แนวคิดวิสาหกิจชุมชน
เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร งามละม่อม
Wachirawachr Ngamlamom
ความหมาย
วิสาหกิจชุมชน (Community Enterprise) มีความหมายในแต่ละหน่วยงานแตกต่างกันตามวิสัยทัศน์
นโยบาย และคุณลักษณะของหน่วยงานนั้นๆ
ในความหมายของต่างประเทศ หมายถึง การประกอบการหรือโครงการ/กิจการของคนในชุมชน โดยมุ่งประโยชน์เชิงพาณิชย์และผลทางสังคมให้กับชุมชนเป็นตัวชี้วัด แสดงความยั่งยืนของชุมชน โดยมุ่งรักษาความสมดุลของสิ่งแวดล้อมและสวัสดิการภายในชุมชน สำหรับในประเทศไทย หมายถึง การประกอบกิจการโดยชุมชน นำทุนในชุมชนผสมผสานกับองค์ความรู้ใหม่และเทคโนโลยี ผลิตสินค้าและบริการให้ชุมชนมีอาชีพและรายได้พึ่งตนเองได้ (ศรีปริญญา ธูปกระจ่าง, 2546)
ในความหมายของต่างประเทศ หมายถึง การประกอบการหรือโครงการ/กิจการของคนในชุมชน โดยมุ่งประโยชน์เชิงพาณิชย์และผลทางสังคมให้กับชุมชนเป็นตัวชี้วัด แสดงความยั่งยืนของชุมชน โดยมุ่งรักษาความสมดุลของสิ่งแวดล้อมและสวัสดิการภายในชุมชน สำหรับในประเทศไทย หมายถึง การประกอบกิจการโดยชุมชน นำทุนในชุมชนผสมผสานกับองค์ความรู้ใหม่และเทคโนโลยี ผลิตสินค้าและบริการให้ชุมชนมีอาชีพและรายได้พึ่งตนเองได้ (ศรีปริญญา ธูปกระจ่าง, 2546)
สำหรับกรมการพัฒนาชุมชน (อ้างถึงใน ศรีปริญญา ธูปกระจ่าง, 2546) ให้ความหมายของวิสาหกิจชุมชนว่า วิสาหกิจชุมชนนั้นไม่ใช่ธุรกิจ หากแต่วิสาหกิจชุมชน ตามความหมายของกรมการพัฒนาชุมชนให้น้ำหนักกับหลักความสามัคคีธรรมของชุมชน ผนึกกำลังหล่อหลอม ความคิดเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน สร้างสรรค์การประกอบกิจการโดยชุมชนจากพื้นฐานภูมิปัญญาเดิม ผสมผสานองค์ความรู้ใหม่ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม นำมาบริหารจัดการต้นทุนในชุมชนให้เกิดผลผลิตที่มีอรรถประโยชน์สูงสุดต่อชุมชน โดยการสร้างอาชีพที่ยั่งยืนและรายได้ที่มั่นคง
ความเป็นมาของแนวคิดเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชนวิสาหกิจชุมชนเป็นนโยบายของรัฐบาล
โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่
12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 เห็นชอบให้จัดโครงสร้างส่วนราชการตามที่สำนักงาน
ก.พ. เสนอให้กลุ่มงานพัฒนาชุมชนอยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย
มีภารกิจสำคัญคือ การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
แนวคิดวิสาหกิจชุมชนของกรมการพัฒนาชุมชน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานพระราชดำริในการพัฒนาชุมชน
เพื่อความยั่งยืน โดยหลักการ “ทฤษฎีใหม่” 3 ขั้น คือ (ศรีปริญญา ธูปกระจ่าง, 2546)
ขั้นที่ 1 มีความพอเพียง เลี้ยงตนเองได้ บนพื้นฐานของความประหยัด
และขจัดการใช้จ่าย
ขั้นที่ 2 รวมพลังกันในรูปกลุ่มเพื่อการผลิต การตลาด การจัดการ
รวมทั้งด้านสวัสดิการการศึกษา และการพัฒนาสังคม
ขั้นที่ 3 สร้างเครือข่าย กลุ่มอาชีพและขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หลากหลาย
โดยประสานความร่วมมือกับภาคธุรกิจ ภาคองค์กรพัฒนาเอกชน และภาคราชการในด้านเงินทุนการตลาด การผลิต การจัดการและข่าวสารข้อมูล
โดยประสานความร่วมมือกับภาคธุรกิจ ภาคองค์กรพัฒนาเอกชน และภาคราชการในด้านเงินทุนการตลาด การผลิต การจัดการและข่าวสารข้อมูล
องค์ประกอบของวิสาหกิจชุมชน
กิจการของชุมชนที่นับได้ว่าเป็นวิสาหกิจชุมชน ควรมีองค์ประกอบ ดังนี้ (ศรีปริญญา ธูปกระจ่าง, 2546)
1. เป็นกิจการของชุมชนที่ประกอบกิจการด้านการผลิต
บริการ และอื่นๆ
2. ทุนในการดำเนินงาน จะใช้ทั้งทุนภายนอกและทุนของชุมชน
3. เป็นกิจการที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน
4. เป็นกิจการที่เน้นการส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้
5. เป็นกิจการที่เน้นการบริหารจัดการโดยคณะบุคคลในชุมชน
6. เป้าหมายของกิจการเพื่อการพึ่งตนเองและเป็นการสร้างรายได้
7. ผลการดำเนินกิจกรรมส่งผลประโยชน์แก่ชุมชน
รูปแบบดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน มี 2 รูปแบบคือ
1. วิสาหกิจที่ประกอบกิจการเดี่ยว ได้แก่ วิสาหกิจที่ประกอบกิจการเพียงหนึ่งเดียว
โดยคณะผู้บริหารในชุมชนชุดเดียว และไม่สร้างเครือข่ายกับวิสาหกิจอื่นๆ โดยมีผลผลิตมากกว่าหนึ่งผลิตภัณฑ์หรือบริการได้
2. วิสาหกิจที่ประกอบกิจการในรูปเครือข่าย ได้แก่ วิสาหกิจที่มีปฏิสัมพันธ์กับกิจการอื่นๆ
โดยแต่ละวิสาหกิจต่างมีการประกอบการตามเป้าหมาย วัตถุประสงค์ของกิจการ หากแต่มีปฏิสัมพันธ์กันแบบพึ่งพา
เกื้อกูล เชื่อมโยงในรูปแบบต่างๆ เช่น 1) เครือข่ายกิจกรรม เกื้อกูลกันมากันเป็นเครือข่ายกัน
ทั้งที่เป็นกิจกรรมประเภทเดียวกัน และ/หรือหลายประเภท
2) เครือข่ายพื้นที่ ได้แก่ วิสาหกิจที่ดำเนินการอยู่ในระดับพื้นที่เดียวกัน
เช่น ระดับหมู่บ้านหรือตำบลด้วยกันหรือต่างระดับพื้นที่กัน เช่น วิสาหกิจระดับหมู่บ้านกับตำบลมาเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกัน
ระดับวิสาหกิจชุมชน
มี 3 ระดับ สอดคล้องตามทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่
9 คือ
1. วิสาหกิจชุมชนระดับพื้นฐาน ได้แก่ วิสาหกิจที่มีการประกอบการเพื่อให้เกิดผลผลิต
มีพอที่จะนำไปกินไปใช้อย่างพออยู่พอกิน
2. วิสาหกิจชุมชนระดับพัฒนา ได้แก่ วิสาหกิจที่มีการประกอบเพื่อให้ผลผลิตมีพอกินพอใช้
เพื่อลดรายจ่ายและมีส่วนเหลือสามารถนำไปแบ่งปัน แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายให้เกิดรายได้เพิ่มนำไปสู่การอยู่ดีกินดีของครัวเรือนชุมชนและระหว่างชุมชน
3. วิสาหกิจชุมชนระดับก้าวหน้า ได้แก่ วิสาหกิจที่มีการประกอบการมุ่งสู่การเพิ่มรายได้
ไปสู่การขยายการลงทุน งดการนำเข้าเพื่อการส่งออกของผลิตภัณฑ์ ขยายกิจการ ขณะเดียวกันก็สามารถจัดสรรผลกำไร
เพื่อสวัสดิการของชุมชนหรือเพื่อกิจการสาธารณะประโยชน์ สร้างความมั่งมีศรีสุข ของครัวเรือน
ชุมชน ขยายไปถึงระหว่างชุมชนและนำไปสู่การเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่อไป
การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
กรมการพัฒนาชุมชน ได้มีการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนในปี พ.ศ. 2546 (ศรีปริญญา ธูปกระจ่างม 2546) ดังนี้
1. การดำเนินโครงการคลินิกสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
เพื่อเป็นศูนย์กลางในการให้คำแนะนำปรึกษา ให้ข้อเสนอแนะให้บริการทางวิชาการและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แก่ประชาชนทุกรูปแบบ
รวมทั้งเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมประสานและแสวงหาทรัพยากรโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในด้านข้อมูล
ทุน การผลิต การตลาด และการประชาสัมพันธ์ ในลักษณะของการบูรณาการและสร้างเครือข่ายแก่ประชาชน
2. โครงการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนระดับจังหวัด ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนระดับจังหวัด
ใช้กลยุทธ์ในกระบวนการพัฒนาหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยจังหวัดพิจารณา ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติครบองค์ประกอบของวิสาหกิจชุมชน
ได้แก่ กิจการของชุมชนดำเนินการโดยทุนของชุมชน และมีการบริหารจัดการที่เหมาะสม ดำเนินการด้วยหลักสามัคคีธรรมเน้นกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้/ประชาคมตำบล และมีเป้าหมายการพึ่งพาตนเองของชุมชนจังหวัดละ 1 แห่ง เพื่อการประชาสัมพันธ์งานวิสาหกิจชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน และติดตามประเมินผล
ศึกษากระบวนการก่อเกิดและพัฒนา เพื่อผลการศึกษาจะเป็นข้อมูลประกอบการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน
ต้นแบบที่มีศักยภาพนำไปสู่การขยายผลต่อไป
3. การจัดตั้งศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้าชุมชน หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
(Outlet)
เพื่อเพิ่มแหล่งจำหน่ายและกระจายสินค้าให้กับสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
4. ดำเนินการฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้ด้านกฎหมายธุรกิจชุมชน
เพื่อให้ผู้นำเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน มีความรู้ด้านกฎหมายธุรกิจชุมชนและสามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการด้านวิสาหกิจชุมชนต่อไป
5. จัดสัมมนาการจัดตั้งเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน
6. ฝึกอบรมพัฒนาเทคโนโลยีด้านการผลิตพัฒนาคุณภาพบรรจุภัณฑ์
7. การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น บริหารจัดการและพัฒนาผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน
8. การประชุมเชิงปฏิบัติการเพิ่มพูนทักษะด้านการบริหารจัดการ
9. ฝึกอบรมสร้างวิทยากรท้องถิ่นวิสาหกิจชุมชน ศพช.
เขต 1,3,5,6,7,8,9
10. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านวิสาหกิจชุมชน
11. สนับสนุนการบันทึกและเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น
12. การวิจัยประเมินผลการมีส่วนร่วมด้านวิสาหกิจชุมชนจึงเห็นได้ว่าวิสาหกิจชุมชน
เป็นงานพัฒนาชุมชน ด้วยวิสาหกิจชุมชน คือ กิจกรรมการพัฒนาชุมชน ที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน
โดยชุมชน เพื่อชุมชน
สรุปแนวคิดวิสาหกิจชุมชนสู่เศรษฐกิจสากล
การประกอบกิจการวิสาหกิจชุมชนร่วมกัน สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปสู่การประชาคมเป็นหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
(OTOP) และในที่สุดจะก้าวไปถึงการเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(SMEs) และสามารถพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากนำไปสู่เศรษฐกิจสากล
(Local Link - Global Reaches) ได้ดังนี้
(ศรีปริญญา ธูปกระจ่าง, 2546)
(ศรีปริญญา ธูปกระจ่าง, 2546)
ภาพ: ความเชื่อมโยงของการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากไปสู่เศรษฐกิจสากล
ที่มา: ศรีปริญญา ธูปกระจ่าง
(2547)
ยุทธศาสตร์มหาดไทย ปี พ.ศ. 2541-2551 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยนำผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นทะเบียนไว้แล้วในระดับตำบลมาทำการพัฒนาให้ได้มาตรฐานและจัดหาหนทางจำหน่ายเพิ่มขึ้น
ได้กำหนดภารกิจและกลยุทธ์ ดังนี้
1. ภารกิจการส่งเสริมการใช้และพัฒนาภูมิปัญญา มี
3 กลยุทธ์ คือ 1) ใช้ทุนภูมิปัญญาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
2) พัฒนาภูมิปัญญาโดยฝึกอบรมวิทยากรท้องถิ่น ผู้นำการผลิตและ
3) วิจัยและพัฒนาภูมิปัญญาและรูปแบบผลิตภัณฑ์
2. ภารกิจส่งเสริมการจัดการและสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน
6 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) พัฒนามาตรฐานการผลิต
2) จัดประกวดและคัดเลือกผลิตภัณฑ์ 3) สร้างช่องทางการจำหน่าย
(Outlet) ระดับภาคและสถานที่ทั่วไป 4) สร้าง
E-Commerce ทุกจังหวัด 5) พัฒนาระบบสารสนเทศ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลสินค้าทุกจังหวัด
และ 6) ใช้เครือข่ายผู้นำในงานพัฒนาชุมชนในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์
โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (One Tombola One Product: OTOP) เป็นนโยบาย เร่งด่วนด้านหนึ่งเกิดขึ้นอย่างจริงจัง
ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชิณวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีเพื่อแก้ปัญหาความยากจนของประชาชน โดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาสินค้า หรือบริการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสามารถแข่งขันกับสินค้าในตลาดใหญ่ได้มากขึ้น
หากจะกล่าวไปแล้ว โครงการศิลปาชีพซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเมื่อ
พ.ศ. 2513 ในกิจกรรมโครงการทอผ้าไหมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและได้พัฒนาเป็นมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ
น่าจะเป็นจุดแรกเริ่มแนวคิดนี้ แต่โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่รัฐบาลไทยเคยเกิดขึ้นในระยะหนึ่ง
แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐเท่าที่ควร ไม่มีการจัดรูปแบบอย่างเป็นระบบ ไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชนจึงไม่ประสบความสำเร็จ
ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นแม่แบบโครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
โครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ (One Village
One Product) โดยการริเริ่มของผู้ว่าราชการจังหวัด นายโมริฮิโกะ ฮิรามัทซึ
(Mr. Morihiko Hiramatsu) จังหวัดโออิตะ (Oita) เมื่อ พ.ศ. 2522 ท่านพบว่าท้องถิ่นกำลังขาดแคลนประชากรวัยหนุ่มสาว และปัญหาสาธารณูปโภคไม่เพียงพอ
และไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลกลาง เพื่อป้องกันหนุ่มสาวละทิ้งถิ่นฐานไปทำงานที่อื่น
จึงเกิดโครงการดังกล่าว เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้คนรักถิ่น จัดทำแผนชักจูงอุตสาหกรรมที่ใช้ความรู้และเทคโนโลยีระดับสูงเข้ามาช่วยปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
หมู่บ้านแต่ละแห่งผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเป็นที่ภาคภูมิใจ และเหมาะสมกับสภาวะภูมิประเทศ
ภูมิอากาศของท้องถิ่นอย่างน้อย 1 ผลิตภัณฑ์ ไม่จำเป็นต้องเป็นสินค้า
อาจนำวัฒนธรรม ท้องถิ่น เช่น การละเล่นพื้นบ้าน ประเพณีวันสำคัญ มาประยุกต์เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
รวมทั้งพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่มีอยู่ มีการตั้งเป้าหมายให้กิจกรรมต้องพัฒนา
จนเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติ โดยข้าราชการท้องถิ่นต้องร่วมมืออำนวยความสะดวก
ประสานงาน ประชาสัมพันธ์ ช่วยเหลือข้อมูลให้ความรู้ และทำการศึกษาวิจัยเพื่อสนับสนุนการประกอบการของประชาชนในท้องถิ่น
ใช้งบประมาณภาษีที่ส่วนกลางแบ่งกลับคืนมา หมู่บ้านใดมีศักยภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์มากกว่า
1 ผลิตภัณฑ์ก็สามารถทำได้
โครงการนี้ให้ความสำคัญด้านการพัฒนาคน เพราะถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดต่อผลสำเร็จของโครงการ
มีการจัดตั้งโรงเรียนฝึกอบรมให้คนสามารถพัฒนาตนเอง นำความเจริญมาสู่ท้องถิ่นและใช้ชีวิตผูกพันกับท้องถิ่น
เน้นภาคปฏิบัติ นักศึกษามีโอกาสร่วมจัดการชุมชนเพื่อแก้ปัญหาท้องถิ่นมากขึ้น
ความสำเร็จของโครงการมาจากระบบการจัดการที่ดี ความสามารถของรัฐในการระดมพลังทุกคนในท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการผลิตผลิตภัณฑ์
หรือพัฒนาท้องถิ่นให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวผนวกกับการทำงานอย่างจริงจัง ต่อเนื่องของผู้คนในท้องถิ่น
นำมาซึ่งรายได้และความภาคภูมิใจในผลงานและแผ่นดินเกิด อันเป็นแรงจูงใจให้มุ่งมั่นทำงานต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด
สำหรับประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์พื้นบ้านที่มีศักยภาพในการเพิ่มมูลค่าหลายชนิดมีหน่วยงานหลายหน่วยเข้ามาช่วยส่งเสริมพัฒนา
ในระยะเวลา 2 ปี นโยบายนี้ได้สร้างมูลค่าผลผลิตให้กับประชาชนร่วม
20,000 บาทต่อปีและมีแนวโน้มสูงขึ้น เมื่อชนบนเป็นแหล่งที่สามารถประกอบอาชีพได้เป็นอย่างดี
คนหนุ่มสาวก็จะไม่ทิ้งถิ่นไปทำมาหากินที่อื่น ทำให้คนในครอบครัวอยู่รวมกันอย่างอบอุ่น
ขณะเดียวกันเป็นกำลังในการพัฒนาชุมชนของตนเอง นโยบายนี้จึงได้รับการถ่ายทอดให้ขยายผลต่อไป
(บุนนาค ตีวกุล 2546) เช่น การจัดตั้งศูนย์ออกแบบวิเคราะห์
เทคโนโลยีการผลิต ช่องทางการตลาดทั้งในและนอกประเทศ สร้างที่แสดงสินค้าไทยในเมืองใหญ่ๆ
เป็นต้น
โดยสรุป จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จะเห็นได้ว่าภารกิจของกรมการพัฒนาชุมชนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานวิสาหกิจชุมชน
โดยส่งเสริมให้ชุมชน นำต้นทุนในชุมชน เช่น สินทรัพย์ เงินแรงงาน ทรัพยากร และภูมิปัญญา
ฯลฯ มาบริหารจัดการประกอบการผลิต การบริการและอื่นๆ ด้วยองค์ความรู้ใหม่ ฐานข้อมูล
ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีที่เหมาะสม พัฒนาผลผลิตให้มีมาตรฐาน สร้างช่องทางการตลาด เชื่อมโยงเครือข่าย
และการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนให้เป็นนิติบุคคล ทำให้ครัวเรือนมีรายได้พ้นเกณฑ์ จปฐ. มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยดำเนินวิถีชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
นำไปสู่การมีชุมชนที่เข้มแข็ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น