แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการ
เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร งามละม่อม
Wachirawachr Ngamlamom
ความหมายของการบริหารและการจัดการ
คำว่า
“การบริหาร” (Administration) และ
“การจัดการ” (Management) มีที่มาในเชิงพัฒนาการขององค์ความรู้ที่แตกต่างกัน
แต่ปัจจุบันได้มีการกำหนดองค์ความรู้ทั้งสองด้านมาผสมผสาน
และประยุกต์เข้ากับองค์กรสมัยใหม่ จึงทาให้ทั้งสองคานี้มีความหมายเช่นเดียวกัน และสามารถใช้แทนกันได้
เพียงแต่ความนิยมคุ้นเคยหรือความนึกคิดเชิงภาษาที่แตกต่างกันไปบ้างเท่านั้น
กล่าวคือ มีนัย (Sense) ที่แตกต่างกันในด้านต่อไปนี้
1) เกี่ยวกับประเภทขององค์กรและหน่วยงาน
คำว่า
“การบริหาร” นิยมใช้ในหน่วยงานภาครัฐ
หรือหน่วยงานราชการ ดังจะเห็นได้จากตำแหน่งบริหาร หรือนักบริหาร (Administration)
มีการบัญญัติศัพท์สาขาวิชาที่ศึกษาด้านนี้ว่า
“รัฐประศาสนศาสตร์” (Public Administration) ขณะที่คำว่า การจัดการมักหมายถึงการบริหารงานในองค์กรภาคเอกชน หรือธุรกิจมากกว่าการบริหารรัฐกิจดังจะพบเสมอว่า ตำแหน่งสำคัญในองค์กรเอกชนใช้คำว่า “ผู้จัดการ” (Manager)
“รัฐประศาสนศาสตร์” (Public Administration) ขณะที่คำว่า การจัดการมักหมายถึงการบริหารงานในองค์กรภาคเอกชน หรือธุรกิจมากกว่าการบริหารรัฐกิจดังจะพบเสมอว่า ตำแหน่งสำคัญในองค์กรเอกชนใช้คำว่า “ผู้จัดการ” (Manager)
2) เกี่ยวกับระดับหรือขอบข่ายความรับผิดชอบของการดำเนินการ
การบริหารบางครั้งเป็นคาที่ผู้ใช้ให้ความหมายถึงการทาหน้าที่ในระดับนโยบาย
คือการตัดสินใจให้แนวทาง และรับผิดชอบในผลที่เกิดขึ้นในภาพรวม ส่วนการจัดการเน้นการดำเนินงานในระดับปฏิบัติ
(Policy Implementation) ซึ่งเป็นหน้าที่ต้องรับผิดชอบรองลงมา
หรือเป็นหน่วยงานระดับกลางหรือระดับล่าง
ในทางวิชาการทั้งการบริหารและการจัดการ
ไม่ได้มีความหมายแตกต่างกันคำว่าการจัดการสามารถใช้ได้ในองค์กรภาครัฐ
และใช้กับการดำเนินงานระดับนโยบายเช่นกัน ทั้งนี้เพราะแนวความคิดการจัดการสมัยใหม่
(Modern Management Thought) เน้นการผสมผสานองค์ความรู้ทั้งศาสตร์การบริหาร
(Administrative Science) ศาสตร์การจัดการ (Management
Science) ตลอดจนพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science) เข้าด้วยกันอย่างแยกไม่ออก (วิชัย รูปขาดี, 2542)
องค์ประกอบและกระบวนการจัดการ
กระบวนการจัดการ
(Management Process) หมายถึง ขั้นตอนการทำงานที่ทำหน้าที่จัดการพึงปฏิบัติเพื่อให้งานบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้
คือมีสิ่งนาเข้ามาผ่านในระบบการจัดการ และจะได้ผลงานหรือผลที่เกิดจากการปฏิบัติงานออกมาตามที่ต้องการ
โดยมีผู้พยายามชี้ให้เห็นถึงองค์ประกอบของกระบวนการจัดการที่เหมาะสมว่าควรจะประกอบด้วยเรื่องต่างๆ
ดังนี้
กุลลิค
และ เออร์วิค (Luther Gulik & Lyndall Urwick, อ้างถึงใน
สุรสิทธิ์ ฤทธิ์สรไกร 2538) ได้มององค์ประกอบของการจัดการที่มีประสิทธิภาพภายใต้กระบวนการบริหารว่ามีกิจกรรมที่สำคัญ
7 ประการ หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า POSDCORB Model 1 ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์การ การบริหาร
งานบุคคล การอำนวยการ การประสาน การรายงานผลการปฏิบัติงาน และการงบประมาณ
งานบุคคล การอำนวยการ การประสาน การรายงานผลการปฏิบัติงาน และการงบประมาณ
ฮอดเก็ตต์
(Hodgetts, อ้างถึงใน วิชัย รูปขาดี, 2542) มองกระบวนการจัดการภายใต้แนวคิดเชิงระบบว่า กระบวนการจัดการที่แท้จริง
ก็คือการทำหน้าที่ของการจัดการ (Management Function) ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ของการจัดการภายใต้เรื่องที่สำคัญ
4 เรื่อง ได้แก่ 1) การวางแผนกำหนดทิศทางของหน่วยงาน
(Planning the Enterprises Direction) 2) การจัดโครงสร้างองค์กรและบุคคล
(Organizing and Staffing the Structure) 3) การอำนวยการเชิงการนำ
และการผลักดันบุคลากร (Leading and Influencing the Personnel) 4) การควบคุมในเชิงการปฏิบัติการ และในด้านทรัพยากร (Controlling
Organizational Operations and Resources)
ธงชัย
สันติวงษ์ (2535) ได้ระบุถึงหน้าที่ในการบริหาร (Management
Functions) ที่สำคัญมีด้วยกัน 5 ประการ คือ
1. การวางแผน (Planning) หมายถึง การกำหนดวิถีทางที่จะปฏิบัติไว้เป็นการล่วงหน้าซึ่งจะทำให้เกิดผลสำเร็จตามความต้องการ
การวางแผนจะต้องมีกระบวนการนึกคิด (Conceptual Thinking) ที่สมบูรณ์
และเป็นสาระถูกต้อง เพื่อให้สามารถช่วยกำหนดวัตถุประสงค์ (Objectives) พัฒนากลยุทธ์ (Strategies)
จัดทำแผนงาน (Programs) จัดสรรงบประมาณ การใช้ทรัพยากร ต่างๆ (Budget) กำหนดระเบียบวิธีปฏิบัติ (Procedures) และแนวนโยบาย (Policies) ที่ดีที่สุดสำหรับองค์การของตน ภายหลังจากที่ได้มีการวิเคราะห์และคาดการณ์ (Forecast) สภาพเหตุการณ์ต่างๆ อย่างระมัดระวัง และรอบคอบที่สุดแล้ว เป้าหมายสำคัญของการปฏิบัติหน้าที่วางแผน คือ จะต้องตัดสินใจเลือกและรู้จักทาแผนต่างๆ ให้ได้แผนงานที่ดีที่สุด และเหมาะสมกับกาลังความสามารถขององค์การที่จะเป็นหนทางให้องค์การสามารถหาประโยชน์จากการทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่ได้คาดการณ์ไว้แล้ว
จัดทำแผนงาน (Programs) จัดสรรงบประมาณ การใช้ทรัพยากร ต่างๆ (Budget) กำหนดระเบียบวิธีปฏิบัติ (Procedures) และแนวนโยบาย (Policies) ที่ดีที่สุดสำหรับองค์การของตน ภายหลังจากที่ได้มีการวิเคราะห์และคาดการณ์ (Forecast) สภาพเหตุการณ์ต่างๆ อย่างระมัดระวัง และรอบคอบที่สุดแล้ว เป้าหมายสำคัญของการปฏิบัติหน้าที่วางแผน คือ จะต้องตัดสินใจเลือกและรู้จักทาแผนต่างๆ ให้ได้แผนงานที่ดีที่สุด และเหมาะสมกับกาลังความสามารถขององค์การที่จะเป็นหนทางให้องค์การสามารถหาประโยชน์จากการทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่ได้คาดการณ์ไว้แล้ว
2. การจัดองค์การ (Organizing) หมายถึง
ภาระหน้าที่ในการกำหนด จัดเตรียม และจัดความสัมพันธ์ของกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้สามารถบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์การที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการบริหารสิ่งของ และทรัพยากร ต่างๆ (Things) ภายหลังจากที่ได้ใช้ดุลพินิจ และมีข้อตัดสินใจที่ยุติแล้วว่า จะทาอะไรบ้าง
การดำเนินการเพื่อจัดองค์การตามกระบวนการนี้ จะประกอบด้วยงานที่ต้องทาดังนี้ คือ
จัดทำโครงสร้างองค์การ (Organization Structure) กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มกิจกรรมต่างๆ
ที่กำหนดจะแบ่งสรรกันไปทา ระบุขอบเขตของตำแหน่งงานต่างๆ พิจารณาให้ทราบถึงรายละเอียดความยากง่ายของงานแต่ละตำแหน่ง
เพื่อให้สามารถทราบถึงคุณสมบัติของคนที่ต้องการได้
3. การจัดคนเข้าทางาน (Staffing) คือ ภาระหน้าที่
ที่เกี่ยวกับการบริหารตัวคน ซึ่งเริ่มต้นด้วยการเสาะหา
และคัดเลือกให้ได้มาซึ่งคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับลักษณะงานต่างๆ
ที่ได้พิจารณามาแล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้ประกันได้ว่างานต่างๆ จะได้รับการปฏิบัติงานลุล่วงไปอย่างได้ผลที่สุด
ภาระหน้าที่นี้จะสำคัญที่สุดที่จะต้องสามารถเข้าใจ และทำการฝึกอบรมและพัฒนาคนงาน
ให้มีความ สามารถ มีความพร้อม โดยเฉพาะการจัดหาคนในระดับผู้บริหารรองลงมา
4. การจัดการ (Directing) หมายถึงความพยายามที่จะให้การกระทาต่างๆ
ของทุกฝ่ายในองค์การเป็นไปในทางที่จะส่งเสริมให้เกิดผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
ด้วยการพยายามเอาชนะใจผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาทุกฝ่ายให้ร่วมมือกันทำงาน
และเสริมต่อความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์การ การรู้จักมอบหมายงาน ชักจูงใจ
และกระตุ้นให้ทุกคนทำงานดี การรู้จักประสานงานของทุกฝ่ายให้เข้ากันได้
เหล่านี้ล้วนแต่เป็นภาระที่จะต้องปฏิบัติเพื่อให้การสั่งการสมบูรณ์ และสำเร็จผลได้ในที่สุด
ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของคนและกลุ่มคน จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยให้สามารถบังคับบัญชาให้การทางานของคนงานแต่ละคนได้ผลสูงสุด
และช่วยให้งานของทุกฝ่ายสอดคล้อง และเสริมกัน ในอันที่จะสำเร็จตามวัตถุประสงค์เดียวกันได้
5. การควบคุม (Controlling) คือ การบังคับ
หรือกากับให้การทางานต่างๆ เป็นไปตามแผน
เพื่อที่จะป้องกันมิให้เกิดความเสียหายในประการทั้งปวง
ผู้บริหารทุกคนย่อมต้องคอยควบคุมงานต่างๆ ที่ตนรับผิดชอบอยู่เสมอ
กระบวนวิธีการควบคุมภายใต้ระบบการควบคุมที่จัดขึ้น คือการวัดผลงานที่ทำไปด้วยการเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่กำหนด
เพื่อช่วยให้ทราบถึงข้อแตกต่างที่ผิดไปจากแผน และสามารถดำเนินการแก้ไขเข้าสู่ทิศทางที่ถูกต้องได้
เนื่องจากงานที่ทำทุกอย่างจำเป็นต้องอาศัยคนเป็นผู้ทำการควบคุม
จึงควรมีจุดสนใจที่การควบคุมให้ปฏิบัติงานเป็นผลดีเสมอ การรู้จักใช้ระบบการตอบแทนและลงโทษ
จึงเป็นศิลปะสำคัญที่ผู้บริหารทุกคนจำต้องเข้าใจด้วยเสมอ
จึงเป็นศิลปะสำคัญที่ผู้บริหารทุกคนจำต้องเข้าใจด้วยเสมอ
หนังสืออ้างอิง
สุรสิทธิ์ ฤทธิ์สรไกร.
(2538). บทบาทของผู้บริหารในการดาเนินงานเรื่องร้องทุกข์:
ศึกษาเฉพาะ กรณีจังหวัดมุกดาหาร. กรุงเทพฯ:
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ธงชัย สันติวงษ์. (2535). องค์การและการบริหาร. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
Gulick , L. & Lyndall, U.
(1937). Paper on Science of Administration. New York: Institule of
Public Administration Columbia University.
Hodgetts, R. M. (1991). Organizational
Behavior: Theory and Practice. New York: Macmillan Publishing Company.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น