แนวคิดกลยุทธ์การบริหารงาน
เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร
งามละม่อม
Wachirawachr Ngamlamom
ความหมายเกี่ยวกับการจัดการเชิงกลยุทธ์คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเชิงกลยุทธ์
นั้นมีความหมายที่แตกต่างกันบ้างในรายละเอียดแต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีความหมายคล้าย
คลึงกัน ดังนี้การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นศาสตร์ที่มีมานานโดยคำว่า “กลยุทธ์”หรือ Strategic มีที่มาจากคำว่า Strategia ในภาษากรีกซึ่งหมายความว่า Generalship โดยคำว่า
“ยุทธศาสตร์” มักจะถูกนำมาใช้ในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการทหาร
และได้เข้าสู่แวดวงการศึกษาในเวลาต่อมา
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสศึกษาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในธุรกิจ
และต้องการให้เกิดการนำไปสู่การจัดทำนโยบายทางธุรกิจที่นำไปใช้เป็นแนว
ทางในการดำเนินงานได้ในอนาคตการจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) โดยทั่วไป หมายถึง การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) วัตถุประสงค์ (Objective) เป้าหมาย (Goal) ขององค์การในระยะสั้นและระยะยาว
จากนั้นจึงวางแผนทำกิจกรรมต่างๆ
เพื่อให้องค์การสามารถดำเนินงานตามพันธกิจอันนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้
นอกจากนั้นเนื่องจากสภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ซึ่งอาจก่อให้เกิดโอกาส หรืออุปสรรคแก่องค์การได้ องค์การจึงจำเป็นต้องพิจารณาสภาพแวดล้อมภายในขององค์การ
เพื่อหาจุดแข็งหรือจุดอ่อนในการที่จะสามารถหลีกเลี่ยงจากอุปสรรคหรือใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มีอยู่นั้นได้
ดังนั้นการจัดการเชิงกลยุทธ์จึงเป็นการบริหารโดยคำนึงถึง 1) ลักษณะการดำเนินงานขององค์การ
2) ลักษณะธุรกิจในอนาคต 3) สภาพแวดล้อม 4)
การจัดสรรทรัพยากร 5) การปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์
แนวคิดที่สำคัญในการจัดการเชิงกลยุทธ์แนวคิดพื้นฐานที่สำคัญของการจัดการเชิงกลยุทธ์
คือ การกำหนดภารกิจ
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของกิจการทั้งในระยะสั้นและระยะยาวโดยการจัดการเชิงกลยุทธ์และการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์จะมีผลต่อการดำเนินงานในระยะยาวดังนั้นองค์การจึงต้องมีการวางแผนการทำกิจกรรมต่างๆ
เพื่อให้การดำเนินงานตามภารกิจบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
ทั้งนี้เพื่อให้ตอบสนองต่อกระแสการเปลี่ยนแปลง
ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคและบดบังโอกาสในการก้าว หน้าขององค์การได้ฉะนั้นองค์การจึงต้องพิจารณาถึงจุดแข็งที่มีอยู่แล้วนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์
และพิจารณาถึงจุดอ่อนขององค์การเพื่อหาแนวทางขจัดจุดอ่อนเหล่านั้นในแนวคิดด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์นั้นจะมีความแตกต่างไปจากการจัดการโดยทั่วไป
ซึ่งมักจะศึกษาถึงบทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร
ตามกระบวนการหรือขั้นตอนต่างๆ
และเน้นหนักไปที่การจัดการและการบริหารภายในองค์การ
แต่การจัดการเชิงกลยุทธ์จะให้ความสำคัญกับปัจจัยต่างๆโดยเฉพาะปัจจัยภายนอกองค์การ
หรือสภาวะแวดล้อมภายนอกด้านต่างๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการแข่งขัน
คำนึงถึงการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาว
และสภาวะการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมการจัดการกลยุทธ์ยังคำนึงถึงความความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์การ (Stakeholders) และการจัดการเชิงกลยุทธ์ยังทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงประสานหน่วยต่างๆ
ในองค์การให้สามารถบริหารจัดการเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การร่วมกัน
หลักการสำคัญของการจัดการเชิงกลยุทธ์การจัดการเชิงกลยุทธ์จะนำไปสู่การเพิ่มโอกาสของความสำเร็จและความล้มเหลวขององค์การได้อย่างไรนั้น
มีหลักสำคัญดังนี้
1.
การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทาง ภารกิจ และวัตถุประสงค์ขององค์การธุรกิจอย่างเป็นระบบ
ดังนั้นการจัดการเชิงกลยุทธ์จึงเป็นสิ่งที่กำหนดทิศทางขององค์การ
และช่วยให้นักบริหารปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
การตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงนั้น
ทำให้นักบริหารสามารถกำหนดวัตถุประสงค์และทิศทางการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม
สอดคล้องกับสภาวะความเปลี่ยนแปลงได้
2.
การจัดการเชิงกลยุทธ์ยังนำไปสู่การจัดการความเปลี่ยน
แปลงที่ดีขึ้นเนื่องจากมีการเตรียมรับกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงไว้แล้ว
ทำให้องค์การค้นหาแนวทางที่เหมาะสมที่สุดต่อองค์การท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่างๆ
ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง
ทั้งนี้เนื่องจากการจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการกำหนดวิธีการหรือแนวทางในการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ
ขององค์การเพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การที่ตั้งไว้
3.
การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการนำแนวทางในการดำเนินองค์การที่คิดค้นสร้างสรรค์ขึ้น
และนำมาประยุกต์ใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
ดังนั้นความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักบริหาร
4.
การวางแผนกลยุทธ์เป็นหน้าที่หลักของนักบริหารเนื่องจากต้องวางแผนประยุกต์ใช้
และกำหนดทิศทางในการดำเนินงานขององค์การ การจัดทำและปฏิบัติให้สอดคล้องตามแผนกลยุทธ์จึงมีความสำคัญโดยเฉพาะในระยะยาว
ดังนั้นความสามารถในการกำหนดกลยุทธ์ของนักบริหาร
และความสามารถในการควบคุมให้การปฏิบัติเป็นไปตามกลยุทธ์ที่วางไว้ได้
จะเป็นสิ่งสะท้อนศักยภาพและและสะท้อนของผู้บริหารได้เป็นอย่างดี
5. การจัดการเชิงกลยุทธ์ทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน
จะช่วยสร้างประสิทธิภาพและศักยภาพในการแข่งขันให้แก่ธุรกิจ
และเสริมสร้างการพัฒนาขีดความสามารถทางการบริหารของนักบริหาร
รวมทั้งช่วยเตรียมความพร้อมและพัฒนาบุคลากรที่อยู่ภายในองค์การ
เนื่องจากการพัฒนาเชิงกลยุทธ์จะต้องมีการสร้างความเข้าใจและแนวทางในการเตรียมพร้อมเพื่อรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นของสภาพแวดล้อมและคู่แข่ง
นอกจากนี้แล้วการจัดการเชิงกลยุทธ์ยังช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในองค์การเข้าใจในภาพรวม
โดยเฉพาะเป้าหมายในการดำเนินงานทำให้สามารถจัดลำดับการดำเนินงานตามลำดับความสำคัญเร่งด่วนได้
6.
การจัดการเชิงกลยุทธ์ช่วยให้การทำงานเกิดความสอดคล้องในการปฏิบัติหน้าที่
เนื่องจากมีการกำหนดกลยุทธ์ การประยุกต์ใช้ และการตรวจสอบควบคุมไว้อย่างชัดเจน
ทำให้เกิดความเข้าใจตรงกันและเกิดความร่วมมือ
โดยเฉพาะความเข้าใจในวัตถุประสงค์ขององค์การ อีกทั้งจะช่วยให้มีการจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับการบริหารองค์การในส่วนต่างๆ
องค์ประกอบของการจัดการเชิงกลยุทธ์การจัดการเชิงกลยุทธ์
มีองค์ประกอบพื้นฐาน 5 ประการ คือ
1.
การกำหนดทิศทาง (Direction Setting) ในการกำหนดทิศทางขององค์การจะประกอบด้วย
การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) และการกำหนดภารกิจ
(Mission) หรือกรอบในการดำเนินงานที่ชัดเจนจะช่วยให้องค์การสามารถกำหนดทิศทางในระยะยาว
อีกทั้งยังแสดงถึงความตั้งใจในการดำเนินธุรกิจอีกด้วยภารกิจ (Mission) ในกระบวนการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์นั้น ขั้นแรกองค์การจะต้องระบุภารกิจและเป้าหมายหลักที่สำคัญของบริษัทซึ่งภารกิจ
หมายถึง ประกาศหรือข้อความของบริษัทที่พยายามกำหนดว่าจะทำอะไรในปัจจุบัน
และกำลังจะทำอะไรในอนาคตและองค์การเป็นองค์การแบบใด
และจะก้าวไปสู่การเป็นองค์การแบบใดทั้งนี้เพื่อบรรลุสู่ความเป็นเลิศเหนือคู่แข่ง
ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วข้อความเรื่องภารกิจขององค์การจะประกอบไปด้วยข้อความที่บ่งบอกถึงคุณค่าทางปรัชญาสำคัญที่ผู้บริหารตัดสินใจกระทำซึ่งแสดงถึงพันธะของบริษัทที่มีต่อเป้าหมายและสอดคล้องกับคุณค่าของผู้บริหาร
นอกจากนี้แล้วภารกิจยังจะสร้างสภาพแวดล้อมในการกำหนดกลยุทธ์อีกด้วยเป้าหมาย
(Gold) คือการบอกถึงสิ่งที่องค์การปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคต
และพยามบรรลุ โดยมีการกำหนดให้ชัดเจนกระชับ ตรงจุด และสามารรถวัดได้
ทั้งนี้การกำหนดเป้าหมายจะมีการกำหนดให้ชัดเจนขึ้นกว่าการกำหนดภารกิจว่าจะต้องทำสิ่งใด
2.
การประเมินองค์การและสภาพแวดล้อม (Environment Scanning) ในการประเมินสภาพแวดล้อมขององค์การนั้นจะประกอบไปด้วยการประเมินสภาพ
แวดล้อมภายนอก และการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทราบถึง
จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค
หรือโดยทั่วไปจะเรียกว่าการวิเคราะห์ตามตัวแบบสว็อท (SWOT Analysis) ได้แก่การวิเคราะห์จุดแข็ง (Strength – S) การวิเคราะห์จุดอ่อน (Weakness – W) การวิเคราะห์โอกาส (Opportunity
– O) การวิเคราะห์ภาวะคุกคาม (Threat - T)
3.
การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy Formulation) การกำหนดกลยุทธ์
เป็นการพัฒนาแผนระยะยาวบนรากฐานของโอกาสและอุปสรรค ที่ได้จากการวิเคราะห์สภาพ
แวดล้อมภายนอก และการวิเคราะห์จุดแข็ง
จุดอ่อนที่ได้จาการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
โดยองค์การจะต้องกำหนดและเลือกกลยุทธ์ที่ดีที่สุดที่เหมาะสมกับองค์การที่สุด
ผู้บริหารต้องพยายามตอบคำถามว่าทำอย่างไรองค์การจึงจะไปถึงเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ได้
โดยใช้ความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์การกำหนดเป็นกลยุทธ์
ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงระดับที่แตกต่างกันของกลยุทธ์ด้วย
4.
การดำเนินกลยุทธ์ (Strategy Implementation) การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ
คือกระบวนการที่ผู้บริหารแปลงกลยุทธ์และนโยบาย
ไปสู่แผนการดำเนินงาน กำหนดรายละเอียดด้านต่างๆ เช่น ด้านงบประมาณ
หรือวิธีการดำเนินงานซึ่งกระบวนการนี้อาจจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงภายในด้านวัฒนธรรมโครงสร้าง
หรือระบบการบริหารเพื่อให้สามารถดำเนินการตามกลยุทธ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม
โดยทั่วไปจะประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) ขั้นตอนของการกำหนดแผนและการจัดสรรทรัพยากร (Resources
Allocation) 2) ขั้นตอนของการปรับโครงสร้างองค์การ
เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของการใช้กลยุทธ์และการใช้ทรัพยากร เป็นต้น
3) ขั้นตอนของการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในส่วนของระบบและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล
เช่น เรื่องระบบข้อมูลข่าวสาร
ระบบบริหารบุคคล (การให้การศึกษา การให้การอบรม การกระตุ้น
ส่งเสริมให้บุคลากรในองค์การทำงานได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ) เป็นต้น
4) การกระจายกลยุทธ์ (Strategic Deployment) หากองค์การมีการสร้างวิสัยทัศน์
สร้างพันธกิจขึ้นมาแล้วแต่ไม่ได้มีการดำเนินการก็จะทำให้เกิดการสูญเปล่า (Waste) ได้ เพราะแม้ว่าแผนเหล่านั้นจะเป็นแผนงานที่ถูกจัดทำมาอย่างดี
ผ่านการระดมความคิดมาอย่างเข้มข้นเพียงใดก็ตาม
หากไม่ลงมือปฏิบัติก็ย่อมไม่เกิดผลเป็นรูปธรรมขึ้นดังนั้นเพื่อทำให้เกิดผลจึงจำเป็นต้องมีการกระจายแผนไปยังทุกๆ
ส่วนทั่วทั้งองค์การโดยต้องสอดประสานกับบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ อย่างชัดเจน
และเข้าใจได้ ซึ่งจากเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Strategic Goals) อาจถูกแปลงเป็นเป้าหมายย่อย
(Sub-Goals) กำหนดเป็นเป้าหมายประจำปี (Annual Goals)
จากนั้นจะแตกไปเป็นเป้าหมายของแต่ละกลุ่ม
แต่ละโครงการเพื่อให้ทราบว่า เป้าหมายของตนเองที่ชัดเจนนั้นคืออะไร และควรจะดำเนินการที่เรื่องใดก่อน ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานในระดับล่างสุดเข้าใจเป้าหมายที่ไม่คลาดเคลื่อนแล้วยังมีประโยชน์ต่อกระบวนการในการวัดผลที่เหมาะสมด้วย
ทั้งยังช่วยให้มีการจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสมพอดี
เพียงเพื่อให้บรรลุผลในแต่ละกลุ่มหรือแต่ละโครงการนั่นเองความสำเร็จขององค์การนั้นเกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพในการนำกลยุทธ์ไปประยุกต์ปฏิบัติทั้งนี้ผู้บริหารควรมีการมอบหมาย
และกำหนดแนวทางหรือวิธีการในการปฏิบัติงาน
สิ่งที่สำคัญในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จนั้นผู้ปฏิบัติจะต้องมีความรู้
ความเข้าใจ และทักษะในการปฏิบัติงานอย่างถ่องแท้
5.
การประเมินผลและการควบคุม (Evaluation and Control) การควบคุมกลยุทธ์
เป็นหน้าที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการติดตาม ตรวจสอบ
ประเมินผลกลยุทธ์ที่นำไปปฏิบัติ
ทั้งนี้ในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัตินั้นมักจะเกิดข้อผิดพลาดที่ต้องการการปรับปรุง
เพื่อให้แน่ใจว่ากลยุทธ์นั้นจะก่อให้เกิดผลการปฏิบัติงานที่ตรงตามแผนที่ได้ตั้งไว้การตรวจสอบกลยุทธ์
(Strategic Control) จะมีการวัดผลทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
มีการกำหนดเกณฑ์และมาตรฐาน
โดยมาตรวัดการดำเนินงานที่เหมาะสมกับแต่ละองค์การซึ่งในแต่ละองค์การจะมาตรฐานและเกณฑ์การดำเนินงานของตนเอง
ทั้งนี้การกำหนดมาตรฐานควรมีความระมัดระวังเพื่อให้สามารถสะท้อนผลการทำงานได้อย่างเป็นรูปธรรมในการติดตาม
ควบคุม และประเมินผลนั้น
จำเป็นที่จะต้องมีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแลแผนกลยุทธ์โดยเฉพาะซึ่งจะต้องมีบุคลากรที่มีความรับผิดชอบเต็มเวลาที่สามารถทุ่มเทให้กับการติดตามและประเมินผลได้อย่างเต็มที่
หน่วยงานนี้ควรอยู่กับฝ่ายวางแผนที่มีผู้บริหารในฝ่ายอยู่ในระดับผู้บริหารชั้นสูง
อย่างไรก็ตามในการดำเนินกลยุทธ์นั้นจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือที่ดีจากทุกฝ่ายตลอดเวลาจึงอาจมีความจำเป็นในการตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนกลยุทธ์ที่ประกอบด้วยผู้แทนระดับบริหารจากฝ่ายต่างๆ
ขึ้นร่วมด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น