เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร งามละม่อม
Wachirawachr Ngamlamom
แนวคิดและทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมที่ผ่านมาอยู่บนฐานความคิดของการพัฒนาสังคมกระแสหลัก
ที่ให้ความสำคัญกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Growth-Only Development Approach) โดยรวมศูนย์กลางการพัฒนาไว้ที่ส่วนกลาง
ทิศทางในการพัฒนาส่วนใหญ่จึงถูกกำหนดจากรัฐบาลและเอกชนโดยอาศัยระบบทุนนิยมเป็นหลัก
และจากการที่แนวคิดการพัฒนากระแสหลักให้ความสนใจเพียงการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure
Development) แบบตะวันตก การพัฒนาจึงเป็นกระบวนการสร้างความทันสมัย
(Modernization) ที่มุ่งเน้นในเชิงปริมาณหรือการเติบโตทางวัตถุเพียงด้านเดียว
ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างประเทศโลกตะวันตกจึงเข้ามามีบทบาทอย่างกว้างขวางในการกำหนดรูปแบบและทิศทางในการพัฒนา
และถ่ายทอดแนวคิดดังกล่าวลงสู่ประเทศโลกที่สาม ( The Third World ) ซึ่งนับเป็นการเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาของสังคมโลกเป็นอย่างยิ่ง
และเป็นที่มาของการแพร่กระจายระบบเศรษฐกิจแบบทุนเสรีนิยม
การพัฒนาของประเทศโลกที่สามจึงเป็นไปในรูปแบบของการพึ่งพิง (Dependency
Development) แทบทั้งสิ้น เช่น โครงการช่วยเหลือแบบให้เปล่าต่างๆ
หรือการส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำ อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่า
ผลที่เกิดจากการลอกเลียนแบบของประเทศด้อยพัฒนาเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามกับประเทศต้นแบบ
ผลที่เกิดขึ้นคือเกิดปัญหาต่างๆตามมาอีกมากมาย
ทั้งในแง่การสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ การถูกครอบงำทางความคิด
ความล้มเหลวในการจัดการศึกษา ตลอดจนปัญหาสังคม
ทฤษฏีภาวะทันสมัย (Modernization Theory)
ลักษณะที่สำคัญของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัยประกอบด้วย:
(พัชรินทร์ สิรสุนทร, 2547)
1.
การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตและเทคโนโลยีในการดำรงชีวิตจากแบบเรียบง่ายในสังคมจารีต
ไปสู่การดำรงชีวิตที่อาศัยความรู้และเทคโนโลยีระดับสูง
มีความเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น
2.
เปลี่ยนแปลงระบบการผลิตจากเกษตรกรรมแบบยังชีพ
หรือการทำการเกษตรในที่ดินแปลงเล็กเพื่อบริโภคในครัวเรือน
เป็นการผลิตขนาดใหญ่เพื่อขาย
มีการจ้างแรงงานภายนอกครอบครัวหรือชุมชนแทนการใช้แรงงานในครอบครัว
3.
มีระบบอุตสาหกรรมในโรงงานและการใช้เครื่องจักรกลเพิ่มมากขึ้น โดย สุทิพย์พร
โชติรัตนศักดิ์
4.
วิถีชีวิตของคนเปลี่ยนแปลงจากความสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการเป็นแบบเป็นทางการ
5.
เกิดเมืองเพิ่มขึ้นและมีการขยายตัวของสังคมเมือง
6. มีการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน
เช่น ถนน สาธารณูปโภค โรงเรียน โรงพยาบาล
7.
เกิดชนชั้นกลางและผู้ประกอบการ (Entrepreneur)
เพิ่มขึ้น
8.
มีการเปลี่ยนแปลงระบบความเชื่อของคนจากอำนาจเหนือธรรมชาติ ครอบครัวและชุมชนนิยม
เป็นความคิดเชิงเหตุผล ปัจเจกชนนิยมและวัตถุนิยม
9.
โครงสร้างของครอบครัวเปลี่ยนแปลงจากครอบครัวขยายเป็นครอบครัวเดี่ยว
10.
สถาบันทางสังคมต่างๆมีความสลับซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น
11.
การจัดระเบียบทางสังคมใช้กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เป็นลายลักษณ์อักษรมากขึ้นแทนที่บรรทัดฐานและวิถีประชาที่ใช้กันในสังคมจารีต
แนวคิดทฤษฎีภาวะทันสมัยแบ่งสังคมออกเป็นสองรูปแบบ
กล่าวคือ สังคมประเพณีที่ด้อยพัฒนากับสังคมทันสมัยที่พัฒนาแล้ว
ดังนั้นการพัฒนาจึงเป็นกระบวนการสร้างความทันสมัย (Modernization) เป็นการเปลี่ยนแปลงในลักษณะทางเดียว
และเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ระบบต่างๆ ในสังคมมี
โอกาสได้ปรับตัวไปพร้อมกับการรักษาสมดุลยภาพ (Equilibrium ) และความมั่นคง (Stability)ของสังคมซึ่งรูปจำลองของการพัฒนา (Development Models) ก็คือรูปแบบของสังคมเมืองที่ทันสมัย และพุ่งประเด็นไปที่เป้าหมายแรกของการพัฒนานั่นคือ ความเจริญทางเศรษฐกิจ (Development Equates Economic Growth) โดยใช้ดัชนีชี้วัดที่สำคัญของการพัฒนา (Development Indicators ) นั่นก็คือ รายได้ประชาชาตินั่นเอง สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาแต่ เฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น (Change For The Better ) เท่านั้นจึงจะเรียกว่า การพัฒนา ซึ่งต้องเกิดมาจากการวางแผน และการกำหนดทิศทางการเปลี่ยนที่พึงประสงค์ และต้องสอดคล้องกับค่านิยมของสังคมด้วย การพัฒนาเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัย กระบวนการสร้างความทันสมัย (Modernization Process) โดยมุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นสองระดับ คือระดับสังคมและระดับบุคคล
โอกาสได้ปรับตัวไปพร้อมกับการรักษาสมดุลยภาพ (Equilibrium ) และความมั่นคง (Stability)ของสังคมซึ่งรูปจำลองของการพัฒนา (Development Models) ก็คือรูปแบบของสังคมเมืองที่ทันสมัย และพุ่งประเด็นไปที่เป้าหมายแรกของการพัฒนานั่นคือ ความเจริญทางเศรษฐกิจ (Development Equates Economic Growth) โดยใช้ดัชนีชี้วัดที่สำคัญของการพัฒนา (Development Indicators ) นั่นก็คือ รายได้ประชาชาตินั่นเอง สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาแต่ เฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น (Change For The Better ) เท่านั้นจึงจะเรียกว่า การพัฒนา ซึ่งต้องเกิดมาจากการวางแผน และการกำหนดทิศทางการเปลี่ยนที่พึงประสงค์ และต้องสอดคล้องกับค่านิยมของสังคมด้วย การพัฒนาเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัย กระบวนการสร้างความทันสมัย (Modernization Process) โดยมุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นสองระดับ คือระดับสังคมและระดับบุคคล
การพัฒนาไปสู่ความทันสมัยนั้น
อาจกล่าวได้ว่ามีทั้งข้อดีและข้อเสีย
ประเทศด้อยพัฒนาทั้งหลายที่ได้รับอิทธิพลจากการแผ่ขยายอำนาจของประเทศตะวันตก เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมไปสู่สังคมอุตสาหกรรม
มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างรวดเร็ว เช่นถนน สาธารณูปโภคต่างๆ โรงพยาบาล
และโรงเรียน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ไม่สอดคล้องกับขนบธรรมเนียม
วัฒนธรรม และลักษณะทางกายภาพของท้องถิ่น ปัญหาที่ตามมาคือความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ
การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือยและไม่เห็นคุณค่า การเกิดมลภาวะ
ปัญหาทางเศรษฐกิจและปัญหาสังคมต่างๆ อีกมากมาย
โดยสรุป
กระบวนการสร้างความทันสมัย (Modernization
Process) มีลักษณะดังต่อไปนี้
(ชนิตา รักษ์พลเมือง: 2545 )
(ชนิตา รักษ์พลเมือง: 2545 )
1. Modernization เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงเชิงปฏิรูป
(Revolutionary Process) ของวิวัฒนาการทางสังคม
2. Modernization เป็นกระบวนการที่สลับซับซ้อน
(Complex Process)
3. Modernization เป็นกระบวนการที่เป็นระบบ
(Systemic Process)
4. Modernization เป็นกระบวนการในระดับโลก
(Global Process)
5. Modernization เป็นกระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน
(Lengthy Process)
6. Modernization เป็นกระบวนการที่มีขั้นตอน
(Phased Process)
7. Modernization เป็นกระบวนการสร้างความเป็นเอกพันธ์
(Homogenizing Process)
8. Modernization เป็นกระบวนการที่ไม่ย้อนกลับ
(Irreversible Process)
9. Modernization เป็นกระบวนการก้าวหน้า
(Progressive Process)
เอกสารอ้างอิง
ชนิตา
รักษ์พลเมือง. (2545). แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนา: กระบวนทัศน์ที่เปลี่ยนแปลง.
เอกสารประกอบโครงการพัฒนาผู้นำด้านนโยบายการศึกษาและการพัฒนาของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพ
จัดโดยภาควิชาสารัตถศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดิเรก
ปัทมสิริวัฒน์. (2547). ทุนสังคม
และทุนวัฒนธรรมในระบบเศรษฐกิจและการจัดการยุคใหม่.
รวมบทความจากการประชุมทางวิชาการ ประจำปี 2547 มหาวิทยาลัยนเรศวร.
รวมบทความจากการประชุมทางวิชาการ ประจำปี 2547 มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พัชรินทร์
สิรสุนทร. (2547). แนวคิดและทฤษฎีด้านการพัฒนาสังคม.
เอกสารประกอบการสอนสาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น