แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร
งามละม่อม
Wachirawachr
Ngamlamom
ปรัชญาและอุดมการณ์ในการพัฒนาจะต้องอยู่ในพื้นฐานหลักการที่เรียกว่า
" ความยุติธรรมระหว่างคน 2 ยุค " หรือแนวคิดของ
การพัฒนาที่ยั่งยืน มุมมองของมนุษย์จะต้องปรับเปลี่ยน
ให้เปิดกว้างยอมรับความจริงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ที่จะติดตามมาจาก การกระทำ
ของตน มนุษย์จะต้องประสานแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ และ
จริยศาสตร์ เข้าด้วยกัน เพื่อสร้างเป็นข้อกำหนด ทั่วไปขึ้นโดยเริ่มต้นจากการปูพื้นฐานความรู้ทางด้านนิเวศวิทยา
และระบบนิเวศสร้างความ เข้าใจถึงปฎิสัมพันธ์ในระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกันเอง และปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
ต่อจากนั้นจึงชี้ให้เห็นถึง หลักการ ถ่ายทอดพลังงาน โดยการกินต่อกันเป็นทอดๆ
และวัฏจักรของสสาร ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการทำให้สสาร และพลังงาน
สามารถหมุนเวียน ในระบบนิเวศ ก็จำเป็นจะต้องสร้างให้เกิดเป็นความคิดรวบยอดขึ้น
ในระบบความคิดพร้อมจะนำไปเชื่อมโยงกับ ประสบการณ์ต่างๆ
เพื่อให้การดำเนินการพัฒนาที่ยั่งยืน ประสบผลสำเร็จความหมายของ การพัฒนาที่ยั่งยืน
โดยทั่วไปหมายถึง การพัฒนาเพื่อบรรลุถึงความต้องการของมนุษยชาติในปัจจุบัน (โดยเฉพาะคนยากจน)
ขณะเดียวกันก็ จะต้องไม่เป็นลดทอน หรือเบียดบังโอกาศที่จะบรรลุความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ในรุ่นต่อๆ
ไปด้วย ซึ่งนักนิเวศวิทยามีความเห็นว่า มนุษย์จะต้อง ปรับเปลี่ยนวิธีคิด และวิถีทางแห่งการดำรงชีวิตของตนในปัจจุบันใหม่
อย่างถอนรากถอนโคนเลิกความคิดที่เรียกว่า สภาพจิตแบบ บุกฝ่า พรหมแดน หรือ Frontier
Mentality เสีย ปรับเปลี่ยนวิธีคิดโลกทรรศน์
และค่านิยมจากมองระยะสั้นไปสู่การมองระยะยาว และเน้นที่ ผลประโยชน์ของ โลกธรรมชาติเป็นเกณฑ์
การพัฒนาที่ยั่งยืนจะต้องผสมผสานแนวคิด หรือพยายามให้อยู่ในกรอบ
ความคิดทางเศรษฐศาสตร์ นิเวศวิทยา และสังคมวิทยา เพราะการประสานหลักการทั้งสาม
เข้ากับการปฏิบัติพัฒนา จะช่วยให้ แนวทางการพัฒนาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
หรือมุ่งตรงไปสู่จุดหมายอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างสมบูรณ์ การเขียนแนวคิด
ที่นำไปสู่การพัฒนายั่งยืน ของนิเวศวิทยา แต่ละท่านอาจแตกต่างกันบ้าง ในหัวข้อปลีกย่อยแต่ประเด็นหลักๆ
ในการเขียน ดังที่ Miller G. Tyler ได้แสดงออกมานั้นย้ำให้มนุษย์ทุกคนเห็นว่าการประสานหลักการ
ทางวิทยาศาสตร์ จริยธรรมสิ่งแวดล้อม
และแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติอย่างผสมผสาน
และเป็นรูปธรรมจะทำให้มนุษย์กับ สิ่งแวดล้อมอยู่ควบคู่กันไป โดยสันติสุขสงบและยั่งยืน
ความจำเป็นในการพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืน
1. ในฐานะที่เป็นประเทศที่มีพื้นฐานด้านเกษตรกรรม
ประเทศไทยเคยมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงมาก
ซึ่งมีความเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมกับปัญหาความต้องการพลังงาน
และเป็นสาเหตุของการทำลายสภาพแวดล้อม
ในขณะที่รูปแบบการบริโภคพลังงานของคนไทยในปัจจุบัน ก็นำไปสู่ความไม่ยั่งยืน
จะเห็นได้จากในภาคอีสาน
การเพิ่มขึ้นของความต้องการพลังงานนำมาซึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อม
และความขัดแย้งทางสังคมที่รุนแรง เช่น การต่อต้านโครงการเขื่อนปากมูล
ในจังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจาก ผลกระทบของโครงการทำให้จำนวน
และพันธ์ปลาในแม่น้ำมูลซึ่งทำให้แหล่งอาหารที่สำคัญมากของคนในภาคอีสานใต้ลดต่ำลงอย่างมาก
2. แม้ว่าจะมีการประสบการณ์ที่เป็นปัญหาในหลายด้าน
ภาคอีสานยังคงอยู่ในสถานะที่มีความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบพลังงานและรูปแบบการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน
ซึ่งคำนึงถึงวัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ฟืนพบได้ในหมู่บ้านต่างๆ ทั่วภาคอีสาน
และพลังงานทดแทนอื่นๆ ควรจะได้รับการพิจารณาและศึกษาอย่างจริงจัง
หากสามารถพัฒนาระบบการจัดการให้มีประสิทธิภาพแล้ว
แหล่งพลังงานทดแทนจะเป็นแนวทางสำคัญสำหรับความยั่งยืนในภาคอีสาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น