หน้าแรก

วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558

กระบวนทัศน์ในการพัฒนาท้องถิ่น



กระบวนทัศน์ในการพัฒนาท้องถิ่น

เขียนโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

กระบวนทัศน์ในการพัฒนาท้องถิ่นว่า ปัจจุบันสังคมไทยได้มีการกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึงครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาค โดยมีรูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่แตกต่างกันออกไป อาทิ องค์กรท้องถิ่นที่มีความเก่าแก่ยาวนานมากที่สุดอย่างเทศบาล ถัดมาคือองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และองค์กรท้องถิ่นที่เกิดขึ้นหลังสุดอย่างองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) รวมทั้งการปกครองพิเศษอีก 2 รูปแบบคือ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ดังนั้น ความสำเร็จในการบริหารการพัฒนาท้องถิ่นจึงฝากไว้กับผู้นำองค์กรปกครองท้องถิ่น ซึ่งเป็นผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ กระบวนทัศน์ (Paradigm) หรือแนวความคิดอย่างเป็นระบบในการพัฒนาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้นำองค์กรท้องถิ่นในการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีประโยชน์สุขของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญ ซึ่งสามารถสังเคราะห์ออกมาเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนาท้องถิ่นดังต่อไปนี้ 

กระแสโลกาภิวัตน์กับการเมืองไทย



กระแสโลกาภิวัตน์กับการเมืองไทย

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

กระแสโลกาภิวัตน์ทำให้แนวความคิดว่าด้วยรัฐประชาชาติสิ้นความหมาย ทั้งนี้เนื่องจาก บทบาทและอิทธิพลขององค์กรเหนือรัฐที่เข้าไปแทรกแซงกิจกรรมของประเทศต่างๆ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ยุทธศาสตร์โลกาภิวัตน์พัฒนา ซึ่งก่อเกิดบนพื้นฐานของปรัชญาเศรษฐกิจเสรีนิยม มีส่วนพังทลายกำแพงกีดขวางการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ รวมตลอดจนปัจจัยการผลิตทั้งทุนและแรงงานระหว่างประเทศ ในขณะที่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเกื้อกูลให้ตลาดสินค้าและตลาดปัจจัยการผลิตมีความสมบูรณ์มากขึ้น อันเป็นผลจากความสมบูรณ์ของข้อมูลข่าวสาร แนวความคิดว่าด้วยรัฐประชาชาติจึงสิ้นความหมาย ในขณะที่การกำหนดพรมแดนเป็นหลักการพื้นฐานของรัฐประชาชาติ แต่บัดนี้ประชาชาติกลายเป็นรัฐที่ไร้พรมแดน (สังศิต พิริยะรังสรรค์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร, 2538)

กระแสโลกาภิวัตน์กับเศรษฐกิจไทย



กระแสโลกาภิวัตน์กับเศรษฐกิจไทย

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

แม้ว่าโลกาภิวัตน์ มิได้หมายถึง กระบวนการปรับเปลี่ยนตามกระแสการเปลี่ยนแปลงในโลก แต่ด้วยเหตุที่โลกาภิวัตน์เกิดจากแรงผลักดันของพลังทุนนิยมโลก ซึ่งเข้มแข็งและรุนแรงจนท้ายที่สุดแล้ว โลกาภิวัตน์ก็กลายเป็นแรงผลักดันที่ทำให้สังคมเศรษฐกิจไทยไม่เพียงแต่จะถูกผนวกเข้ากับระบบทุนนิยมโลก และปรับเปลี่ยนตามกระแสโลกเท่านั้น หากทว่าสังคมเศรษฐกิจไทยยังกระโดดเข้าสู่ลู่ทางเศรษฐกิจเพื่อไล่กวดหรือวิ่งหนีนานาประเทศ (Catching Up) (สังศิต พิริยะรังสรรค์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร, 2538)

ในลู่ทางเศรษฐกิจในสังคมขณะนี้ กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในเอเชีย (Asian NICs) กำลังวิ่งไล่กวดประเทศกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมเก่า กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่รุ่นที่สอง (Second Generation NICs: SGN’s) พยายามวิ่งไล่กวดรุ่นที่หนึ่ง ภายในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่รุ่นที่สอง ไทยพยายามวิ่งไล่กวดมาเลเซีย โดยที่ในขณะเดียวกันก็วิ่งหนีอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ พร้อมๆ กับที่สาธารณรัฐประชาชนจีนและเวียดนามพยายยามวิ่งไล่กวดประเทศอุตสาหกรรมกลุ่มที่สอง ภายในทศวรรษหน้าจะเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่า ใครเป็นผู้นำ และใครเป็นผู้รั้งท้ายในกระบานการวิ่งไล่กวดทางเศรษฐกิจดังกล่าว แต่การวิ่งไล่กวดในลู่ทุนนิยมโลก ย่อมหนีไม่พ้นที่นานาประเทศจะต้องเลือกยุทธศาสตร์โลกาภิวัตน์พัฒนา อันเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่แสวงหาประโยชน์จากกระบวนการโลกาภิวัตน์ โดยที่กระบวนการโลกาภิวัตน์ได้ค่อยๆ ทำให้ยุทธศาสตร์การผลิตอันเป็นทางเลือกอื่นตีบตันลงตามลำดับ สังคมเศรษฐกิจไทยก็ตกอยู่ในสถานะเช่นนี้ บรรดาผู้ทรงอิทธิพลทางการเมืองและเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มทุน ชนชั้นนำทางอำนาจ และขุนนางนักวิชาการ ล้วนแล้วแต่สนับสนุนยุทธศาสตร์โลกาภิวัตน์พัฒนาทั้งสิ้น แรงผลักดันให้ระบบเศรษฐกิจไทยเลือกเส้นทางโลกภิวัตน์พัฒนามิได้มาจากภายในประเทศเท่านั้น หากยังมาจากต่างประเทศด้วย (รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, 2538)

กระแสโลกาภิวัตน์กับสังคมไทย



กระแสโลกาภิวัตน์กับสังคมไทย

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

ในกระแสยุคโลกาภิวัตน์ สังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรอบด้าน ปัจจัยสำคัญที่เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวคือ การดำเนินนโยบายการพัฒนาในลักษณะของการพึ่งพา ซึ่งมีลักษณะสำคัญดังนี้ คือ
1. เศรษฐกิจรอบนอกอยู่ภายในสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ ระบบเศรษฐกิจของประเทศรอบนอกถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบทุนนิยม โลกภายนอกนั้นไม่สามารถเข้าใจได้ ถ้าไม่อ้างอิงถึงแรงกระตุ้นทางเศรษฐกิจของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมของประเทศพัฒนา ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบต่อการสะสมทุนในประเทศทุนนิยมรอบนอก และต่อการดึงเอาระบบเศรษฐกิจดั้งเดิม (ที่ยังไม่ได้เป็นระบบทุนนิยม) เข้ามารวมอยู่ในระบบทุนนิยมโลก
2. การเชื่อมโยงระหว่างชนชั้นนำในประเทศกับระหว่างประเทศ การเชื่อมโยงทางโครงสร้างระหว่างชนชั้นนำภายในประเทศกับภายนอกประเทศนี้ ไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับรูปแบบภายนอกของการกอบโกยผลประโยชน์และบีบบังคับเท่านั้น แต่มีรากฐานอยู่ที่การมีผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างชนชั้นนำภายในกับภายนอกประเทศอีกด้วย ชนชั้นนำหรือชนชั้นปกครองในประเทศรอบนอกจะเป็นพันธมิตรและรับเอาแบบอย่างการดำรงชีวิตของประเทศศูนย์กลางมาเป็นของตนเอง
3. ความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมนำไปสู่ความไม่เท่าเทียมกันมากขึ้น ผลต่อเนื่องในระยะยาวของความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างประเทศ ชนชั้น ภาค และกลุ่มชนจะเพิ่มความไม่เท่าเทียมกันที่มีอยู่เดิมให้มากยิ่งขึ้น อันนำไปสู่ช่องว่างที่กว้างไกลขึ้นระหว่างคนรวยกับคนจน ความขัดแย้งทางชนชั้นและความแตกแยกกันภายในสังคมภายใต้วิถีการผลิตแบบทุนนิยมนี้เป็นการไม่ชอบด้วยเหตุผลที่จะหวังว่า การสะสมทุนและความเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศรอบนอกจะช่วยแก้ปัญหาพื้นฐานสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศได้

การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวนา



การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวนา

เขียนโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

1.  การเปลี่ยนแปลงในปัจจัย 4
การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวนา ในด้านการเปลี่ยนแปลงมุมมองและแนวคิดในการบริโภคปัจจัย 4 พื้นฐานในการดำรงชีวิต ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ที่เคยอยู่แบบเรียบง่าย และวิถีการผลิตที่เคยอาศัยภูมิปัญญาในการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง การเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization) เป็นกระแสของความทันสมัย (Modernization) กระแสข่าวสารข้อมูล(Information) ที่อาศัยสื่อเทคโนโลยี แขนงต่างๆ นำมาโดยปราศจากซึ่งสิ่งขัดขวางปิดกั้นหรือเป็นสภาวะที่ไร้ซึ่งพรมแดนทำให้โลกทั้งโลกเป็นเสมือนบ้านเดียวกัน เหตุการณ์ สถานการณ์ หรือเรื่องราวใดๆ เกิดขึ้นในโลก กระแสโลกาภิวัตน์ได้ทำลายค่านิยมของความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ไปสู่วัตถุนิยมหรือบริโภคนิยม ใช้เงินเป็นตัวตั้ง ทุกอย่างต้องคิดเป็นค่าแรง ค่าจ้าง บูชาเงิน บูชาวัตถุ มองคุณค่าของคนอยู่ที่เงินตรา และที่ฐานะทางเศรษฐกิจทั้งสิ้น ทุกคนจึงพยายามที่จะหาเงินให้ได้มากที่สุด ทำให้เกิดความเห็นแก่ตัว ไม่สนใจเรื่องศีลธรรมคุณธรรม ในสังคมชาวนาสมัยทุกวันนี้มองเพื่อนร่วมอาชีพกลายเป็นคู่แข่ง ต้องชิงไหวชิงพริบ ต้องเอาชนะกันว่าใครจะได้ผลผลิตมากกว่ากัน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นผลมาจากกระแสโลกาภิวัตน์ แม้จะทำให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น เช่น มีถนน มีน้ำประปา มีไฟฟ้า แต่ผลดีไม่เท่าผลเสีย เพราะชาวนาไทยไร้หลักประกัน เป็นชะตากรรมของชาวนาไทย และมีภัยรอบด้าน จึงมีความรู้สึกว่าอาชีพของตนไม่มีความมั่นคง ไม่แน่นอน ทั้งในเรื่องของน้ำท่วม ฝนแล้ง ราคาผลิต ราคาปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และเครื่องอุปโภคบริโภคอย่างอื่นที่มีความแน่นอนอย่างเดียวคือราคาแพงเพิ่มขึ้น ชาวนาจึงขาดศรัทธาในอาชีพของตนเองไม่เห็นคุณค่าว่าเป็นกระดูกสันหลังของชาติ

ความร่วมมือระหว่างวัดกับบ้านในการพัฒนาสังคม



ความร่วมมือระหว่างวัดกับบ้านในการพัฒนาสังคม

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

                สังคมไทยเคารพศรัทธาต่อพระภิกษุมาก เพราะเชื่อว่า พระภิกษุเป็นผู้มีความรู้มากกว่าฆราวาสเป็นผู้ทรงศีล ย่อมพูดแต่ความจริง และเป็นครูบาอาจารย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนที่มีต่อวัดจึงผูกพันแนบแน่นกับวิถีชีวิตของทุกคน นับแต่เกิดจนตาย คำสั่งสอนจึงได้รับความเชื่อถืออย่างไร้ความคลางแคลงใจ ดังนั้น พระสงฆ์จึงกลายเป็นที่พึ่งของสังคมในทุกๆ เรื่อง ไม่ว่าในทางที่เป็นมงคลและอัปมงคล ส่วน วัด นั้นเป็นสถานที่รับใช้บริการงานประเพณีการทำบุญต่างๆเพื่อให้เกิดกุศลบุญแก่ ฆราวาส เนื่องในวันสำคัญทางศาสนาซึ่งมีอยู่แทบตลอดทั้งปี รวมทั้งเป็นสถานที่ให้การศึกษาแก่ชุมชน นับแต่การบวชเณรจนถึงบวชเป็นพระภิกษุ สถานที่ให้ความสงบเยือกเย็นทางใจ เช่น การแสดงพระธรรมเทศนา การฝึกปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ เป็นสถานที่ชุมนุมของสังคมทุกกาลวาระ เช่น การประชุมกรรมการหมู่บ้าน งานเทศกาลรื่นเริงที่มีการออกร้าน มีมหรสพต่างๆ เป็นต้น เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมเนื่องในการตาย เช่น การตั้งศพสวดพระอภิธรรม การเผาศพ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนในเรื่องของบทบาท จำนง อดิวัฒนสิทธิ์ (2548) ได้สรุปถึงบทบาทของวัดที่มีต่อบ้าน คือ 1) การพัฒนาทางด้านกายภาพ 2) การพัฒนาทางด้านสังคม 3) การพัฒนาทางด้านจิตใจ 4) การพัฒนาทางด้านสติปัญญา ปัจจัยทั้ง 4 ประการ เสมือนหนึ่งเป็นการสร้างบทบาท มิติการพัฒนาให้กับพระสงฆ์ในการสงเคราะห์ มวลมนุษย์ชาติ สมดัง พุทธภาษิตที่ว่า

ความร่วมมือระหว่างวัดกับรัฐในการการพัฒนาสังคม



ความร่วมมือระหว่างวัดกับรัฐในการการพัฒนาสังคม

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

ความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธศาสนากับรัฐ มีมาช้านานตั้งแต่สมัยพุทธกาล ถ้าจะพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาโดยสากลธรรมชาติเชื่อว่าเริ่มเกิดขึ้นครั้งแรก ตั้งแต่มีรัฐเป็นครั้งแรก เพราะความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับรัฐนั้น ก็หมายความว่าความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อของมนุษย์และพระศาสนา (สุกิจ ชัยมุสิก, 2552) รัฐ และศาสนา จึงไปด้วยกันหรือคู่ขนานกันไป ต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะทำให้รัฐเป็นธรรมรัฐ (Good Governance) ให้ประชากรภายในรัฐมีความสงบสุขร่มเย็น ทำให้มั่นใจได้ว่า คำสอนของศาสนาเป็นพื้นฐานของความมั่นคงแห่งรัฐ ในทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ ฯ อย่างแท้จริง   
ตามทัศนะของท่านธรรมปิฏก (2525) ได้กล่าวว่า รัฐมีหน้าที่ที่จะต้องพยายามให้ศาสนาบริสุทธิ์ เพื่อให้มีธรรมดำรงอยู่สืบต่อไปในสังคมหรือในโลกนี้ การทำสังคยานาก็ดี การกำจัดชำระล้างศาสนาในบางสมัยก็ดี เป็นเรื่องที่จัดได้ว่าอยู่ในหน้าที่ข้อนี้  เมื่อมีเหตุการณ์ไม่เรียบร้อยขึ้นในวงการพระศาสนา รัฐก็เข้ามาอุปถัมภ์คณะสงฆ์ในการทำสังคายานาร้อยกรองพระธรรมวินัย เพื่อรักษาธรรมที่บริสุทธิ์ไว้   

ความร่วมมือระหว่างวัดกับโรงเรียนในการพัฒนาสังคม



ความร่วมมือระหว่างวัดกับโรงเรียนในการพัฒนาสังคม

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

แม้ว่าในปัจจุบันนี้ การศึกษาไทยจะก้าวข้ามวันเวลาพร้อมมีการพัฒนาการด้านต่างๆ มากขึ้น แต่ถึงกระนั้นบางด้านของการศึกษาไทยก็ยังมีจุดบกพร่องหรือเกิดปัญหามากมาย จนทำให้การขับเคลื่อนระบบการศึกษาไทยสู่ความเป็นเลิศต้องติดๆ ขัดๆ หรือบางครั้งก็ต้องสะดุดแทบจะล้มเหลว ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงส่งผลกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นครูที่ไม่มีประสิทธิภาพ หลักสูตรที่มีปัญหา รวมทั้งผลที่ตกถึงบรรดาเด็กๆ จนทำให้อ่อนด้อยในด้านความคิดและวิชาการ (นิรันด์ บุญจันทร์, 2552) ในขณะที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนพยายามจะแก้ไขจุดบกพร่องระบบการศึกษา ด้วยวิธีการหลากหลาย และเกิดผลลัพธ์ทั้งที่สำเร็จและล้มเหลวนั้น ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาการ จะต้องมีการประสานงานกับทางสถาบันศาสนาอยู่ตลอดเวลา จะเห็นได้จาก หลักการสูตรการเรียนการสอนพุทธศาสนาได้สอดแทรกหลักธรรมต่างๆ ไว้ในบทเรียนทุกช่วงชั้น หากนักเรียนได้เรียนไปตามขั้นตอนที่วางไว้ก็จะเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี แต่ทั้งนี้ต้องอาศัย กระบวนการถ่ายทอดจากทางโรงเรียน (พระธรรมโกศาจารย์, 2548)

นวัตกรรมการบริหารจัดการ (Managing Creativity and Innovation)



นวัตกรรมการบริหารจัดการ (Managing Creativity and Innovation)

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

1. องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
องค์การเรียนรู้ (Learning Organization) เป็นแนวคิดในการพัฒนาองค์การโดยเน้นการพัฒนาการเรียนรู้สภาวะของการเป็นผู้นำในองค์การ (Leadership) และการเรียนรู้ร่วมกัน ของคนในองค์การ (Team Learning) เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และทักษะร่วมกัน และพัฒนาองค์การอย่างต่อเนื่องทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขัน
การมีองค์การแห่งการเรียนรู้นี้จะทำให้องค์การและบุคลากร มีกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผล โดยมีการเชื่อมโยงรูปแบบของการทำงานเป็นทีม (Team working) สร้างกระบวนการในการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจเตรียมรับกับความเปลี่ยนแปลง เปิดโอกาสให้ทีมทำงานและมีการให้อำนาจในการตัดสินใจ (Empowerment) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศของการคิดริเริ่ม (Initiative) และการสร้างนวัตกรรม (Innovation) ซึ่งจะทำให้เกิดองค์การที่เข้มแข็ง พร้อมเผชิญกับสภาวะการแข่งขัน

แนวคิดการจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน



แนวคิดการจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

ในส่วนนี้จะกล่าวถึงแนวคิดการจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน ซึ่งได้แก่ 1) ความหมายการเรียนรู้ของชุมชน 2) องค์ประกอบของการจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน ได้แก่ 1) รวมคน 2) ร่วมคิด 3) ร่วมทำ 4) ร่วมสรุปบทเรียน 5) ร่วมรับผลการกระทำ

1.  ความหมายของการเรียนรู้ในชุมชน
การเรียนรู้ (Learning) มีขอบข่ายกว้างกว่าการศึกษาหรือการฝึกอบรม ริชาร์ด  เพทติงเกอร์ (Pettinger, 2000) กล่าวว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการในการก่อให้เกิดรูปแบบและพัฒนาความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) ทัศนคติ (Attitude) และพฤติกรรม (Behaviour) ซึ่งเป็นผลมาจากการศึกษา (Education) ฝึกอบรม (Training) การขัดเกลาทางสังคม (Socialization) และประสบการณ์ (Experience) การเรียนรู้จะก่อให้เกิดการปรับตัว การยอมรับ การมีแนวทาง การปฏิบัติตามให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆ อย่างไรก็ดีการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลจะมีความแตกต่างกันทั้งในแง่ของเวลาและขอบเขต  บางคนเรียนรู้ได้เร็ว  บางคนเรียนรู้ได้ช้า  บางคนเรียนรู้ได้ครบถ้วน  บางคนเรียนรู้ได้เฉพาะส่วน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบุคคล  ได้แก่
1)  ความปรารถนาและแรงจูงใจ
2)  คุณภาพ และวิธีการสอนหรือการเรียนรู้
3)  สภาพบังคับที่จะเรียนรู้ทั้งที่เกิดจากตัวเขาเองที่ต้องการศึกษา ต้องการเพิ่มทักษะ หรือคุณภาพงาน หรือเกิดจากการบังคับของผู้อื่นหรือองค์กรที่ต้องการให้เขามีความรู้หรือทักษะหรือคุณภาพงานตามที่ต้องการ
4)  เกิดจากแรงเสริมของตนเองที่ต้องการพัฒนาในการสร้างโอกาสในหน้าที่การงานของตนเอง
5)  ทัศนคติของแต่ละคนที่ต้องการเรียนรู้ในสิ่งใหม่ต้องการเพิ่มพูนความรู้และทักษะของตนเอง

แนวคิดการพัฒนาชนบท



แนวคิดการพัฒนาชนบท

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พ.ศ. 2538) ได้ให้คำอธิบายเรื่องการพัฒนาชนบทไว้ดังนี้
การพัฒนา  มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Development แปลว่า การเปลี่ยนแปลงที่ละเล็กละน้อย โดยผ่านลำดับขั้นตอนต่างๆ ไปสู่ระดับที่สามารถขยายตัวขึ้น เติบโตขึ้น มีการปรับปรุงให้ดีขึ้นและเหมาะสมกว่าเดิมหรืออาจก้าวหน้าไปถึงขั้นที่อุดมสมบูรณ์เป็นที่น่าพอใจ (ปกรณ์ ปรียากร, 2538) ส่วนความหมายจากรูปศัพท์ในภาษาไทยนั้น หมายถึง การทำความเจริญ การเปลี่ยนแปลงในทางที่เจริญขึ้น การคลี่คลายไปในทางที่ดี ถ้าเป็นกริยาใช้คำว่า พัฒนา หมายความว่า ทำให้เจริญ คือ ทำให้เติบโตได้ งอกงาม ทำให้งอกงามและมากขึ้น เช่น เจริญทางไมตรี 

ความหมายของคำว่า การพัฒนา นั้น ที่นักวิชาการได้ให้ความหมายไว้ดังจะได้นำมากล่าวเป็นตัวอย่างต่อไปคือ
สนธยา พลศรี (2547) การพัฒนา โดยความหมายจากรูปศัพท์จึงหมายถึง การเปลี่ยนแปลงสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เกิดความเจริญเติบโตงอกงามและดีขึ้นจนเป็นที่พึงพอใจ ความหมายดังกล่าวนี้ เป็นที่มาของความหมายในภาษาไทยและเป็นแนวทางในการกำหนดความหมายอื่นๆ
ส่วน วิทยากร เชียงกูล (2527) ได้แสดงความเห็นถึง การพัฒนาว่าการพัฒนาที่แท้จริงควรหมายถึง การทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนมีความสุข ความสะดวกสบาย ความอยู่ดีกินดี ความเจริญงอกงามทางศิลปวัฒนธรรมและจิตใจ และความสงบสันติ ซึ่งนอกจากจะขึ้นอยู่กับการได้รับปัจจัยทางวัตถุ เพื่อสนองความต้องการของร่างกายแล้ว ประชาชนยังต้องพัฒนาทางด้านการศึกษา สิ่งแวดล้อมที่ดี การพักผ่อนหย่อนใจและการพัฒนาทางวัฒนธรรมและจิตใจด้านต่างๆ ด้วยความต้องการทั้งหมดนี้เรียกว่า เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อให้เห็นว่า การพัฒนาไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเพิ่มปริมาณสินค้า หรือการเพิ่มรายได้เท่านั้น แต่อยู่ที่การเพิ่มความพอใจ และความสุขของประชาชนมากกว่า 

แนวคิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาในชุมชน



แนวคิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาในชุมชน

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

ที่มาของแนวคิดกระบวนการมีส่วนร่วม
การครอบงำการมีอิทธิพลทางอำนาจของกลุ่มคนในประเทศที่เรียกว่าประชาธิปไตย ต่อผู้คนใน ประเทศที่กำลังพัฒนาหลังจากการสิ้นสุดลงของสงครามโลกครั้งที่ 2 การมีส่วนร่วมได้ถูกริเริ่มและถ่ายทอดในกระบวนการพัฒนาอย่างมีแผนโดยถูกแทรกอยู่ในนโยบายความช่วยเหลือทางการพัฒนาของประเทศตะวันตกและในการวางแผนการพัฒนาของกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาในช่วงทศวรรษแห่งการพัฒนา (1950-1960) แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมถูกใช้เป็นการปฏิบัติการในกระบวนการพัฒนาชุมชนโดยเน้นให้คนในชุมชนท้องถิ่นเข้ามาร่วมในกระบวนการพัฒนาเพื่อปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของตัว

การมีส่วนร่วม  ถูกใช้สร้างเป็นแนวคิดและเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะ (Skill) และสนับสนุนเชิงกระตุ้นให้คนในท้องถิ่นได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนา รวมทั้งสร้างความรับผิดชอบในการสนับสนุนต่อการร่วมปฏิบัติในงานโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ การพัฒนาชุมชนในระยะปี1960 ยังเป็นการวางฐานองค์กรชุมชนโดยมุ่งเน้นให้องค์กรเป็นผู้สนับสนุนให้คนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมขององค์กร และมุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการบริหารตลอดจนความรู้ความเข้าใจการมีส่วนร่วมและความสามัคคีพร้อมใจในหมู่สมาชิกของชุมชนแนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นแนวคิดพื้นฐานของการพัฒนาชุมชน คือการที่ประชาชนมีอำนาจในการตัดสินใจ(Empowerment) ในการพัฒนา โดยแสดงศักยภาพที่ตนมีอยู่ ในการตัดสินใจในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาด้านต่างๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน

แนวคิดเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น



แนวคิดเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

การปกครองท้องถิ่นมีความสัมพันธ์อย่างมากกับแนวคิดการกระจายอำนาจโดยการกระจายอำนาจมีความหมายและหลักการ ดังนี้
ประทาน  คงฤทธิศึกษากร (2526) และอุทัย  หิรัญโต (2523) ให้ความหมายว่า การกระจายอำนาจการปกครอง (Decentralization) หมายถึง การที่รัฐบาลยินยอมมอบอำนาจการปกครองและการบริหารในกิจการต่างๆ ให้ประชาชนในแต่ละท้องถิ่นดำเนินการปกครองตนเอง (Local Self Government) โดยประชาชนในท้องถิ่นจะเลือกผู้แทนของตนเข้าไปทำหน้าที่ดังกล่าวยังผลให้ประชาชนในท้องถิ่นมีอำนาจทางการเมืองและการบริหาร สามารถกำหนดนโยบายการบริหารงานให้เป็นไปตามความต้องการและความจำเป็นของท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงมีฐานะเป็นตัวแทนประชาชน (Representative Bodies)  สอดคล้องกับแนวคิดของนักวิชาการอีกหลายท่าน เช่น ประหยัด  หงษ์ทองคำ (2526)  กล่าวว่า หลักการกระจายอำนาจการปกครองคือ การที่รัฐได้มอบอำนาจบางอย่างให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่นจัดทำบริการสาธารณะต่างๆ เพื่อบริการประชาชน  โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีอำนาจอิสระ (Autonomy) ในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเพียงพอ ธเนศวร์  เจริญเมือง (2550) อธิบายว่า การกระจายอำนาจเป็นคำที่มีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่า  รวมศูนย์อำนาจ  การกระจายอำนาจเป็นระบบการบริหารการปกครองโดยรัฐบาลกลางกระจายอำนาจบางส่วนให้หน่วยการปกครองท้องถิ่นให้มีอำนาจดำเนินกิจกรรมภายในอาณาเขตของตนโดยปราศจากการแทรกแซง ชูวงศ์  ฉายะบุตร (2539) กล่าวว่า  การกระจายอำนาจ  คือ การที่รัฐมอบอำนาจหน้าที่ในการบริหารหรือกิจการบางอย่างของตนให้องค์การปกครองหรือสถาบันของรัฐหรือประชาชนไปกระทำหรือดำเนินการโดยอยู่ในการควบคุมดูแลของรัฐบาลกลางตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ และสมคิด  เลิศไพฑูรย์ (2550)  กล่าวว่า หลักการกระจายอำนาจเป็นวิธีการที่รัฐมอบอำนาจปกครองบางส่วนให้องค์การอื่นนอกจากองค์การราชการบริหารส่วนกลางจัดทำบริการสาธารณะบางอย่างโดยมีความเป็นอิสระตามสมควร ไม่ต้องขึ้นอยู่ในบังคับบัญชาของราชการบริหารส่วนกลาง เพียงแต่อยู่ในความควบคุมเท่านั้น 

เศรษฐกิจพอเพียงในกระแสโลกาภิวัตน์



เศรษฐกิจพอเพียงในกระแสโลกาภิวัตน์

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

พลวัตการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มอันเกิดจากกระแสโลกาภิวัตน์ได้เปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ด้านการค้า, การลงทุนและการผลิตของโลกไปในแนวทางใหม่ที่ ทุน คน เทคโนโลยี สินค้าและบริการ สามารถเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนกันได้อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน กระแสโลกาภิวัตน์ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในบริบทสำคัญๆ ทั้งในระดับมหภาคและระดับจุลภาค เราจะเตรียมตัวอย่างไรกับภูมิทัศน์ใหม่ของการแข่งขันในเวทีโลกนี้ (สุวิทย์ เมษินทรีย์, 2549)

โครงสร้างความสัมพันธ์ กรอบความคิดและวัฒนธรรมการทำงานแบบใหม่ของการแข่งขัน ก่อให้เกิดโอกาส พร้อมๆ กับความเสี่ยงภัย เราจะรับมือกับประเด็นและความท้าทายเหล่านี้ได้มากน้อยแค่ไหน ย่อมขึ้นอยู่กับความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างความสัมพันธ์ดังกล่าว พร้อมๆ กับการประเมินความพร้อมและภูมิคุ้มกันของแต่ละภาคส่วนว่ามีอยู่มากน้อยเพียงใด จากอดีตถึงปัจจุบันมีการทะยานขึ้นมาและดับลงของมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอยู่ตลอดเวลา แต่ละประเทศจึงจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและความผันผวนที่เกิดขึ้น กรณีศึกษาเชิงลึกของเกาหลีใต้ ประเทศที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นพร้อมกับไทย ในขณะที่เกาหลีก้าวทะยานไปแล้ว ประเทศไทยยังขับเคลื่อนไปในอัตราค่อนข้างเฉื่อย ภายใต้ภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนไปในเวทีโลก การสร้างความมั่งคั่งของชาติมีได้หลายมิติ อาทิ มิติของอุตสาหกรรมและธุรกิจ จะทำอย่างไรให้ธุรกิจและอุตสาหกรรมในประเทศมีการเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ในมิติของวัฒนธรรมจะใช้วัฒนธรรมเป็นรากในการสร้างความมั่งคั่งของชาติได้อย่างไร หรือในมิติของภูมิศาสตร์จะทำให้ประเทศไทยมีจุดเด่นเป็นศูนย์กลางของภมิภาคได้อย่างไร ธุรกิจไทยสามารถพัฒนาเพื่อไต่ข้ามบันไดการสร้างมูลค่าจากรูปแบบธุรกิจที่ ทำมากได้น้อยได้หรือไม่

การพัฒนาทุนมนุษย์



การพัฒนาทุนมนุษย์

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

ภารกิจและหน้าที่ของการจัดการทุนมนุษย์ ในอนาคตที่ Hr Professionals จะต้องสนใจและเตรียมตัวไว้ อาจสรุปได้ 9 มิติดังต่อไปนี้ (ธงชัย สันติวงษ์, 2548)
1.  หน้าที่หลักของการบริหารปัจจัยด้านคน ยังคงเหมือนเดิม คือ ต้องจัดการสิ่งต่างๆ ที่จำเป็นเกี่ยวกับคน ทั้งการสรรหาคน จูงใจ รักษาคน แต่ที่ต้องดูเพิ่มมากขึ้นคือต้องพิถีพิถันเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงดูพนักงานให้อยู่ได้ รวมทั้งมุ่งเน้นพัฒนาความรู้ให้กับพนักงานมากขึ้นด้วยเหตุผลของการพัฒนาธุรกิจที่ก้าวข้ามประเทศทำให้ระดับการครองชีพและความเป็นอยู่ถูกกระทบสูง โดยเฉพาะ ความมั่นคงในการทำงานอันเนื่องจากการขาดความรู้ซึ่งกลายเป็นปัญหาของพนักงานโดยตรง
2. ต้องมีการพัฒนาความรู้ให้กับนักบริหารและผู้ทำงานด้านทุนมนุษย์ (Hr Professionals) ให้มีการเรียนรู้ต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถเติบโตในสายงาน หรือเติบโตได้ในส่วนอื่นๆ ขององค์การ
3.  นอกจากต้องเก่งและมีความรู้ด้าน Hr อย่างดีแล้ว นักบริหารทุนมนุษย์จะต้องขยายการเรียนรู้ไปสู่แขนงอื่นๆ เพื่อให้สามารถรับบทบาทหน้าที่ใหม่ๆ ให้ครอบคลุมกว้างขวางทั้งองค์การ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงได้ขยายไปกว้างทั่วองค์การ และในทุกจุดต่างมีปัจจัยเรื่อง คน เข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ
4. นักบริหารทุนมนุษย์ ต้องติดตามสังเกตลงมือริเริ่ม และปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การ (Corporate Culture) เพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขการทำธุรกิจที่เปลี่ยนไปเพราะ บุคลิกภาพขององค์การ ที่มีอิทธิพลในการชักจูงคนให้เข้ามาทำงาน ทั้งยังหล่อหลอมความคิด และการกระทำของพนักงาน เนื่องจาก วัฒนธรรม เป็นเครื่องสะท้อนถึง ภาพลักษณ์ และ จุดเด่นขององค์การ การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การจึงเป็นบทบาทหน้าที่ของ Hr Professionals โดยตรง
5.  การจัดการทุนมนุษย์ ต้องรับบทบาทในการสร้าง ความสามารถ (Capabilities) ให้เกิดขึ้นในองค์การ เพื่อใช้แทน โครงสร้าง (Structure) ด้วยความจริงที่ว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากอิทธิพลด้านไอทีทำให้โครงสร้างองค์การยืดหยุ่น และพึ่งพามากขึ้นในเรื่องคนกับระบบการทำงานบนไอที ดังนั้นการสร้างความสามารถที่มีความเป็นศูนย์กลางจึงมีความสำคัญมากขึ้น Hr Professionals ที่มีทักษะความรู้เรื่องคนเป็นทุนเดิม จึงควรเป็นเจ้าภาพในการพัฒนา ความสามารถ ขององค์การผ่านความสามารถของ คน

จริยธรรมตามแนวคิดตะวันตก



จริยธรรมตามแนวคิดตะวันตก

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

วิวัฒนาการด้านจริยธรรมของตะวันตกมีพื้นฐานความเป็นมา และกระบวนการต่อเนื่อง คำว่า จริยธรรมมิได้เกิดขึ้นลอย ๆ แต่มีจุดกำเนิดจากปรัชญาพื้นฐานของมนุษย์ในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งการทำความเข้าใจในวิวัฒนาการด้านจริยธรรมตะวันตกจะทำให้เห็นคุณค่าที่แท้จริงของจริยธรรม ทั้งนี้ แนวคิดเกี่ยวกับจริยธรรมของนักการเมืองที่สำคัญของตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดในช่วงต่อมา ได้แก่ โสเกรตีส เพลโต อริสโตเติล ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ 

โสเกรตีส ได้สร้างหลักการสำคัญเกี่ยวกับคุณธรรม หรือจริยธรรม คือ ความรู้ คุณธรรม เป็นสิ่งที่อาจแสวงหาค้นพบได้ และคุณธรรมเป็นสิ่งที่อาจสอนและเรียนรู้ได้ คุณธรรมทางสังคมที่สูงสุด คือ ความยุติธรรม ดังนั้น เป้าหมายสูงสุดของชีวิตการเมือง คือ คุณธรรม และรัฐที่ดีที่สุด คือ รัฐที่มีการปกครองแบบอภิชนาธิปไตย (Aristocracy) หรือรัฐผสม (Mixed Regime) โสเกรตีส เชื่อว่า เมื่อราชากลายเป็นปรัชญาเมธี หรือเมื่อปรัชญาเมธีกลายเป็นราชาเท่านั้น รัฐที่ดีที่สุดจึงจะเกิดขึ้นได้ 

จริยธรรมตามแนวคิดตะวันออก



จริยธรรมตามแนวคิดตะวันออก

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

ในการศึกษาปรัชญาแนวคิดจริยธรรมตะวันออกนั้น จะกล่าวถึงปรัชญาของจีนซึ่งมีแนวคิดเน้นที่การปฏิบัติ มีลักษณะเป็น Ethical Philosophy ที่เน้นด้านความคิด (Wisdom) การมี มโนธรรม และการปฏิบัติ เพราะฉะนั้นปรัชญาจีนจะเป็นปรัชญาของการปฏิบัติจริงๆ ในสังคม และในชีวิตประจำวัน โดยไม่ได้กล่าวถึงชีวิตหลังความตาย ซึ่งแตกต่างจากปรัชญาของอินเดียที่ไม่แยกขาดจากศาสนา ปรัชญาอินเดียทุกระบบจะรวมอยู่กับศาสนา เพราะฉะนั้นนอกจากจะเน้นที่ปรัชญา เน้นที่มโนธรรมแล้ว ยังมีเรื่องศรัทธา (Faith) กับความเชื่อ (Believe) ด้วย ซึ่งทำให้มีข้อผูกมัด (Commitment) กับหลักศีลธรรมหรือหลักจริยธรรม จึงออกมาเป็นการปฏิบัติได้พุทธศาสนาเป็นปรัชญาอินเดีย เพราะฉะนั้นจริยธรรมในพุทธศาสนาจึงมีลักษณะของปรัชญาอินเดีย มีศรัทธา ความเชื่อ และการปฏิบัติ เข้ามาเกี่ยวข้อง 

ทั้งนี้ แนวคิดพื้นฐานทางด้านปรัชญาตะวันนออกว่าด้วยจริยธรรมของนักการเมืองที่สำคัญ ได้แก่ ปรัชญาเต๋า ปรัชญาขงจื้อ ปรัชญาโม่จื้อ แนวคิดของเม้งจื๊อ แนวคิดของซุนจื๊อ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
ปรัชญาเต๋า ถือเป็นกระบวนความคิดทางธรรมและทางปรัชญาที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของชาวจีนมากที่สุด ซึ่งประกอบด้วย 2 แนวทาง คือ ลัทธิธรรมของขงจื้อ และปรัชญาเต๋าของเหลาจื๊อ ซึ่งทั้งสองแนวคิดนี้เป็นรากฐานสำคัญที่หล่อหลอมอารายธรรมจีนให้มีลักษณะเด่นชัดและเป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริง 

ทฤษฎีการกระจายอำนาจการปกครอง



ทฤษฎีการกระจายอำนาจการปกครอง

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

ในเรื่องแนวคิดเกี่ยวกับการกระจายอำนาจกับการปกครองท้องถิ่นนั้น เกิดจากการจัดโครงสร้างในการบริหารงานของรัฐสมัยใหม่ที่รัฐให้บริการสาธารณะเพียงลำพังย่อม ไม่เป็นการเพียงพอ (เอกดนัย บุญนำ, 2546) ดังนั้น แนวคิดการกระจายอำนาจจึงถูกคาดหวังว่าจะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ในท้องถิ่นได้ ทั้งเป็นการสนับสนุนการปกครองแบบประชาธิปไตย ตามสภาพภายในของแต่ละประเทศ และเป็นการปรับเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างคนชนบท กับผู้บริหารที่ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย

ชำนาญ  ยุวบูรณ์ (2503) อธิบายว่าการกระจายอำนาจ แบ่งได้เป็น 2 แนวทาง คือ แนวทฤษฎีดั้งเดิม และแนวทฤษฎีใหม่ ได้แก่
1) ทฤษฎีดั้งเดิม ได้ให้ความหมาย 2 ลักษณะ ได้แก่ การกระจายอำนาจตามอาณาเขต และการกระจายอำนาจตามกิจการ
2) ทฤษฎีสมัยใหม่ การกระจายอำนาจ แนวทฤษฎีนี้ ไม่เห็นด้วยที่จะแยกความหมายของการกระจายอำนาจ ออกเป็นการกระจายอำนาจตามอาณาเขต และการกระจายอำนาจตามกิจการ

ทฤษฎีการจัดการทุนมนุษย์



ทฤษฎีการจัดการทุนมนุษย์

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

การจัดการทุนมนุษย์ (Hrm: Human Resource Management) จำเป็นอย่างยิ่งที่องค์การต้องทำการพัฒนาฝึกอบรมบุคลากร เพื่อจะให้ได้เป้าหมายเดียวกัน เพื่อทำประโยชน์ให้แก่สังคม และประเทศชาติการพัฒนาทุนมนุษย์ มีวิธีการและหลักสูตรมากมายหลายหลักสูตร โดยเฉพาะการเล่นเกมเพื่อพัฒนาบุคลากร ให้รู้จักการทำงานเป็นทีม ให้รู้จักการสร้างทีม แต่ทั้งนี้จำเป็นที่จะต้องพัฒนาตนเอง (Self Development) ให้พร้อมเสียก่อน เมื่อตนเองพร้อมแล้วทุกอย่างก็จะเป็นไปได้ดี โดยเฉพาะทีมหรือกลุ่ม

ความหมายของการจัดการทุนมนุษย์
สำหรับความหมายของการจัดการทุนมนุษย์ มีผู้ให้ความหมายไว้ดังนี้
มอนดี และโน (Mondy & Noe, 1996) ให้ความหมายว่า การจัดการทุนมนุษย์ เป็นการใช้ทุนมนุษย์เพื่อให้องค์การบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ส่วน William Werther & Kiath David (1985) กล่าวว่าความหมายทางด้านทุนมนุษย์ (Human Resource) คือการจัดการบุคลากรในองค์การ โดยให้ความสำคัญในศักดิ์ศรี ความเป็นคน และต้องทำให้บุคคลเหล่านั้นได้รับผลประโยชน์อย่างเหมาะสม ในขณะที่ คลาร์ค (Clark, 1992) มีแนวคิดของการจัดการทุนมนุษย์ว่า เป็นการจัดการความสัมพันธ์ของคนงานและผู้บริหาร โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้องค์การบรรลุจุดมุ่งหมาย ซึ่งจากความหมายดังกล่าวมีประเด็นที่สำคัญ 3 ประการ คือ (1) การจัดการทุนมนุษย์ให้ความสำคัญกับการจัดการความสัมพันธ์ ที่ไม่ใช่เป็นการจัดการบุคคล (2) การจัดการทุนมนุษย์มุ่งเน้นที่เป้าประสงค์ขององค์การ เมื่อวัตถุประสงค์ขององค์การเปลี่ยนแปลงไป การจัดการความสัมพันธ์ดังกล่าวก็จะเปลี่ยนด้วย และ (3) วัตถุประสงค์หลักของการจัดการทุนมนุษย์ควรมุ่งที่องค์การ ส่วนสมาชิกขององค์การแต่ละคนจะเป็นวัตถุประสงค์รอง นักวิชาการไทยหลายท่านได้ให้ แนวคิดการจัดการทุนมนุษย์แตกต่างกัน เป็นต้นว่า 

ทฤษฎีการปกครอง



ทฤษฎีการปกครอง

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

ประหยัด หงส์ทองคำ (2529) ได้กล่าวถึงลักษณะสำคัญของการปกครองท้องถิ่นว่ามี 6 ประการ คือ 1) มีพื้นที่เขตการปกครองที่แน่นอนชัดเจน 2) มีองค์กรที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล 3) มีสภาฝ่ายนิติบัญญัติ และมีผู้บริหารซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดยตรง 4) มีอำนาจอิสระในการปกครองหรือการบริหาร 5) มีทรัพย์สิน งบประมาณ และรายได้ของตนเอง 6) มีเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่นแต่ละแห่งปฏิบัติงานเป็นของตนเอง และประหยัด หงส์ทองคำ (2529) ยังได้สรุปหลักการปกครองท้องถิ่นว่าเป็นการปกครองของชุมชนซึ่งชุมชนเหล่านั้นอาจมีลักษณะแตกต่างกันในด้านต่างๆ ต้องมีอำนาจอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ตามความเหมาะสมและมีสิทธิตามกฎหมายที่จะดำเนินการปกครองตนเอง ซึ่งแบ่งได้ 3 ประการ คือ 1) องค์กรปกครองท้องถิ่นมีสิทธิที่จะตรากฎหมาย 2) องค์กรปกครองท้องถิ่น มีสิทธิในการกำหนดงบประมาณของตนเอง 3) มีองค์กรที่จำเป็นในการปกครองตนเอง และประชาชนในท้องถิ่นยังต้องมีส่วนร่วม ในการปกครองตนเอง โดยการเลือกตั้งโดยทางตรงและอ้อม 

ทฤษฎีการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์



ทฤษฎีการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

1. ทฤษฎีการปฏิบัติหน้าที่ (Functional Approach Theory)
ทฤษฎีนี้ได้รับอิทธิพลจากนักจิตวิเคราะห์ชื่อ Otto Rank ซึ่งเน้นการทำงานให้บริการของหน่วยงาน (Agency) มากกว่าที่จะกล่าวถึงการบำบัดรักษาผู้รับบริการตามสภาพจิตใจสังคม (Psychosocial Treatment) เหมือนอีกหลายๆ ทฤษฎีที่มีเรื่องเหล่านี้ผสมผสานอยู่
ทฤษฎี Functionl Approach นี้ เป็นแนวคิดของ Ruth Smalley (ค.ศ. 1930) ทฤษฎีนี้เน้นที่กระบวนการช่วยเหลือผู้รับบริการตามสถานการณ์ที่เห็นสมควร (Helping Process) โดยพยายามหาเครื่องมือในการให้บริการช่วยเหลือไว้ให้พร้อม ในขั้นแรกควรจะเป็นเครื่องมือภายในหน่วยงานที่นักสังคมสงเคราะห์ทำงานอยู่ด้วย ดูว่าบริการทางสังคมของหน่วยงานต่อระบบผู้รับบริการสมดุลกันหรือไม่ สามารถช่วยแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองความต้องการได้อย่างไรหรือเพียงใด นักสังคมสงเคราะห์จะต้องให้โอกาสแก่ผู้รับบริการหรือกลุ่มเป้าหมายได้เกิดความคิดตัดสินใจเลือกใช้บริการที่หน่วยงานในชุมชนนั้นมีให้อยู่แล้ว นักสังคมสงเคราะห์จะให้ความสำคัญกับบทบาทการจัดบริการให้แก่ฝ่ายผู้รับบริการในลักษณะวิธีการต่างๆ ทางสังคมสงเคราะห์ และทำให้ผู้รับบริการรับรู้บทบาทของตนในการแก้ไขป้องกันปัญหา รู้จักใช้ทรัพยากรในหน่วยงานในสถาบันครอบครัว ในชุมชน ให้เกิดประโยชน์ นอกจากนั้นนักสังคมสงเคราะห์ยังสามารถเชื่อมโยงปัญหากับบริการทางสังคมได้อย่างถูกต้อง สามารถสร้างกระบวนการให้บริการทุกขั้นตอน โดยเน้นความมีสัมพันธภาพของระบบต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรู้จักพึ่งพิงการประสานงานกับบุคลากรต่างวิชาชีพทั้งในหน่วยงานเดียวกันและต่างหน่วยงานให้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานของหน่วยงานที่นักสังคมสงเคราะห์ผู้นั้นทำงานอยู่ด้วยอย่างมีประสิทธิภาพ

ทฤษฎีการแผ่กระจาย (Diffusion Theory)



ทฤษฎีการแผ่กระจาย (Diffusion Theory)

เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

แนวความคิดการแผ่กระจายนี้ โฮสท์ บุชเชอร์ (Horst Buscher) ได้อธิบายไว้โดยกำหนดเป็นข้อสันนิษฐานว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงจะดำเนินไปได้โดยการถ่ายเทปัจจัยการผลิตที่หายาก เช่น ทุนการริเริ่มเปลี่ยนแปลงทางเทคนิคใหม่ และความรู้ในการทำงาน (Know-How) เป็นต้น จากประเทศอุตสาหกรรมไปยังประเทศกำลังพัฒนาและความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นในภาคทันสมัยจะแผ่กระจายไปทั่วประเทศ กล่าวคือ มีสินค้าอุปโภคบริโภค เทคนิค และแนวนิยมทางพฤติกรรมและสถาบันอย่างทั่วถึง
โรนัลด์ เอช ชิลโคท (Ronald H. Chilcote) กล่าวว่า การบรรลุผลสำเร็จของลัทธิทุนนิยมที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปนั้น ถือว่าเป็นผลของทฤษฎีการแผ่กระจายความพัฒนาทั้งสิ้น

แฮรี จี จอห์นสัน (Harry G. Johnson) ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฎีการแผ่กระจายการพัฒนาไว้ว่า กระบวนการพัฒนาการอุตสาหกรรมมีลักษณะสำคัญประการแรก คือ เมื่อมีการอุตสาหกรรมเกิดขึ้น
ณ ประเทศใดหรือพื้นที่แห่งไหนย่อมมีแนวโน้มที่จะทำให้การอุตสาหกรรมมีมากยิ่งขึ้น มีรายได้สูงขึ้น มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีการแบ่งงานกันทำ และมีระบบเศรษฐกิจที่แสวงประโยชน์อันนำไปสู่การดึงเงินทุนและแรงงานเข้าไปยังตลาด ทำให้เกิดปัจจัยการผลิตและวงจรความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอันเป็นลักษณะสำคัญของระบบการอุตสาหกรรมและทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ระหว่างพื้นที่ๆ พัฒนาหรือเรียกว่า ศูนย์กลาง (
Center) กับพื้นที่ห่างไกลออกไปหรือเรียกว่า พื้นที่ขอบนอก (Periphery) สำคัญกว่าความไม่เท่าเทียมกันดังกล่าว ก็คือ วงจรของความเป็นเหตุเป็นผล (Cumulative Circle of Causation) ที่เสริมสร้างแรงดันทางเศรษฐกิจหลายๆ ประการ และทำให้กระบวนการพัฒนาแผ่กระจายไปสู่พื้นที่ขอบนอก โดยระบบเศรษฐกิจของศูนย์กลางต้องการทรัพยากรธรรมชาติ วัตถุดิบ ทรัพยากรแร่ ทรัพยากรที่หายาก อาหาร และราคาของสิ่งต่างๆ มีแนวโน้มสูงขึ้น จึงต้องแสวงหาของราคาถูกกว่าในพื้นที่ขอบนอก นอกจากนี้ยังมีความต้องการทุนและแรงงานที่มีลักษณะเพื่อจะทำให้พื้นที่ขอบนอกเป็นแหล่งผลิตต่อไป คนที่อยู่ในพื้นที่ขอบนอกจึงคุ้นเคยกับความรู้เฉพาะด้าน การแบ่งงานกันทำ มีรายได้สูงขึ้น มีการสั่งสินค้ามากขึ้น และการมีรายได้สูงขึ้นทำให้สามารถผลิตสินค้าได้และส่งออกขายกับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งอยู่ในพื้นที่ขอบนอกด้วยกันและส่งขายให้ประเทศศูนย์กลางด้วย