หน้าแรก

วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Key Success Factors



Key Success Factors

เขียนโดย
วชิรวัชร  งามละม่อม
Wachirawachr  Ngamlamom

ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการแข่งขัน (Key Success Factors, KSF) เป็นปัจจัยหลักที่ใช้กำหนดความสำเร็จทั้งทางด้านการเงินและการแข่งขันในแต่ละอุตสาหกรรม KSF จะระบุถึงปัจจัยต่างๆ ที่องค์กรธุรกิจต่างๆควรจะต้องมีเพื่อที่จะประสบความสำเร็จในการแข่งขันในแต่ละอุตสาหกรรม เมื่อองค์กรธุรกิจทราบถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จในการแข่งขันของแต่ละอุตสาหกรรมแล้วก็จะต้องพยายามเสริมสร้างความสามารถภายในขององค์กรเองให้เหมาะสม  และสอดคล้องกับปัจจัยแห่งความสำเร็จในอุตสาหกรรมนั้นๆ ถ้ามีความเหมาะสมระหว่างจุดแข็งหรือความสามารถภายในองค์กรกับปัจจัยเหล่านั้นแล้ว ก็มีโอกาสอย่างมากที่องค์กรจะประสบความสำเร็จในการแข่งขันในอุตสาหกรรมนั้นๆ ตัวอย่างเช่น ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (KSF) ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มประเบียร์ได้แก่ การใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุดจากอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ เพื่อให้ต้นทุนในการผลิตต่ำ การมีสายสำพันธ์ที่ดีกับผู้จัดจำหน่าย รวมทั้งการโฆษณาซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ สำหรับในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ปัจจัยแห่งความสำเร็จได้แก่ การออกแบบที่ดึงดูดใจ และต้นทุนในการผลิตที่เหมาะสม

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าความสามารถของผู้บริหารในแต่ละองค์กรที่จะระบุหรือบ่งชี้ปัจจัยแห่งความสำเร็จในอุตสาหกรรมที่ตนเองแข่งขันอยู่เป็นสิ่งซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดทำกลยุทธ์ ผู้บริหารในแต่ละองค์กรจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในอุตสาหกรรมของตนเองอย่างดีพอที่จะสามารถบ่งบอกได้ว่าอะไรที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กรธุรกิจในแต่ละอุตสาหกรรม เนื่องจากปัจจัยแห่งความสำเร็จสามารถที่จะเป็นพื้นฐานและแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์ของแต่ละองค์กรธุรกิจ องค์กรบางแห่งประสบความสำเร็จเหนือคู่แข่งขันโดยการให้ความสำคัญต่อการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งในปัจจัยแห่งความสำเร็จให้ดีกว่าคู่แข่งขัน (ผศ.ดร.พักตร์พจง วัฒนสินธุ์ และดร.พสุ เดชะรินทร์, 2542: 144)
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factor) เพื่อให้การดำเนินการจัดการความรู้ตามเป้าหมาย KM ที่เลือกดำเนินการสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมภายในองค์กร คือ
1. นโยบายของผู้บริหารทั้งระดับมหาวิทยาลัย ระดับคณะ สถาบัน สำนัก วิทยาลัย กอง และหน่วยงานอื่นๆ ต้องมีความชัดเจน
2. ผู้บริหารทุกระดับให้ความสำคัญ และให้ความร่วมมือ
3. ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ทุกระดับให้ความร่วมมือและมีความพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนทัศนคติในการทำงาน โดยใช้ความรู้เป็นฐาน และพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนอื่น
4. CKO คุณอำนวย และคุณกิจ มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการความรู้เพียงพอและมีความเข้าใจในทิศทางการจัดการความรู้
5. มีระบบการติดตามประเมินผลการจัดการความรู้อย่างเป็นรูปธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น