที่มีการระบุ เจาะจงลงไปที่ประเภทของกิจกรรมของรัฐบาลเลยทีเดียว แทนที่จะให้คำนิยามคล้ายกับนักวิชาการท่านอื่นที่มองการกระทำ หรือกิจกรรมของรัฐบาลในลักษณะกว้างๆ แต่ เดวิด อีสตัน ให้ความหมายของนโยบายสาธารณะไว้ว่า การแจกแจงคุณค่าต่างๆ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเพื่อสังคมเป็นส่วนรวม
ส่วนนักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่ง ได้พิจารณานโยบายสาธารณะในแง่ที่เป็นการตัดสินใจของรัฐบาล โดยที่นักวิชาการกลุ่มนี้ ได้ให้แง่มุมความหมายที่แตกต่างกันไป ดังเช่น Lynton Caldwell (1970) มองว่า บรรดาการตัดสินใจอย่างสัมฤทธิ์ผลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ที่สังคมจะเข้าดำเนินการยินยอมอนุญาต หรือที่จะห้ามมิให้กระทำ ซึ่งการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายต่างๆ นั้น อาจแสดงออกได้ในหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น ในรูปของคำแถลงการณ์ ตัวบทกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำพิพากษา เป็นต้น ส่วน William Greenwood (1965) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การตัดสินใจขั้นต้นเพื่อที่จะกำหนดแนวทางกว้างๆ เป็นการทั่วๆ ไป เพื่อนำเอาไปเป็นแนวทางให้การปฏิบัติงานต่างๆ เป็นไปอย่างถูกต้องและบรรลุวัตถุประสงค์ ที่ได้กำหนดไว้ สอดคล้องกับ R.J.S. Baker (1972) กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ คือ การตัดสินใจว่า จะกระทำอะไร และยิ่งไปกว่านั้น ยังมีนักวิชาการไทยที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มนักวิชาการที่ให้ความหมายนโยบายสาธารณะที่เน้นหนักไปที่การตัดสินใจ ดังเช่น อาทิตย์ อุไรรัตน์ (2548) ได้กล่าวถึงนโยบายสาธารณะไว้ว่า แนวทางที่รัฐบาลได้ตัดสินใจ เลือกแล้วว่า จะนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้อย่างเหมาะสมและเป็นไปได้ในสถานการณ์แวดล้อมของสังคม แต่ก็ยังมี อมร รักษาสัตย์ (2548) ได้ให้ความหมายเสริมเข้าไปอีก ซึ่งความหมายของนโยบายสาธารณะมีอยู่ 2 นัยด้วยกัน คือ ในความหมายอย่างแคบ คือ หลักการและกลวิธีที่จะนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ แต่ในความหมายอย่างกว้างจะครอบคลุมถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดตัวเป้าหมายอีกด้วย และอมร รักษาสัตย์ ยังได้จำแนกลักษณะความหมายของนโยบายไว้เป็นประเด็นต่าง คือ 1) การกำหนดเป้าหมายที่ต้องการจะไปถึง 2) หลักการ หรือกลวิธีที่จะหาทางปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายนั้น และ 3) การเตรียมการสนับสนุนต่างๆ เพื่อให้ปฏิบัติตามหลักการ

แนวคิดกลยุทธ์การบริหารงาน



แนวคิดกลยุทธ์การบริหารงาน

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

ความหมายเกี่ยวกับการจัดการเชิงกลยุทธ์คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเชิงกลยุทธ์ นั้นมีความหมายที่แตกต่างกันบ้างในรายละเอียดแต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีความหมายคล้าย คลึงกัน ดังนี้การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นศาสตร์ที่มีมานานโดยคำว่า “กลยุทธ์”หรือ Strategic มีที่มาจากคำว่า Strategia ในภาษากรีกซึ่งหมายความว่า Generalship โดยคำว่า “ยุทธศาสตร์” มักจะถูกนำมาใช้ในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการทหาร และได้เข้าสู่แวดวงการศึกษาในเวลาต่อมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสศึกษาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในธุรกิจ และต้องการให้เกิดการนำไปสู่การจัดทำนโยบายทางธุรกิจที่นำไปใช้เป็นแนว ทางในการดำเนินงานได้ในอนาคตการจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) โดยทั่วไป หมายถึง การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission)  วัตถุประสงค์ (Objective) เป้าหมาย (Goal) ขององค์การในระยะสั้นและระยะยาว จากนั้นจึงวางแผนทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้องค์การสามารถดำเนินงานตามพันธกิจอันนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ นอกจากนั้นเนื่องจากสภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจก่อให้เกิดโอกาส หรืออุปสรรคแก่องค์การได้ องค์การจึงจำเป็นต้องพิจารณาสภาพแวดล้อมภายในขององค์การ เพื่อหาจุดแข็งหรือจุดอ่อนในการที่จะสามารถหลีกเลี่ยงจากอุปสรรคหรือใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มีอยู่นั้นได้ ดังนั้นการจัดการเชิงกลยุทธ์จึงเป็นการบริหารโดยคำนึงถึง 1) ลักษณะการดำเนินงานขององค์การ 2) ลักษณะธุรกิจในอนาคต 3) สภาพแวดล้อม 4) การจัดสรรทรัพยากร 5) การปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์

แนวคิดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ



แนวคิดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐเป็นการนำหลักเกณฑ์และแนวคิดตามรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA) และรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศไทย Thailand Quality Award (TQA) มาปรับให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาระบบราชการไทย และการดาเนินการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 รวมทั้ง การประเมินผลตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ เพื่อให้มีความเหมาะสมตามบริบทของภาคราชการไทย ทั้งนี้ เพื่อให้ส่วนราชการใช้เป็นกรอบในการประเมินองค์กรด้วยตนเอง และเป็นแนวทางในการปรับปรุงการบริหารจัดการองค์กร เพื่อการยกระดับคุณภาพมาตรฐานการทางานของหน่วยงานภาครัฐไปสู่มาตรฐานสากล
เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ จัดทาขึ้นโดยอาศัยค่านิยมหลัก (Core-Value) 11 ประการ ดังนี้
1. การนาองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์
2. ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นผู้รับบริการ
3. การเรียนรู้ขององค์การและของแต่ละบุคคล
4. การให้ความสำคัญกับบุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
5. ความคล่องตัว
6. การมุ่งเน้นอนาคต
7. การจัดการเพื่อนวัตกรรม
8. การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง
9. ความรับผิดชอบต่อสังคม
10. การมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์และการสร้างคุณค่า
11. มุมมองในเชิงระบบ

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2559

แนวคิดเกี่ยวกับการประเมินผล



แนวคิดเกี่ยวกับการประเมินผล

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

ความหมาย
ประชุม รอดประเสริฐ (2539) กล่าวว่าการประเมินหรือการประเมินผลมีความหมายตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “EVALUATION” หมายถึงกระบวนการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจดำเนินการสิ่งใดสิ่งหนึ่งนอกจากนี้ยังมีความหมายเกี่ยวเนื่องกับคำอื่นๆอีกหลายคำเช่นการวิจัย (Research) การวัดผล (Measurement) การตรวจสอบรายงานผล (Appraisal) การควบคุมดูแล (Monitoring) การประมาณการ (Assessment) และการพิจารณาตัดสิน (Judgment) เป็นต้นคำดังกล่าวอาจสรุปเป็นความหมายหรือคำจำกัดความร่วมกันได้ว่าการประมาณค่าหรือการประมาณผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานโดยอาศัยข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมด้วยวิธีการสอบถามทดสอบสังเกตและวิธีการอื่นแล้วทำการวิเคราะห์เพื่อตัดสินว่าการดำเนินงานนั้นมีคุณค่าหรือบรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานนั้นมากน้อยเพียงใด
ส่วน Suchman (1967) กล่าวว่า การประเมินผลหมายถึงกระบวนการศึกษาเกี่ยวกับผลลัพธ์ที่พึงปรารถนาและไม่ปรารถนาที่เกิดจากการดำเนินงานเพื่อตัดสินคุณค่าหรือปริมาณความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ โดยมีขั้นตอน คือ1. การกำหนดจุดมุ่งหมายในการประเมินผล2. การกำหนดเกณฑ์เพื่อตรวจสอบความสำเร็จ3. การอธิบายกับความสำเร็จ4. การรายงานและเสนอแนะการดำเนินงานต่อไป สอดคล้องกับ Chase (1978) กล่าวว่าการประเมินผลหมายถึงการตัดสินหรือการให้ความเห็นเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งและ (Brown, 1983) ได้ให้ความหมายการประเมินผลว่า หมายถึงการตีความหมายของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อตอบคำถามว่าดีเพียงใด
กล่าวโดยสรุป การประเมินผล หมายถึงกระบวนการศึกษาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานหรือการวัดทัศนคติของผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้ทราบถึงประสิทธิผลการทำงานของบุคคลกลุ่มบุคคลในองค์การ ซึ่งเป็นการตรวจสอบประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานว่าดีเพียงใดบรรลุเป้าหมายมากน้อยเพียงใด รูปแบบการประเมินผล

แนวคิดเกี่ยวกับแรงจูงใจ



แนวคิดเกี่ยวกับแรงจูงใจ

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

มาสโลว์ (Maslow, 1954) แรงจูงใจ” (Motivation) เป็นแนวคิดสำคัญในการบริหารงานบุคคล ทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชน การทางานธุรกิจ หรืองานอุตสาหกรรมเป็นงานที่จะต้องคำนึงถึงผลได้ผลเสีย กำไรขาดทุน ทั้งการดำเนินงานยังเต็มไปด้วยการแข่งขันในทุกเรื่องไม่ว่าจะด้านคุณภาพของสินค้าและบริการ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การตลาด รวมไปถึงการควบคุมต้นทุนการผลิต และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่ปัญหาที่ต้องประสบกันมาทุกยุคทุกสมัย คือการทำงานของคนในองค์การ ซึ่งจัดเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีค่าขององค์การ ทำอย่างไรจะให้ทรัพยากรบุคคลเหล่านั้นทำงานเต็มที่ เต็มความสามารถเพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพดีที่สุด และด้วยปริมาณมากที่สุด ผู้บริหารหลายคนอาจคิดถึงกลยุทธ์การให้รางวัลและการลงโทษ ผู้บริหารบางคนคิดถึงหลักเมตตาธรรมให้อยู่กันด้วยความรักความเข้าใจแล้วพลังการทำงานก็จะตามมา และมีผู้บริหารอีกส่วนหนึ่งที่คิดถึงคำกล่าวว่า ชาติดีไม่ต้องทาสีแดงคือคนดีไม่ว่าอย่างไรก็ทำงานดีสม่ำเสมอ เพราะมีสิ่งผลักดันในการทำงานที่มาจากภายในตัวของบุคคลผู้นั้นเอง แต่สำหรับบางคนที่คิดรวยทางลัดหลอกคนมากักขังหน่วงเหนี่ยวใช้กำลังบังคับให้ทำงาน วิธีนั้นน่าจะได้ชื่อว่ามิได้ใช้กลยุทธ์เชิงจิตวิทยาแต่อย่างใดในการเสริมสร้างคนให้ทำงาน ทั้งยังเป็นการทำผิดศีลธรรม และผิดกฎหมายอีกด้วย
                    การเสริมสร้างให้คนทำงานได้เป็นอย่างดีนั้น นอกจากเพื่อให้เกิดพฤติกรรมการทำงานที่มุ่งเพิ่มปริมาณ และคุณภาพแล้ว ยังเน้นบรรยากาศที่ผู้ปฏิบัติมีความสุขความพอใจ และเต็มใจลงทุนลงแรง เพื่อให้ผลงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การทำงานในลักษณะดังกล่าว คือแรงจูงใจในการทางาน (Work Motivation) ซึ่งผู้ทางานธุรกิจควรให้ความสำคัญ และสนใจศึกษาเพื่อพัฒนางานให้เจริญก้าวหน้า ในที่นี้จะกล่าวถึง ความหมายของแรงจูงใจ ความเป็นมา และความสำคัญของแรงจูงใจในการทำงาน ลักษณะ และที่มาของแรงจูงใจ ทฤษฎี และการประยุกต์ความรู้เรื่องแรงจูงใจไปใช้งาน

แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการ



แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการ

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom
                                                                                                                                   
ความหมายของการบริหารและการจัดการ
คำว่า การบริหาร” (Administration) และ การจัดการ” (Management) มีที่มาในเชิงพัฒนาการขององค์ความรู้ที่แตกต่างกัน แต่ปัจจุบันได้มีการกำหนดองค์ความรู้ทั้งสองด้านมาผสมผสาน และประยุกต์เข้ากับองค์กรสมัยใหม่ จึงทาให้ทั้งสองคานี้มีความหมายเช่นเดียวกัน และสามารถใช้แทนกันได้ เพียงแต่ความนิยมคุ้นเคยหรือความนึกคิดเชิงภาษาที่แตกต่างกันไปบ้างเท่านั้น กล่าวคือ มีนัย (Sense) ที่แตกต่างกันในด้านต่อไปนี้
1) เกี่ยวกับประเภทขององค์กรและหน่วยงาน
คำว่า การบริหารนิยมใช้ในหน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานราชการ ดังจะเห็นได้จากตำแหน่งบริหาร หรือนักบริหาร (Administration) มีการบัญญัติศัพท์สาขาวิชาที่ศึกษาด้านนี้ว่า
รัฐประศาสนศาสตร์” (Public Administration) ขณะที่คำว่า การจัดการมักหมายถึงการบริหารงานในองค์กรภาคเอกชน หรือธุรกิจมากกว่าการบริหารรัฐกิจดังจะพบเสมอว่า ตำแหน่งสำคัญในองค์กรเอกชนใช้คำว่า ผู้จัดการ” (Manager)
2) เกี่ยวกับระดับหรือขอบข่ายความรับผิดชอบของการดำเนินการ
การบริหารบางครั้งเป็นคาที่ผู้ใช้ให้ความหมายถึงการทาหน้าที่ในระดับนโยบาย คือการตัดสินใจให้แนวทาง และรับผิดชอบในผลที่เกิดขึ้นในภาพรวม ส่วนการจัดการเน้นการดำเนินงานในระดับปฏิบัติ (Policy Implementation) ซึ่งเป็นหน้าที่ต้องรับผิดชอบรองลงมา หรือเป็นหน่วยงานระดับกลางหรือระดับล่าง
ในทางวิชาการทั้งการบริหารและการจัดการ ไม่ได้มีความหมายแตกต่างกันคำว่าการจัดการสามารถใช้ได้ในองค์กรภาครัฐ และใช้กับการดำเนินงานระดับนโยบายเช่นกัน ทั้งนี้เพราะแนวความคิดการจัดการสมัยใหม่ (Modern Management Thought) เน้นการผสมผสานองค์ความรู้ทั้งศาสตร์การบริหาร (Administrative Science) ศาสตร์การจัดการ (Management Science) ตลอดจนพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science) เข้าด้วยกันอย่างแยกไม่ออก (วิชัย รูปขาดี, 2542)

แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับประสิทธิผล



แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับประสิทธิผล

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

ความหมาย
ประสิทธิผลปัจจุบันมีการศึกษาเรื่อง ประสิทธิผล (Effectiveness) กันอย่างแพร่หลายและมีการนิยามความหมายแตกตางกัน โดยมีการใช้หลักเกณฑ์มาประกอบกัน มีผู้ให้ความหมายหรือคำนิยามต่างๆ กัน ดังนี้ อรุณ รักธรรม (2525) ประสิทธิผล หมายถึง ความสามารถขององค์การที่จะดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย 4 ประการ คือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในองค์การ (Integration) การปรับตัวของ องค์การให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม (Adaptability) การปรับตัวขององค์การให้ สอดคล้องกับสังคม (Social Relevance) และผลผลิตขององค์การ (Productivity) สอดคล้องกับ ภรณี กีร์ติบุตร (2529) ให้ทัศนะว่า ประสิทธิผลขององค์การ (Organizational Effectiveness) หมายถึง ความมากน้อย (Extent) ของการที่องค์การ ในฐานะเป็นระบบทางสังคมสามารถบรรลุถึงวัตลุประสงค์ ได้โดยทรัพยากรและหนทางที่มีอยู่ โดยไม่ทำให้ทรัพยากรและหนทางเสียหายและ โดยไม่สร้างความตึงเครียดที่ไม่สมควรแก่สมาชิก ซึ่งมาตรการที่ใช้ในการวัดประสิทธิผล ขององค์การตั้งอยู่บนวิธีการและเป้าหมาย (Means and Ends) โดยเกณฑ์บ่งชี้ในการวัดประสิทธิผล คือ ความสามารถในการผลิตขององค์การ ความยืดหยุ่นขององค์การในรูป ของความสำเร็จในการปรับตัวเขากับการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การและความสำเร็จในการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดขนนอกองค์การ และการปราศจากความกดดัน หรือการขัดแยงรุนแรงระหว่างกลุ่มย่อยในองค์การระหว่างหน่วยงานในองค์การ Schein (1970) มีความเห็นว่า ประสิทธิผลองค์การ หมายถึง สมรรถนะ (Capacity) ขององค์การในการที่จะอยู่รอด (Survival) ปรับตัว (Adapt) รักษาสภาพ (Maintain) และเติบโต (Grow) ไม่ว่าองค์การนั้นจะมีหน้าที่ใดที่ต้องการให้ลุล่วง
                     จินดาลักษณ์ วัฒนสินธุ์ (2530) นอกจากความสามารถในการบรรลุเป้าหมายอันเป็นความมีประสิทธิผลโดยทั่วไปแล้วการประเมินประสิทธิผลอาจพิจารณาได้จากคุณภาพของผลผลิตหรือบริการพื้นฐานขององค์การหรือความสามารถในการผลิตสินค้าหรือบริการขององค์การ ความพร้อม หรือความเป็นไปได้ในการปฏิบัติงานที่เฉพาะเจาะจงเมื่อถูกขอร้องให้ทำผลตอบแทน หรือผลกำไรที่ได้รับจากการผลิตสินค้าและบริการ เป็นด้น ดังนั้นกิจกรรมขององค์การที่เป็นเครื่องตัดสินการปฏิบัติงานขององค์การว่ามีประสิทธิผลหรือไม่จึงประกอบไปด้วยกิจกรรมต่อไปนี้คือ การได้มาซึ่งทรัพยากรที่ด้องใช้ในการปฏิบัติงาน การใช้ปัจจัยนำเข้าอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับผลผลิต ความสามารถในการผลิตสินค้าหรือบริการขององค์การ การปฏิบัติงานด้านเทคนิควิชาการและด้านการบริหารอย่างมีเหตุผล การลงทุนในองค์การ การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์กับพฤติกรรมในองค์การ และการตอบสนองความด้องการและความสนใจที่แตกต่างกันของบุคคลและของกลุ่ม

บทบาทภาคีการพัฒนาในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์



บทบาทภาคีการพัฒนาในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

ทุกภาคีล้วนเป็นส่วนหนึ่งของพลังร่วมที่จะก่อให้เกิดสัมฤทธิผลของการพัฒนา และล้วนเป็นผู้ร่วมรับผลกระทบหรือผลประโยชน์หรือมีส่วนได้ส่วนเสียจากการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงสภาพทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้น เพื่อให้ผลของการพัฒนาตามยุทธศาสตร์นี้ มุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน การมีส่วนร่วมของทุกภาคีตลอดกระบวนการพัฒนาควบคู่ไปกับการสร้างจิตสำนึก ความรับผิดชอบในหน้าที่ ให้องค์ความรู้และสร้างกระบวนการเรียนรู้ ให้กับคนไทยทุกคน และการสร้างกลไกให้เอื้อต่อการเข้ามีส่วนร่วมฯ มีสิทธิในการเข้าถึง ใช้และรับประโยชน์อย่างเป็นธรรมและสมดุลกับข้อจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งร่วมรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมของตน จึงเป็นเงื่อนไขของความสำเร็จ ซึ่งภาคีต่างๆ ควรมีบทบาท ดังนี้