แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร งามละม่อม
Wachirawachr Ngamlamom
สังคมไทยก็เหมือนกับสังคมมนุษย์ทั้งหลายในโลกที่ไม่หยุดอยู่นิ่งๆ
หากมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสังคมอื่นๆ
ในระดับเดียวกันแล้ว
ก็อาจกล่าวได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนคนส่วนใหญ่ในสังคมปรับตัว
เองไม่ทัน จนเกิดปัญหาทางวัฒนธรรมที่ต้องมีการแก้ไขกันตลอดมา
ทั้งนี้ก็เพราะแต่เดิมสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมประชาชน ส่วนใหญ่อยู่ในชนบทที่มีการทำนาและการเพาะปลูกเป็นอาชีพหลัก
การผลิตแต่เดิมก็เป็นแต่เพียงให้พอมีพอกิน
ไม่ได้ผลิตอย่างใหญ่โตเพื่อส่งออกไปค้าขายกับต่างประเทศ
จึงไม่มีความจำเป็นในการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีแต่อย่างใด
แต่ในปัจจุบันสังคมเปลี่ยนมาเป็นสังคมอุตสาหกรรมที่มุ่งหวังผลิตสิ่งต่างๆ
เพื่อส่งออกไปขายนอกประเทศ การผลิตผลิตผลทางการเกษตร
ซึ่งแต่เดิมผลิตเพื่อเลี้ยงตัวเองด้วยเทคโนโลยีง่ายๆ แบบดั้งเดิม
ก็เปลี่ยนมาเป็นการผลิตเป็นจำนวนมากโดยอาศัยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทันสมัย
เข้ามาช่วย มีการลงทุนและการใช้ที่ดินอย่างกว้างขวาง
โดยเฉพาะการใช้ที่ดินก็มีการขยายเขตการเพาะปลูกพืชพันธุ์นานาชนิดไปตาม บริเวณต่างๆ
โดยเฉพาะที่ดอนและที่ตามป่าเขา
ก่อให้เกิดการรุกล้ำป่าสงวนและการทำลายสภาพแวดล้อมอย่างกว้างขวางการผลิตแบบ
ที่เป็นแบบเกษตรอุตสาหกรรมที่ชาวบ้านธรรมดาทั่วไปซึ่งไม่มีศักยภาพทั้งใน
ด้านเงินทุน กำลังคน และเทคโนโลยีจะทำได้
จึงเป็นเรื่องของบุคคลร่ำรวยที่เป็นนายทุน