แนวคิดการพัฒนาทวิภาค
เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร งามละม่อม
Wachirawachr Ngamlamom
ผู้ที่มีแนวความคิดคล้ายคลึงกันในเรื่องการพัฒนาทวิภาคนี้ มี ดับเบิลยู อาร์เธอร์ เลวิส (W. Arthur Lewis) กัสดาฟ
เรนิส (Gustav Renis) จอห์น ซี เอช ฟี (John C. H.
Fei) และ เดล ดับเบิลยู จอร์แกนสัน (Dale W. Jorgenson) ได้กล่าวไว้ว่า “การโย้กย้ายปัจจัยด้านแรงงานจากภาคการเลี้ยงตัวเอง
(Subsistence Sector) ไปทำงานในภาคอุตสาหกรรม
จะช่วยลดความแตกต่างระหว่างทั้งสองภาคดังกล่าวได้และสามารถทำให้มีบูรณาการในระดับที่สูงขึ้นอย่างทั่วถึงของระบบเศรษฐกิจ”
กัสตาฟ เรนิส (Gustav Renis) และจอห์น
ซี เอช ฟี (John C. H. Fei) ได้กล่าวไว้ในเรื่องทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจ
โดยกล่าวถึงแรงงานส่วนเกินในภาคการเกษตรซึ่งมีอัตราการเกิดสูงมาก ทั้ง เรนิส และฟี
อาศัยผลงานของเลนิส โดยเสนอตัวแบบสองภาค (Two-Sector Model) และสังเกตดูการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมหรือการลงทุนซึ่งสนับสนุนโดยมีแรงงานอย่างมากมายและราคาค่าจ้างถูกจากภาคเกษตรกรรม
การวิเคราะห์ของเขาอาศัยขั้นตอนการออกเดินทาง (Take-Off) ของการพัฒนาเศรษฐกิจของ
โรสโตว์ โดยใช้เวลา 20-30 ปี
เป็นการสร้างทฤษฎีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งมีสองขั้นตอน คือ
ตอนแรกมีข้อสมมติเกี่ยวกับโครงสร้างเบื้องต้นของตัวแบบโดยเน้นการวิเคราะห์บทบาทของภาคเกษตรที่ถูกละเลย
ตอนสองลักษณะที่เริ่มจากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีแรงผลักดันให้ตัวเอง
กล่าวคือ
มีการกระทำกิจกรรมทางด้านอุตสาหกรรมซึ่งส่วนหนึ่งมาจากแรงกระตุ้นของการมีแรงงานส่วนเกินอย่างมากมาย
ทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจทวิภาค (Development of a Dual Economy) อธิบายโดย เดล ดับเบลยู จอร์เกนสัน (Dale W. Jorgenson) ในชั้นแรกได้กล่าวถึงทฤษฎีและตัวแบบที่ใช้ในระบบเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วทั้งหลาย
เช่น ทฤษฎีความเจริญเติบโต ฮาร์รอด โดมาร์ (Horrod-Domar Theory of Growth)
ตัวแบบวงจรและความเจริญเติบโต ดิวเชนเบอร์รี่ สมิธ (Duesenburry-Smithies
Model of Cycles and Growth)
ตัวแบบความเจริญเติบโตคลาสสิคใหม่ โตบินโซโล (Tobin-Solow Neo-Classical Growth Model) และตัวแบบความเจริญเติบโต แคลดอร์ (Kaldor Model of Growth) ซึ่งเป็นตัวแบบที่สร้างขึ้นมาโดยผู้รู้และเหมาะสมที่จะใช้ในสังคมที่พัฒนาทั้งหลาย ส่วนทฤษฎีที่เหมาะสมจะใช้ในสังคมกำลังพัฒนาที่คุ้นเคยกันมากหน่อย ก็คือ ทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจประชากรศาสตร์ (Economic-Demographic Theory of Development) มีความแตกต่างอย่างมากระหว่างทฤษฎีทั้งสองแบบซึ่งควรใช้ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันด้วย ทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจประชากรศาสตร์มีจุดเน้นอยู่ที่การรักษาดุลยภาพระหว่างการสะสมทุนกับความเจริญเติบโตของประชากร โดยแต่ละด้านจะปรับตัวเข้าหาอีกด้านหนึ่ง ภาคสมัยใหม่ (Advanced or Modern Sector) กับภาคล้าหลังหรือโบราณ (Backward or Traditional Sector) ในแต่ละภาคจะมีกิจกรรมการผลิตที่มีลักษณะของความเกี่ยวข้องระหว่างผลผลิตกับปัจจัยการผลิต ซึ่งได้แก่ ที่ดิน แรงงาน และเงินทุน ลักษณะพิเศษของทฤษฎีนี้ ก็คือ ความไม่สมประกอบในเรื่องความสัมพันธ์ของการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมปัจจัยอื่นๆ ที่เหลือของทฤษฎีนี้ก็มี
ตัวแบบความเจริญเติบโตคลาสสิคใหม่ โตบินโซโล (Tobin-Solow Neo-Classical Growth Model) และตัวแบบความเจริญเติบโต แคลดอร์ (Kaldor Model of Growth) ซึ่งเป็นตัวแบบที่สร้างขึ้นมาโดยผู้รู้และเหมาะสมที่จะใช้ในสังคมที่พัฒนาทั้งหลาย ส่วนทฤษฎีที่เหมาะสมจะใช้ในสังคมกำลังพัฒนาที่คุ้นเคยกันมากหน่อย ก็คือ ทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจประชากรศาสตร์ (Economic-Demographic Theory of Development) มีความแตกต่างอย่างมากระหว่างทฤษฎีทั้งสองแบบซึ่งควรใช้ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันด้วย ทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจประชากรศาสตร์มีจุดเน้นอยู่ที่การรักษาดุลยภาพระหว่างการสะสมทุนกับความเจริญเติบโตของประชากร โดยแต่ละด้านจะปรับตัวเข้าหาอีกด้านหนึ่ง ภาคสมัยใหม่ (Advanced or Modern Sector) กับภาคล้าหลังหรือโบราณ (Backward or Traditional Sector) ในแต่ละภาคจะมีกิจกรรมการผลิตที่มีลักษณะของความเกี่ยวข้องระหว่างผลผลิตกับปัจจัยการผลิต ซึ่งได้แก่ ที่ดิน แรงงาน และเงินทุน ลักษณะพิเศษของทฤษฎีนี้ ก็คือ ความไม่สมประกอบในเรื่องความสัมพันธ์ของการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมปัจจัยอื่นๆ ที่เหลือของทฤษฎีนี้ก็มี
- ความเจริญเติบโตของประชากรที่ต้องขึ้นอยู่กับผลิตผลอาหารต่อหัวและการตาย
- อัตราการเกิดที่ต้องขึ้นอยู่กับผลิตผลอาหารต่อหัว
ถ้าผลิตอาหารได้เกินความต้องการ
ผลผลิตการเกษตรก็จะมีเหลือ แรงงานก็อาจจะละทิ้งที่ดินเข้ามาหางานทำในภาคอุตสาหกรรม
แรงงานที่จะใช้ในภาคอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้นในอัตราเท่ากับอัตราการเพิ่มขึ้นของผลผลิตการเกษตรส่วนเกิน
แน่นอนละ ถ้าไม่มีทุนการผลิตทางอุตสาหกรรมก็เกิดขึ้นไม่ได้ ครั้นมีการลงทุน
การสร้างสมทุนก็จะมีความเป็นไปได้โดยอาศัยแรงงานที่เพิ่มขึ้นและการค้าระหว่างภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรมเป็นตัวช่วยความแตกต่างของค่าจ้างแรงงานของทั้งสองภาคจะมีอยู่และความแตกต่างนี้จะเป็นตัวกำหนดการค้าระหว่างทั้งสองภาคและเป็นตัวกำหนดอัตราการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น