การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น
เขียนโดย
วชิรวัชร งามละม่อม
Wachirawachr Ngamlamom
ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำและประสานแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2546 ได้กำหนดให้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นไว้
ซึ่งประกอบด้วย 9 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
ขั้นตอนที่ 1
การเตรียมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
ในขั้นตอนนี้
หน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
จะต้องพบผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ ความสำคัญ
แนวทางและขั้นตอนในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
แล้วจัดทำโครงการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสนอผ่านปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ผู้บริหารท้องถิ่นอนุมัติในโครงการดังกล่าว
แล้วแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อทราบ
ขั้นตอนที่ 2
การรวบรวมข้อมูลและปัญหาสำคัญ
1. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ข้อมูลที่ควรจัดเก็บควรเป็นข้อมูลที่มีความครอบคลุมและทันสมัย
ประกอบด้วย ข้อมูลประชากร อาชีพ รายได้ สุขภาพ การศึกษา ทรัพยากร การคมนาคมขนส่ง
การพาณิชย์ การลงทุน อุตสาหกรรม และข้อมูลงบประมาณ เป็นต้น
2. การรวบรวมปัญหาสำคัญของท้องถิ่น
เพื่อจะนำมาใช้ในการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหา
และจะต้องนำแผนชุมชนมาพิจารณาประกอบการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนาของท้องถิ่นในปัจจุบัน
ขั้นตอนนี้เป็นการประเมินถึงปัจจัยภายในองค์กร
ได้แก่ จุดแข็ง จุดอ่อน และปัจจัยภายนอก ได้แก่ โอกาส และอุปสรรค โดยใช้เทคนิค SWOT
Analysis มาเป็นเครื่องมือ
ขั้นตอนที่ 4
การกำหนดวิสัยทัศน์และภารกิจหลักการพัฒนาท้องถิ่น
ในขั้นตอนนี้
ประกอบด้วยกิจกรรม 2 กิจกรรม คือ
1. การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision)
การพัฒนาท้องถิ่น
ซึ่งเป็นถ้อยแถลงที่ระบุถึงสภาพการณ์ในอุดมคติอันเป็น
“จุดหมาย” ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า
2. การกำหนดภารกิจหลัก
หรือพันธกิจ (Mission) ในการพัฒนาท้องถิ่น
เป็นการกำหนดสิ่งที่ท้องถิ่นจะต้องทำ
โดยจะเกิดขึ้นหลังจากที่ทราบว่าท้องถิ่นต้องการอะไร และเป็นอะไรในอนาคต ดังนั้น
พันธกิจจึงเป็นถ้อยแถลงที่แสดงถึงลักษณะหรือขอบข่ายในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวกับลักษณะการบริหารและการจัดการบริหารสาธารณะ
รวมทั้งแนวคิดเกี่ยวกับองค์กรหรือภาพลักษณ์ที่ต้องการนำเสนอ
ขั้นตอนที่
5 การกำหนดจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป็นการกำหนดขอบเขตหรือประเภทของกิจกรรมที่ควรค่าแก่การดำเนินงานทั้งในด้านเศรษฐกิจ
สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม
และขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และพันธกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ขั้นตอนที่
6 การกำหนดวัตถุประสงค์การพัฒนาท้องถิ่น
เป็นการกำหนดผลสำเร็จที่ต้องการ
โดยดำเนินการหลังจากที่ทราบภารกิจหลักที่ท้องถิ่นจะต้องทำแล้ว ซึ่งวัตถุประสงค์จำแนกได้เป็น 2 ส่วน คือ
วัตถุประสงค์โดยรวมของท้องถิ่น และวัตถุประสงค์เฉพาะส่วนหรือเฉพาะเรื่อง
ขั้นตอนที่
7 การกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการพัฒนา
ขั้นตอนนี้จะสามารถจัดทำได้เมื่อได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ภารกิจหลัก
วัตถุประสงค์และยุทธศาสตร์การพัฒนา โดยอาศัยพื้นฐานการวิเคราะห์ SWOT ดังนั้น ขั้นตอนนี้จึงเป็นการแสดงแนวคิดหรือวิธีการที่ท้องถิ่นจะไปถึงจุดหมายที่ต้องการได้อย่างไร
ขั้นตอนที่ 8 การกำหนดเป้าหมายการพัฒนาท้องถิ่น
เป็นการกำหนดปริมาณหรือสิ่งที่ต้องการให้บรรลุในแต่ละแนวทางการพัฒนา
โดยมีเงื่อนไขเรื่องเวลาที่ต้องการทำ ปริมาณที่ต้องการ
คุณภาพ สถานที่ ความเป็นไปได้ ซึ่งจะสามารถกำหนดตัวชี้วัดผลสำเร็จเพื่อใช้ในกระบวนการติดตามและประเมินผลความสำเร็จของแผนได้
ขั้นตอนที่
9 การอนุมัติและประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นจะนำผลที่ได้จากขั้นตอนที่ 1-8
มาจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นตามเค้าโครงที่กำหนด
แล้วนำเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น และประชาคมเมืองเพื่อพิจารณาและปรับปรุงก่อนนำเสนอต่อผู้บริหารท้องถิ่น
เพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่นเสนอต่อคณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
และเสนอขอรับอนุมัติจากสภาท้องถิ่นตามลำดับ เมื่อสภาท้องถิ่นอนุมัติแล้ว
ผู้บริหารท้องถิ่นจึงประกาศใช้แผนต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น