ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนของวิถีชีวิตชาวนาไทยอย่างยั่งยืน
เขียนโดย
วชิรวัชร งามละม่อม
Wachirawachr Ngamlamom
บทคัดย่อ
บทความเรื่อง
“ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนของวิถีชีวิตชาวนาไทยอย่างยั่งยืน”
มุ่งศึกษาและตอบคำถามถึง 1) วิถีชีวิตชาวนาไทย 2)
แนวทางในการแก้ไขปัญหาความยากจนของวิถีชีวิตชาวไทยอย่างยั่งยืน 3)
เสนอแนะยุทธศาสตร์ใหม่ในการแก้ไขปัญหาความยากจนของวิถีชีวิตชาวนาไทยอย่างยั่งยืน
การวิเคราะห์พบว่า 1) วิถีชีวิตของชาวนา
เป็นวิถีแบบผสมผสานระหว่างวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมและแบบสมัยใหม่ ชาวนามีหนี้สิน
เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตสูง และละทิ้งภูมิปัญญาดั้งเดิม มีอาชีพเสริมอื่นๆ
น้อยมาก การส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนของภาครัฐขาดความต่อเนื่อง การแก้ปัญหาชาวนาเป็นแบบต่างคนต่างทำ
2) แนวทางในการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน ควรเน้นการสร้างกระบวนการเรียนรู้
เพื่อให้ชาวนาได้เข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ปัญญา
เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
นอกจากนี้ควรเน้นการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ เพื่อให้ชาวนาได้รู้จักการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้และเข้าถึงโอกาสใหม่ๆ
และช่วยจัดหาที่ทำกินให้ควบคู่ไปกับการจัดให้มีการเรียนรู้วิชาชีพ
เน้นการนำที่ดินที่ถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่ามาใช้ประโยชน์ ในการสร้างงาน
สร้างรายได้ให้กับชาวนายากจนควบคู่กับการฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เน้นการรวมกลุ่มชาวนาให้พึ่งพาช่วยเหลือกันในรูปสหกรณ์ และสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน
เพื่อช่วยเหลือด้านการตลาดอันจะสามารถเชื่อมโยงไปสู่การส่งออกสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์แบบท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3) ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนของวิถีชีวิตชาวนาไทยอย่างยั่งยืน
ประกอบด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้ (1)
การส่งเสริมการรวมกลุ่มชาวนา (2) เสริมสร้างศักยภาพชาวนาตามแนวทางการพัฒนาความรู้
ทักษะและการบริหารจัดการที่ดี (3)
พัฒนากลุ่มชาวนาให้สามารถพึ่งตนเองได้เกี่ยวกับปัจจัยการผลิต (4) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อลดการพึ่งพาสารเคมี
บทนำ
ท้องทุ่งนาสีทองอร่ามตาทอดยาวไกลสุดขอบฟ้า
กว่าจะมาเป็นข้าวแต่ละเม็ดให้คุณได้รับประทาน ชาวนาไทยผู้ได้ชื่อว่าเป็น “กระดูกสันหลังของชาติ” ต้องลำบากและเสียหยาดเหงื่อมาสักกี่หยดกว่าจะได้ข้าวแต่ละเม็ดมาให้เราได้รับประทานเพื่อประทังชีวิต
แต่น้อยคนนักที่จะแลเห็นความสำคัญของชาวนาเหล่านี้
ถ้าหากวันหนึ่งไม่มีชาวนาแล้วจะเอาข้าวที่ไหนกิน เราจะอยู่ได้อย่างไร
ฉะนั้นทุกคนจะต้องตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของข้าวแลพื้นแผ่นดินอันงดงามของก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์
“ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศประกอบอาชีพเกษตรกรรม
พื้นนากว่าหกสิบล้านไร่คือแผ่นดินอันล้ำค่าที่บรรพบุรุษของเราใช้เป็นที่ปลูกข้าวหล่อเลี้ยงชีวิตลูกหลานไทยมาจนถึงทุกวันนี้
คนไทยมีความผูกพันกับอาชีพชาวนา ไม่ว่าเวลาจะเลยผ่านมาเนิ่นนานสักเพียงใด
พื้นแผ่นดินไทยก็ยังมีการปลูกข้าวมีการทำนาอยู่เสมอ หลายคนเคยบอกว่า
ชาวนาจะทำนาไปทำไมกัน ทำไปก็ไม่รวยยังคงยากจนเช่นเดิม
แม้ว่าข้าวจะมีราคาสูงขึ้นสักเพียงใด แต่ชาวนาไทยก็ไม่ได้มีชีวิตที่ดีขึ้นเลย
แต่จะมีใครคิดเล่าว่า ถ้าหากพวกเขาไม่ทำนาแล้ว คนส่วนใหญ่จะเอาข้าวที่ไหนกิน
แม้รายได้จากการขายข้าวจะมีเพียงน้อยนิด
แต่คุณค่าของข้าวที่ชาวนาปลูกมันมีค่ามากมายมหาศาล
แต่ถ้าหากไม่มีชาวนาผู้เปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของชาติ
ผู้คอยหล่อเลี้ยงชีวิตของผู้คนหลายร้อยล้านคนบนโลกนี้ ก็ไม่รู้ว่าอนาคตข้างหน้า
จะมีข้าวให้เรากินหรือไม่ มีหลายคนที่ลุกขึ้นมากระตุ้นให้ตระหนักถึงความสำคัญของชาวนา
และได้เขียนเรื่องราวความทุกข์ยากของชาวนาเอาไว้ดังพระราชนิพนธ์ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารีที่ทรงแปลจากบทกวีของชาวจีนที่ว่า “หว่านข้าวในฤดูใบไม้ผลิ
ข้าวเมล็ดหนึ่ง จะกลายเป็นหมื่นเมล็ดในฤดูใบไม้ร่วง รอบข้างไม่มีนาที่ไหนทิ้งว่าง
แต่ชาวนาก็ยังอดตาย ตอนอาทิตย์เที่ยงวัน ชาวนายังพรวนดิน
เหงื่อหยดบนดินภายใต้ต้นข้าว ใครจะรู้บ้างว่าในจานใบนั้น
ข้าวแต่ละเม็ดคือความยากแค้นแสนสาหัส”
ถึงเวลาแล้วที่ต้องหันมากระตุ้นให้ผู้คนเห็นความสำคัญของข้าวและชาวนา
ช่วยทำให้กระดูกสันหลังของชาติมีความแข็งแรง เข้มแข็ง และเชื่อว่าประเทศที่มีข้าวคือประเทศที่ไม่มีวันอดตาย
ประเทศไทยโชคดีมากสักเพียงใดแล้วที่เกิดมาในประเทศที่อุดมสมบูรณ์ “ในน้ำมีปลาในนามีข้าว” แล้วเราจะปล่อยให้พื้นแผ่นดินที่เคยปลูกข้าวหล่อเลี้ยงชีวิตของเรามาตั้งแต่อดีตต้องรกร้างว่างเปล่าได้อย่างไรกัน
ส่งเสริมชาวนาไทยให้มีชีวิตที่ดีขึ้น อย่าให้เมืองไทยเป็นเพียงเมืองที่เคยปลูกข้าว
แต่จงทำให้เมืองไทยเป็นดินแดนสีทองเหลืองอร่ามของข้าวต่อไป
ข้าวและชาวนาไทยมีความสำคัญกับประเทศไม้แพ้กับอาชีพอื่นๆ
เราเองอาจจะเป็นชาวนาหรือไม่เป็นชาวนาก็ตาม แต่ถ้าหากเราแลเห็นและตระหนักถึงความสำคัญของชาวนา
รับรู้ถึงความยากลำบากของการปลูกข้าว
เข้าใจวิถีชีวิตของคนที่ถูกเรียกขานว่ากระดูกสันหลังของชาติ
ข้าวและชาวนาไทยก็จะอยู่คู่สังคมไทยต่อไป
สำหรับสาเหตุปัญหาสำคัญของความยากจนของชาวนาไทยที่ได้กล่าวมาในเบื้องต้นนั้นยังขาดความรู้
และการบริหารจัดการ ปัญหาเรื่องทุนและโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะที่ทำกิน
การพัฒนาดินและน้ำ ซึ่งยังพบว่าไม่เพียงพอ
จึงเป็นสิ่งที่ทำให้การพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนาไทยยังล่าช้า
ปัจจุบันจะพบว่าชาวนาส่วนมากมักยากจน และส่วนใหญ่มักมีหนี้สินมากมายโดยเฉพาะชาวนา ทั้งที่ประเทศไทยนั้นเป็นประเทศเกษตรกรรมและได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีการส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่ง
แต่เหตุใดชาวนาไทยเหล่านี้ยังคงเป็นหนี้เป็นสินอยู่
สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะต้นทุนการผลิตหรือการใช้สารเคมีในนาข้าวทำให้ได้ผลิตไม่ดีเท่าที่ควร แต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าเรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องกับภาครัฐ
เพราะภาครัฐมีหน้าที่ส่งเสริมและให้การดูแลชาวนา นโยบายต่างๆ
ของรัฐในปัจจุบันนี้ไม่เอื้อประโยชน์ต่อชาวนามากเท่าที่ควร
ทำให้อาชีพชาวนานั้นถือเป็นอาชีพสำคัญที่ถูกละเลยปัญหาที่พบกันอยู่เสมอแต่ไม่เคยมีใครคิดจะแก้ไขสักทีนั่นก็คือปัญหาพ่อค้าคนกลาง
ราคาที่พ่อค้าคนกลางได้รับจากชาวนานั้นเป็นราคาที่ต่ำมาก
แต่กลับไปขายต่อได้ในราคาที่สูง
ส่วนต่างจำนวนมากนี้ทำให้กำไรเกือบจะทั้งหมดตกไปอยู่ที่พ่อค้าคนกลาง
ซึ่งเป็นการไม่ยุติธรรมอย่างมาก ทั้งที่ชาวนาต้องลำบากดูแลพืชผล
แต่กลับได้ผลตอบแทนน้อยนิดจนบางครั้งเกือบจะขาดทุนด้วยซ้ำ
แต่พ่อค้าคนกลางซึ่งมีหน้าที่แค่รับซื้อและนำไปขายต่อกลับได้กำไรจำนวนมหาศาล
แม้รัฐบาลมีการประกันราคาข้าว
และการรับจำนำข้าวหลายอย่าง
แต่การประกันราคานั้นก็ไม่ได้ช่วยให้ชาวนามีกำไรมากขึ้น
ดังจะเห็นได้จากชาวนาส่วนใหญ่ที่ยังคงเป็นหนี้สินจนถึงปัจจุบัน แต่พ่อค้าคนกลาง
เจ้าของโรงสี กลับมีกำไรเป็นกอบเป็นกำ
ดังจะเห็นได้จากการส่งออกข้าวของไทยที่มีกำไรนับล้านๆ บาท แต่ชาวนาที่ปลูกข้าวอยู่ในประเทศไทยกลับมีหนี้สินเกือบแสน
ทั้งนี้เนื่องจากราคาที่ประกันนั้นยังคงต่ำอยู่มาก ทำให้พ่อค้าคนกลาง
เจ้าของโรงสี ผู้ประกอบการอื่นๆ นำไปขายในราคาที่แพงกว่าที่รับมามาก ทำให้ได้รับกำไรอย่างมหาศาล
แต่หากราคาข้าวยังคงต่ำอยู่ หรือถูกพ่อค้าคนกลางเอารัดเอาเปรียบอยู่เช่นนี้
ก็หนีไม่พ้นที่ชาวนาจะกลับไปกู้หนี้ยืมสินอีกครั้ง
และรัฐบาลก็คงต้องตามแก้ปัญหาเรื่องหนี้สินอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
เนื่องจากการความต้องการข้าวของภาคธุรกิจโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมการส่งออกในประเทศไทยยังมีความจำเป็นต้องใช้ข้าวเหล่านี้อยู่เป็นจำนวนมาก เพราะสามารถทำรายได้ให้ประเทศอย่างมากมายมหาศาล
จึงเป็นที่มาของความต้องการข้าวจากชาวนา ดังนั้นจากความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาดังกล่าวข้างต้น
ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะศึกษาถึงยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนของวิถีชีวิตชาวนาไทยอย่างยั่งยืน
ซึ่งพบว่ามีจำนวนการผลิตข้าวเป็นจำนวนมาก
คาดหวังว่าจะนำผลการศึกษาไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนของวิถีชีวิตชาวนาไทยอย่างยั่งยืนที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป
แนวคิดพื้นฐานและงานวิจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์
แนวคิดเรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจนของวิถีชีวิตชาวนาไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(2540) ได้ทรงมีพระราชดำรัส เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ
ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ
ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง
โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อ โลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง
หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระดับภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
พอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้
จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ
มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้อง
เสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี
และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์ สุจริต
และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา
และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อ การรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ
สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม
แม้ว่าแนวคิดและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่กล่าวในข้างต้นจะได้รับการพัฒนาเป็นแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสมพร
เทพสิทธา (2546)
กล่าวว่า
การเดินตามรอยพระยุคลบาทเศรษฐกิจพอเพียงช่วยแก้ปัญหาความยากจนได้ดังนี้
1)
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและสร้างคุณค่าที่ดีในสังคมไทยบนพื้นฐานของการอนุรักษ์วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของความเป็นไทย
จึงได้กำหนดสภาพสังคมไทยที่พึงประสงค์ โดยมุ่งพัฒนาสู่ “สังคมที่เข้มแข็งและมีดุลยภาพ” ใน 3 ด้าน คือ (1) สังคมคุณภาพ ที่ยึดหลักความสมดุล
ความพอดี (2) สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ (3) สังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน ในการพัฒนาประเทศจะยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญานำทางให้การพัฒนายึดทางสายกลาง
อยู่บนพื้นฐานของความสมดุล พอดีและความพอประมาณอย่างมีเหตุผล
มีภูมิคุ้มกันและเท่าทันโลก คนไทยส่วนใหญ่มีการศึกษาและรู้จักเรียนรู้ต่อเนื่อง
ครองชีวิตเป็นคนดี มีคุณธรรมและซื่อสัตย์สุจริต
อยู่ในสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ สามารถรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นควบคู่ไปกับการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม
ดำรงไว้ซึ่งคุณธรรมและคุณค่าทางสังคมไทยที่มีความสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน
อันจะเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศอย่างสมดุล มีคุณธรรมและยั่งยืน
2)
การเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ได้พระราชทานพระราชดำริการเกษตรทฤษฎีใหม่
ซึ่งเป็นการจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรที่มีที่ดินจำนวนน้อย (ประมาณ 15 ไร่) โดยการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ในสัดส่วน 30
– 30 –30 –10 ส่วนที่ 1 ร้อยละ 30 ขุดให้เป็นสระกักเก็บน้ำ ส่วนที่ 2 ร้อยละ 30 ให้เป็นพื้นที่ปลูกข้าว ส่วนที่ 3 ร้อยละ 30 ใช้เป็นพื้นที่ทำการเกษตรทางด้านอื่นๆ เช่น ปลูกพืชไร่ ไม้ผล ไม้ผัก
ส่วนที่ 4 ร้อยละ 10
จัดเป็นที่อยู่อาศัยโดยเชื่อว่าการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ
ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้สามารถพึ่งตนเองได้ จะทำให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น
3)
การรวมกลุ่มกันเพื่อช่วยตนเอง สาเหตุประการหนึ่งที่เกษตรกรของเรายากจน
เพราะขาดอำนาจการต่อรอง และขาดการรวมกลุ่มกันเพื่อช่วยตนเอง หากเกษตรกร
ประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนในเมือง จะเดินตามรอยพระยุคลบาทเศรษฐกิจพอเพียง
โดยรวมกลุ่มกันเพื่อช่วยตนเองในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่เหมาะสม เช่น เป็นสหกรณ์
เป็นกลุ่มสัจจะ เป็นกลุ่มส่งเสริมอาชีพกลุ่มแม่บ้าน
ก็เชื่อว่าจะสามารถแก้ปัญหาความยากจนได้
4)
ความขยันหมั่นเพียร สาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้คนไทยยากจน
คือขาดความขยันหมั่นเพียรในการประกอบอาชีพการงาน เป็นประเภทหนักไม่เอา เบาไม่สู้
บางคนก็ท้อแท้ ท้อถอยหมดอาลัยในชีวิต ขาดความวิริยะอุตสาหะ ขาดอิทธิบาท 4 ซึ่งได้แก่ ฉันทะ – รักงาน วิริยะ – สู้งาน จิตตะ – ใส่ใจในงาน และวิมังสา – ทำงานด้วยปัญญา
5)
การมีชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟื้อฟุ่มเฟือย การที่จะป้องกันความฟุ้งเฟื้อก็คือ
เดินตามรอยพระยุคลบาทเศรษฐกิจพอเพียง คือ ให้รู้จักพอ คือ ไม่โลภ พอใจ คือ
ความสันโดษ และพอดี คือ มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง
6)
การไม่มัวเมาหมกมุ่นในอบายมุข ผู้ที่เดินตามรอยพระยุคลบาทเศรษฐกิจพอเพียง
จะต้องเป็นผู้ที่มีสัมมาอาชีพ คือ มีอาชีพที่สุจริตและจะต้องมีความประพฤติชอบ
ไม่ก่อความชั่วให้เป็นเครื่องทำลายตัว ทำลายผู้อื่น
พยายามลดละความชั่วที่ตัวเองมีอยู่ การแก้ไขปัญหาความยากจนวิธีหนึ่ง คือ
การทำสงครามกับ สุรา การเที่ยวดึก เที่ยวบาร์คลับ คบคนชั่ว การพนัน เกียจคร้าน
ผู้ที่เดินตามรอยพระยุคลบาทอย่างแท้จริง จะต้องเป็นผู้ประพฤติดีประพฤติชอบ
เพราะผู้ที่มัวเมาหมกมุ่นในอบายมุขเป็นผู้ที่เดินตามทางแห่งความเสื่อม ความพินาศ
ความฉิบหาย ซึ่งผิดกับหลักธรรมของพระพุทธศาสนาและ
พระบรมราโชวาท
พระบรมราโชวาท
นอกจากนี้แล้วเสรี
พงศ์พิศ (2549) กล่าวได้ถึง สามขั้นของการแก้ปัญหาความยากจน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1) รอด (Survive)
รอดจากความทุกข์ยากอันเนื่องมาจากปัญหาสารพัด โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจ
เป็นวงจรอุบาทว์ที่หาทางออกไม่ได้ โดยเฉพาะหนี้สิน รอด
เป็นฐานคิดที่แตกต่างจากที่เป็นอยู่วันนี้ที่เน้นกันที่ รวย คำสัญญาที่ใคร ๆ
ให้กับชาวบ้านมานานหลายสิบปี โดยเริ่มจากการทำบัญชีรายจ่ายของครัวเรือน
เพื่อจัดการชีวิตให้มีระบบและระเบียบแบบที่ทำให้รอด
ไม่ใช่มุ่งให้รวยด้วยการระเบิดจากข้างใน มาจากการเรียนรู้
ซึ่งถ้าเรียนรู้จริงก็จะมีการเปลี่ยนแปลงจากภายใน ไม่ใช่ยัด 2) พอเพียง (Sufficient)
พอเพียงคืออยู่ดี กินพอดี ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป ไม่โลภมาก
ไม่เบียดเบียนคนอื่น ไม่เบียดเบียนธรรมชาติ
มีคุณธรรมนำการทำมาหากินและการอยู่ร่วมกันมี ความสุขตามอัตภาพ
พอเพียงเป็นเรื่องของการจัดระเบียบสังคมให้มีระบบและโครงสร้างที่พอเพียงมีคุณธรรม
ยุติธรรมกับทุกคน รวมถึงระบบการจัดการทุนท้องถิ่น ทุนทรัพยากร
ทุนความรู้และปัญญาทุนทางสังคม ดังนั้นเพื่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ
เราจึงต้องกลับ คืนสู่รากเหง้า เพื่อจะได้ค้นหาตัวแบบ ของความพอเพียง
และหาทางสืบทอดอย่างเหมาะสม การคืนสู่รากเหง้าไม่ใช่กลับไปหาอดีตเพื่ออยู่กับอดีต
แต่เชื่อมอดีตกับปัจจุบันเพื่อสานอนาคต 3) ยั่งยืน (Sustainable) ปัญหาต่างๆ แก้ไขได้ แต่ไม่ค่อยยั่งยืน
เพราะมักเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ความยั่งยืนหมายถึงอยู่ได้อย่างมั่นคง
มีหลักประกันว่าจะไม่ล้มลุกคลุกคลาน
มีระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นที่พึ่งตนเองของชุมชนและเครือข่าย สามารถจัดการการกินการอยู่ได้อย่างพอเพียง
มีระบบและโครงสร้างที่มีหลักประกันสิทธิเท่าเทียมกันของผู้คน
มีระบบโครงสร้างสังคมเศรษฐกิจที่มั่นคง สามารถยืนหยัดอยู่ได้ในยุคโลกาภิวัตน์
ซึ่งปัจจัยสำคัญของการพัฒนาความยั่งยืนเหล่านี้ คือ การเรียนรู้
ซึ่งทำให้เกิดความรู้และปัญญา และการจัดการทำให้เกิดระบบ
อนุพงษ์
วาวงศ์มูล (2542) ได้ศึกษาเรื่อง “การพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวชนบท
ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจตามแนวพระราชดำริใหม่:
ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท” ผลการศึกษาพบว่า
โครงการส่งเสริมการใช้น้ำตาทฤษฎีใหม่สามารถสนองแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ได้
ทั้งในขั้นมีอยู่ – มีกิน และเพิ่มรายได้
ลดรายจ่ายทำให้คุณภาพชีวิตชาวชนบทเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม
ในด้านเศรษฐกิจ พบว่า ครัวเรือนของสมาชิกในจังหวัดเชียงรายและแพร่
มีรายได้อันเป็นผลมาจากการดำเนินกิจกรรมแบบผสมผสานสูงกว่า 99,732 บาทต่อปี
ซึ่งเป็นรายได้เฉลี่ยของครัวเรือนเกษตรกรในชนบท และในด้านการลดรายจ่ายในครัวเรือน
พบว่า สมาชิกได้บริโภคผลผลิตที่ เกิดจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายในชุมชม
คิดเป็นมูลค่าปีละประมาณ 26,958.89 บาท และ36,107.39 บาท ตามลำดับ
ในด้านสังคมพบว่า ได้สร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นแก่องค์กรชุมชนที่จัดตั้งขึ้นทั้งสองจังหวัด
คือ เชียงราย และแพร่
สมญา
อินทรเกษตร และคณะ (2551) เศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่ยากจน ตำบลดอนกลอย
อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี พบว่า
การแก้ไขปัญหาและพัฒนาโดยมีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของคน
โดยผ่านการพัฒนาศักยภาพของศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน
และใช้ศูนย์การเรียนรู้เป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขึ้นในชุมชน
จนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม วิธีคิดและวิถีชีวิตของคนในชุมชนนั้น
ศูนย์การเรียนรู้ดังกล่าวจะต้องมีแนวคิดในเชิงเนื้อหา คือ 1)
แนวพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง 2) เนื้อหาสาระที่เป็นความต้องการของชุมชน และ
3) การใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้
ตลอดจนจะต้องสร้างและปลุกจิตสำนึกเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้กับสมาชิกในกลุ่ม
การทดลองหรือแสวงหานวัตกรรมใหม่ในการผลิต และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
การขยายผลอย่างต่อเนื่องให้กับสมาชิกในชุมชนและนอกชุมชน
ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างสอดคล้องกับแนวพระราชดำเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
โดยมีหลักสำคัญคือ การจะทำกิจกรรมใดก็ตามต้องยึดหลักความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล
และการมีภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ยังต้องมีคุณธรรมความดีงาม รวมทั้งความรู้
ความเข้าใจในเรื่องราวความเป็นไปของชีวิตและชุมชน
ไชยรัตน์
ปราณี และคณะ (2551) เศรษฐกิจพอเพียง ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน
พบว่า แนวทางในการนำแนวพระราชดำริ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่เป้าหมาย มี 2 แนวทาง คือ 1)
การสร้างความรู้ ความเข้าใจ โดยสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตนเอง
และสิ่งแวดล้อม และสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารสิ่งแวดล้อมของชุมชน
และ 2) การปฏิบัติการเพื่อความพอเพียงในระดับตนเอง ครอบครัว และชุมชน
ซึ่งมีแนวปฏิบัติ คือ การสร้างอาชีพหลักให้มั่นคงสร้างเสริมอาชีพรองหรืออาชีพเสริม
และเพิ่มเติมสวัสดิการ จึงจะนำไปสู่ความสามารถในการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนต่อไป
อะเมกาวะ
(Amegawa,
2010) ได้วิจัยเรื่องการมุ่งไปสู่เกษตรกรรมแบบยั่งยืนในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา:
มุมมองเชิงทฤษฎีและข้อสนับสนุนเชิงประจักษ์
ในรูปแบบของการวิเคราะห์เนื้อหา
โดยมีวัตถุประสงค์คือนำเสนอมุมมองที่เป็นกรอบแนวคิดเกษตรกรรมแบบยั่งยืนที่สัมพันธ์กับบริบทเชิงสังคม ได้แก่ บริบทประเทศกำลังพัฒนา การใช้มาตรฐานอาหารเกษตรที่เรียกว่า Good
Agricultural Practices, GAP) การวิจัยนี้จะกำหนดปัจจัยเชิงสังคมและเชิงนิเวศที่ช่วยให้คำจำกัดความเกษตรกรรมแบบยั่งยืนมีความเหมาะสม ผลการศึกษาคือปัจจัยกำหนดคือนโยบายของรัฐต่อการส่งเสริมอย่างจริงจัง
ระบบราชการที่เกี่ยวข้องต้องประสานงานและต้องปฏิบัติตามพันธกิจของการกำกับดูแลช่วยเหลือให้เกษตรกรพึ่งตนเองได้
และส่วนสำคัญคือกลุ่มเกษตรกรเองต้องมุ่งพึ่งตนเอง รวมกลุ่มกันเป็นสหกรณ์และองค์กรที่เข้มแข็ง
จากแนวคิดและงานวิจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้างต้นชลิตา
บัณฑุวงศ์ และอนุสรณ์ อุณโณ (2547) ได้อธิบายให้เห็นว่า “ชาวนา” ถูกมองในฐานะที่เป็น “ปัญหา”
จากแทบจะทุกภาคส่วน
ฝ่ายที่มองการทำนาว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและระบบการพึ่งตนเอง
มักประณามการละทิ้งการทำนาว่าเป็นรากเหง้าวิถีชีวิต ทำให้เกิดความไม่มั่นคงทางอาหาร
สร้างผลเสียต่อทั้งสังคม
ขณะที่การทำนาเคมีแบบเข้มข้นและการไม่ยอมเข้าสู่การทานาอินทรีย์ของเกษตรกร
ก็ถูกประณามว่าเป็นความโลภ ความเห็นแก่ตัว ขาดศีลธรรม ความฟุ้งเฟ้อ
ท่ามกลางเปลี่ยนแปลงของชนบทที่แนวโน้มสำคัญก็คือการที่อาชีพในภาคเกษตร
โดยเฉพาะการทำนา มีบทบาทน้อยลงทุกทีในการสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีให้เกษตรกร
การตัดสินใจของเกษตรกรไม่ว่าจะเป็นการละทิ้งที่นา
การเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่มีราคาดีกว่า หรือการทำนาแบบเข้มข้น
ล้วนอยู่ภายใต้โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้
พวกเขาได้พยายามหยิบฉวยและใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุดจากโครงสร้างที่เปลี่ยนแปลงไปนี้
อาทิ การใช้รายได้จากนอกภาคเกษตรมาลงทุนเพิ่มเติมในภาคการเกษตร
การแสวงหาโอกาสของคนชายขอบในการสร้างผลผลิตทางการเกษตรมาขายในตลาดท้องถิ่น
ซึ่งมีความต้องการบริโภคมากขึ้นเนื่องจากมีคนที่ออกจากภาคเกษตรและไม่ผลิตอาหารเองเพิ่มขึ้น
ในขณะเดียวกันในมุมมองนักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม
ชาวนาคือปัญหา การที่คนจำนวนมากยังทำนาเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุผล
เพราะการทำนาไม่สามารถแก้ปัญหาความยากจนได้ ดังนั้น
การเอาคนออกจากภาคเกษตรจึงเป็นสิ่งที่ควรส่งเสริม ทั้งนี้แม้มุมมองเหล่านี้ โดยเฉพาะในเรื่องบทบาทที่เพิ่มมากขึ้นของกิจกรรมนอกภาคเกษตร
จะสอดคล้องกับความเป็นจริงที่กำลังเกิดขึ้น
แต่มุมมองของนักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมก็ไม่แตกต่างจากมุมมองของภาคประชาสังคม
ตรงที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเงื่อนไขเฉพาะในวิถีชีวิตของชาวนา
รวมทั้งข้อจำกัดในเชิงโครงสร้าง จนนามาสู่การมองชาวนาอย่างไร้ศักยภาพ
ไม่สามารถตัดสินใจอย่างมีเหตุผล
ทั้งที่จริงแล้วมีปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมจานวนมากที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของเกษตรกร
ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศที่เป็นผลมาจากนโยบายการพัฒนาตั้งแต่อดีตที่ทาให้การทำนาไม่ได้ผลดีอีกต่อไป
เพื่อลดความเสี่ยงในส่วนที่ตนพอจะควบคุมได้
รวมทั้งการขาดโอกาสที่จะหารายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำจากการประกอบอาชีพอื่น
จึงตัดสินใจทำนาต่อไปแม้จะมีความเสี่ยงกับการขาดทุนก็ตาม
การพยายามทาความเข้าใจกับเงื่อนไขเฉพาะและข้อจำกัดของชาวนา
ทั้งในแง่สภาพแวดล้อมของการทำนา อาทิ ความสูงต่ำของพื้นที่ ระบบชลประทาน
การเช่าที่นา ฯลฯ และในแง่การดำรงชีพ ที่ในปัจจุบันแรงงานในครัวเรือนมีจำกัด
อาชีพนอกภาคเกษตรและการลงทุนด้านการศึกษาของบุตรหลานมีความสำคัญ
เป็นสิ่งจาเป็นในการสร้างแนวทางการสนับสนุนชาวนาที่เหมาะสม อันจะช่วยให้พวกเขาลดความเสี่ยงในการผลิต
นำมาซึ่งการทำนาที่มีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่ำ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
และสอดคล้องกับความต้องการของตลาด
ทั้งนี้เพื่อให้การทำนาสามารถเป็นพื้นฐานที่ดีให้แก่ครัวเรือนเกษตรกรในการขยับขยายฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมนอกภาคเกษตรได้ท่ามกลางสถานการณ์ที่ว่าการผลิตในภาคเกษตรไม่สามารถเป็นแหล่งรายได้หลักของครัวเรือนในชนบทส่วนใหญ่ได้อีกต่อไป
การแก้ไขปัญหาความยากจนของชาวนาไทย
ประเด็นที่
1 วิถีชีวิตชาวนาไทยเปลี่ยนเป็นแบบผสมผสานระหว่างแบบสมัยใหม่กับแบบดั้งเดิม
ทั้งปัจจัยการผลิตและการใช้เครื่องมือเครื่องจักรเพื่ออำนวยความสะดวกสบาย ความเป็นอยู่เปลี่ยนแปลงไป ในด้านปัจจัย 4
ที่มีความจำเป็นในการดำรงชีวิต
โดยเฉพาะอาหารเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับคนไทยก็คือข้าว
ชาวนาในปัจจุบันต้องซื้อข้าวกินและซื้อพันธุ์ข้าวสำหรับปลูก
ปัจจัยในเรื่องทีอยู่อาศัย มีความเป็นอยู่แบบผสมผสานมีทั้งแบบดั้งเดิมและแบบสมัยใหม่
ส่วนเครื่องนุ่งห่มถึงแม้ว่าจะหาซื้อได้ง่าย
สำหรับชาวนายังให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงน้อย
แสดงถึงความเป็นอยู่ที่ยังเรียบง่าย เพียงแต่มีความสะดวก หาซื้อได้ง่าย
ส่วนในเรื่องยารักษาโรค ส่วนใหญ่ล้วนเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากวิถีชีวิตในปัจจุบันมีความสะดวกสบายการคมนาคมสะดวกเจ็บป่วยก็ไปหาหมอ
อีกทั้งภาครัฐมีสวัสดิการให้สิทธิ์ในการรักษาฟรีหรือ มีนโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรค
จึงพบว่า ชาวนามีการเปลี่ยนแปลงในปัจจัยด้านยารักษาโรคในระดับมาก
ไปรับการบริการจากภาครัฐมากที่สุด จะเห็นได้ว่ากระแสความเจริญ ความทันสมัย
ทำให้ชาวนามีความต้องการปัจจัยอื่นที่ทำให้มีความสะดวกสบายมากขึ้นจึงยอมเป็นหนี้
ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นและความเสี่ยงจากปัญหาต่างๆ
ทำให้ชาวนาประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่อง จึงมีหนี้สินเรื้อรังและยากจน
การกินดีอยู่ดีของชาวนาจึงขึ้นอยู่กับรายได้ของชาวนา
การผลิตที่มีประสิทธิภาพทำแล้วได้ ทำแล้วไม่ขาดทุน
ประเด็นที่
2 เพื่อศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาความยากจนของวิถีชีวิตชาวไทยอย่างยั่งยืน ควรเน้นการสร้างกระบวนการเรียนรู้
เพื่อให้ชาวนาได้เข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ปัญญา เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
นอกจากนี้ยังเน้นการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ
เพื่อให้ชาวนาได้รู้จักการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้และเข้าถึงโอกาสใหม่ๆ
โดยมีการทำกินในแปลงที่ดินที่จัดให้ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ เน้นการนำที่ดินที่ถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่ามาใช้ประโยชน์
ในการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชาวนายากจน
ควบคู่กับการฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เน้นการรวมกลุ่มชาวนาให้พึ่งพาช่วยเหลือกันในรูปสหกรณ์ สร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน
เพื่อช่วยเหลือด้านการตลาดอันสามารถจะเชื่อมโยงไปสู่การส่งออกในรูปสินค้าแบบท้องถิ่น
การหาทางช่วยเหลือกลุ่มครัวเรือนชาวนายากจนและเกือบจนเพื่อยกระดับการดำรงชีพให้ดีขึ้น
แนวทางในการปรับปรุงคือ ขยายโอกาสทางด้านศึกษาให้กับครัวเรือนในภาคเกษตร
สนับสนุนการใช้ที่ดินให้เต็มพื้นที่และเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
สนับสนุนการจัดหาที่ดินทำกินให้กับชาวนาที่ยากจน
เสริมสร้างกิจกรรมการผลิตนอกการทำนาของครัวเรือนควบคู่ไปกับกิจกรรมฟาร์ม
เพื่อเป็นแหล่งรายได้เสริม
เสริมสร้างระบบการจัดการแหล่งน้ำเพื่อให้เกิดการจัดการร่วมกันระหว่างชุมชนกับรัฐในการดูแลรักษา
และในกลุ่มครัวเรือนชาวนาที่ยากจนควรเสริมกิจกรรมการผลิตแบบพึ่งพาตนเอง
ลดการพึ่งพาตลาดเพื่อการบริโภคของครัวเรือน
ประเด็นที่
3 เพื่อเสนอแนะยุทธศาสตร์ใหม่ในการแก้ไขปัญหาความยากจนของวิถีชีวิตชาวนาไทย
1) การพัฒนาตนให้มีความรู้ พบว่า
ชาวนามีความมุ่งมั่นมากที่สุดในการกระทำในภาระหน้าที่ของตนในการพัฒนาองค์ความรู้ของตน
ทำงานหนักมีความขยันขันแข็งและมีการมองอนาคตให้ครอบครัว
2) ด้านการพัฒนาทักษะความชำนาญ พบว่า
ชาวนามีความรับผิดชอบต่อครอบครัวและสังคมมากที่สุด
ส่วนการประสานแผนกับเครือข่ายของสังคม มีความคิดสร้างสรรค์ มีความคิด
นวัตกรรมยังอยู่ในระดับน้อย ส่วนมากยังไม่ยอมเปลี่ยนแปลงความคิด
เคยทำอย่างไรก็ทำอยู่อย่างนั้น
3) ความสามารถในการบริหารจัดการที่ดีต่อตน ครอบครัว และสังคม พบว่า
ชาวนามีความซื่อสัตย์ และมีความเสียสละต่อส่วนรวมมากที่สุด
ชาวนารู้จักช่วยเหลือสังคมมีความโอบอ้อมอารี และการเป็นผู้มีระเบียบ
จัดระบบให้ตนเองและครอบครัวให้เป็นผู้มีระเบียบ ทำกิจการใดๆ ต้องมีระเบียบ เช่น
การทำบัญชีครัวเรือน ถึงแม้ว่าในข้อเท็จจริงชาวนาที่คิดว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก
หรือไม่ใส่ใจ แต่เมื่อมีความเข้าใจและเห็นถึงประโยชน์ที่แท้จริงแล้ว
ก็สามารถนำไปปฏิบัติได้
4) การสร้างความเป็นธรรมให้แก่ชาวนา ในการสร้างความเป็นธรรมให้แก่ชาวนาเพื่อพัฒนาวิถีชีวิตของชาวนาอย่างยั่งยืน
โดยการกระตุ้นจิตสำนึกของผู้บริหารให้มีพลังปฏิบัติการตามหลักการบริหารแบบสมดุลเป็นธรรม
พบว่า วิถีชีวิตของชาวนาส่วนใหญ่มีความพอเพียงในด้านปัจจัย 4
มากที่สุด ส่วนการสร้างความเป็นธรรมให้แก่ชาวนาที่จะต้องดำเนินการโดยภาครัฐเพื่อสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของชาวนาในด้านปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน
โดยอาศัยหลักประชาธิปไตย หลักการแบ่งปันกระจายโภคทรัพย์อย่างเป็นธรรม
หลักการบริการอย่างมีจริยธรรม และหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน รัฐ ธุรกิจ
และประชาชนในชุมชน ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ชาวนาต้องได้รับประโยชน์จากการบริหารภาครัฐอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม
นี่คือปัจจัยสำคัญที่ถูกต้อง และควรจะสนองความต้องการของชาวนารองจากปัจจัย 4
5) ยุทธศาสตร์ใหม่ในการแก้ไขปัญหาความยากจนของวิถีชีวิตชาวนาไทย
วิถีชีวิตชาวนามีการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัตน์
แต่ยังคงรักษาความเรียบง่ายแบบดั้งเดิมจึงเป็นไปแบบผสมผสาน
หากมีความรู้และเข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีส่วนต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
จะสามารถดำเนินชีวิตแบบพออยู่ พอกิน พอใช้ ตามฐานะของตนเอง
ถ้าชาวนาได้นำเอาหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต
ทั้งนี้จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่จะนำไปสู่การวางแผนยุทธศาสตร์อย่างเป็นระบบเพื่อสนองความต้องการของชาวนาในการดำเนินชีวิตรอบด้าน
รวมถึงการนำเอาการพัฒนาและการบริหาร เพื่อให้เกิดความพอเพียงอย่างยั่งยืน
และการมีส่วนร่วมของชาวนา ประกอบการดำเนินการพัฒนาในพื้นที่
เป้าหมายสูงสุดของยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนของวิถีชีวิตชาวนาไทย รัฐบาลในฐานะผู้กำหนดนโยบาย
หน่วยงานราชการในฐานะผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ
ชาวนาในพื้นที่และชาวนาทั้งประเทศในฐานะผู้รับผลของการดำเนินตามนโยบาย
ต้องการจะเห็นชาวนาสามารถพัฒนาตัวเองไปสู่ความพอเพียงระดับสูง
รู้จักการพัฒนาชีวิตแบบมีความสุข และอีกประการที่ต้องให้ความสำคัญคือ
ให้ชาวนาเห็นความสำคัญของอาชีพที่อยู่คู่ประเทศไทยมาช้านานให้เยาวชนรุ่นใหม่หันมาประกอบอาชีพชาวนา
สรุป
ประเด็นที่
1 วิถีชีวิตชาวนาไทย จากการวิเคราะห์พบว่า วิถีชีวิตชาวนาเปลี่ยนเป็นแบบผสมผสานระหว่างแบบสมัยใหม่กับแบบดั้งเดิม
ทั้งปัจจัยการผลิตและการใช้เครื่องมือเครื่องจักรเพื่ออำนวยความสะดวกสบาย
ความเป็นอยู่เปลี่ยนแปลงไป ในด้านปัจจัย 4 ที่มีความจำเป็นในการดำรงชีวิต
จะเห็นได้ว่ากระแสความเจริญ ความทันสมัย ทำให้ชาวนามีความต้องการปัจจัยอื่นที่ทำให้มีความสะดวกสบายมากขึ้นจึงยอมเป็นหนี้
ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นและความเสี่ยงจากปัญหาต่างๆ
ทำให้ชาวนาประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่อง จึงมีหนี้สินเรื้อรังและยากจน
การกินดีอยู่ดีของชาวนาจึงขึ้นอยู่กับรายได้ของชาวนา การผลิตที่มีประสิทธิภาพทำแล้วได้
ทำแล้วไม่ขาดทุน
ประเด็นที่
2 เพื่อศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาความยากจนของวิถีชีวิตชาวไทยอย่างยั่งยืน จากการวิเคราะห์พบว่า
แนวทางในการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน
ควรเน้นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้ชาวนาได้เข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร ความรู้
ปัญญา เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
นอกจากนี้ควรเน้นการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ
เพื่อให้ชาวนาได้รู้จักการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้และเข้าถึงโอกาสใหม่ๆ
และช่วยจัดหาที่ทำกินให้ควบคู่ไปกับการจัดให้มีการเรียนรู้วิชาชีพที่เน้นการนำที่ดินที่ถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่ามาใช้ประโยชน์
ในการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชาวนายากจน
ควบคู่กับการฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เน้นการรวมกลุ่มชาวนาให้พึ่งพาช่วยเหลือกันในรูปสหกรณ์ และสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อช่วยเหลือด้านการตลาดอันจะสามารถเชื่อมโยงไปสู่การส่งออกสินค้าที่เป็นผลิตภัณท์แบบท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเด็นที่
3 เพื่อเสนอแนะยุทธศาสตร์ใหม่ในการแก้ไขปัญหาความยากจนของวิถีชีวิตชาวนาไทย
จากการวิเคราะห์พบว่า วิถีชีวิตชาวนามีการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัตน์
แต่ยังคงรักษาความเรียบง่ายแบบดั้งเดิมจึงเป็นไปแบบผสมผสาน
หากมีความรู้และเข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีส่วนต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
จะสามารถดำเนินชีวิตแบบพออยู่ พอกิน พอใช้ ตามฐานะของตนเอง
ถ้าชาวนาได้นำเอาหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต
ทั้งนี้จะนำไปสู่การวางแผนยุทธศาสตร์อย่างเป็นระบบเพื่อสนองความต้องการของชาวนาในการดำเนินชีวิตรอบด้าน
รวมถึงการนำเอาการพัฒนาและการบริหารแนวใหม่ตามทฤษฎีสมดุลเข้ามาโดยการระดมพลังสมองของผู้บริหารเป็นพลังปฏิบัติการให้เกิดความพอเพียงอย่างยั่งยืน
และการมีส่วนร่วมของชาวนา ประกอบการดำเนินการพัฒนาในพื้นที่
เป้าหมายสูงสุดของยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนของวิถีชีวิตชาวนาไทย
เอกสารอ้างอิง
จรัญ
จันทลักขณา และผกาพรรณ สกุลมั่น.
2546. “การเกษตรยั่งยืน.” กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชลิตา บัณฑุวงศ์ และอนุสรณ์ อุณโณ. 2547. “ความรู้และกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน.” กรุงเทพ ฯ:
เจ แอนด์ เจ กราฟฟิคดีไซน์.
เจ แอนด์ เจ กราฟฟิคดีไซน์.
ไชยรัตน์ ปราณี และคณะ. 2551. “เศรษฐกิจพอเพียง
ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน.”
นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สมญา อินทรเกษตร และคณะ. 2551. “เศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่ยากจน ตำบลดอนกลอย
อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี.” นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สมพร เทพสิทธา. 2546. “การเดินตามรอยพระยุคลบาทเศรษฐกิจพอเพียงช่วยแก้ปัญหาความยากจนและการทุจริต.” กรุงเทพ ฯ: ศรีเมืองการพิมพ์.
เสรี พงศ์พิศ. 2549.
“เศรษฐกิจพอเพียงการพัฒนายั่งยืน.” กรุงเทพ ฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์.
เสรี พงศ์พิศ. 2550.
“เศรษฐกิจพอเพียง เกิดได้ถ้าใจปรารถนา.” กรุงเทพ ฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์.
อนุพงษ์ วาวงศ์มูล. 2542. “การพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวชนบทในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจตามแนวพระราชดำริใหม่:
ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Amegawa, Y. et al. 2010. “Towards
Sustainable Agricultural in the Aeveloping World: Theoretical Perspectives and
Empirical Insights.” New York: Iowa State University.
Amegawa, Y. et al. 2010. “Towards
Sustainable Agricultural in the Developing World: Theoretical Perspectives and
Empirical Insights.” New York: Iowa State University.
Morgan, P. 2010. “Communication
structures and processes in globalization.” Journal of Communication. 48(4): 142-153.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น