ทฤษฎีการพึ่งพา (Dependency Theory)
เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร งามละม่อม
Wachirawachr Ngamlamom
การพัฒนาประเทศตามแนวทางทุนนิยมของประเทศโลกที่สาม
ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
เท่าที่ปรากฏโดยทั่วไปนอกจากจะไม่นำไปสู่ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจดังที่คาดหวังไว้
ยังก่อให้เกิดผลเสียนานัปการในด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการขาดดุลการค้าและดุลการชำระเงิน ปัญหาการกระจายรายได้
ปัญหาการเติบโตอย่างไร้ระเบียบแบบแผนของเมืองและการขยายตัวของชุมชนแออัด
ปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือแม้กระทั้งปัญหาสิทธิมนุษยชนและปัญหาเสรีภาพทางการเมือง
ดูเหมือนจะได้รับผลไม่มากก็น้อยจากแนวทางการพัฒนาดังกล่าวแทบทั้งสิ้นสภาพเช่นนี้มักจะเรียกรวมๆ
กันว่าปัญหาด้อยพัฒนา ได้ผลักดันให้นักวิชาการและปัญญาชนในโลกที่สามหันมาประเมินค่าทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายของรัฐและต่อการศึกษาในด้านนี้
โดยเฉพาะทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจและทฤษฎีการทำให้ทันสมัย
แนวคิดขั้นต้นของทฤษฎีการพึ่งพามีที่มาจากความคิดของบรรดานักเศรษฐศาสตร์ในคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจสำหรับละตินอเมริกาของสหประชาชาติ
(The UN Economic
Commission at Latin America, ECLA) โดยมี Rual Prebisch เป็นผู้นำ Prebisch จำแนกประเทศต่างๆ
ตามระดับการพัฒนาออกเป็น 2 ประเภทประเภทแรก คือ
ประเทศศูนย์กลาง(Centre) ที่พัฒนาแล้วประเภทที่สอง คือ
ประเทศรอบนอก (Periphery) ซึ่งด้อยพัฒนาความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศทั้งสองประเภทนี้จะเป็นไปในลักษณะที่ประเทศศูนย์กลางได้เปรียบและประเทศรอบนอกเสียเปรียบอยู่เสมอ
ทั้งนี้เป็นผลมาจาก “อัตราด้านการค้าที่เสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ
(Deteriorating Terms Of Trade) นั่นเอง
ดังจะเห็นได้ว่า ราคาสินค้าประเภทวัตถุดิบที่ผลิตโดยประเทศรอบนอกมีแนวโน้มตกต่ำลงเมื่อเปรียบเทียบกับราคาสินค้าอุตสาหกรรมจากประเทศศูนย์กลางสภาพความสัมพันธ์ระหว่างที่ไม่เสมอภาคในด้านการค้าระหว่างประเทศศูนย์กลางกับประเทศรอบนอกดังกล่าว
เป็นสาเหตุหลักของความด้อยพัฒนาในละตินอเมริกา ทั้งนี้เป็นเพราะสภาพการค้าระหว่างประเทศเช่นนั้น
ก่อให้เกิดความผิดปกติในตลาดโลก 2
ประการ
ประการแรก คือ
การพัฒนาอุตสาหกรรมโดยการทดแทนการนำเข้า(Import
Substitution)
ประการที่สอง
เกิดการผูกขาดตลาดตลาดปัจจัยการผลิตและตลาดสินค้าภายในดินแด
ศูนย์กลางมากขึ้น ความผิดปกติทั้งสองจะทำให้ประเทศศูนย์กลางมีอำนาจต่อรองสูงกว่าประเทศรอบนอกอย่างมาก
สินค้าอุตสาหกรรมจากประทศศูนย์กลางจะถูกโก่งราคาให้สูงขึ้น
แต่สินค้าขั้นปฐมภูมิจากประเทศรอบนอกถูกกดราคาให้ต่ำลง ผลประโยชน์ทางการค้าระหว่างประเทศจึงตกอยู่กัประเทศศูนย์กลางเป็นส่วนใหญ่
สภาพดังกล่าวนี้ส่งผลให้ประเทศรอบนอกไม่อาจจะพัฒนาตนเองไปได้เท่าที่ควร
และยังต้องตกอยู่ในสภาพพึ่งพาประเทศรอบนอกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด Prebisch และพวกพ้องเห็นว่าการแก้ปัญหานี้จะต้องใช้ยุทธวิธี
3 ประการคือ
ประการแรก
การพัฒนาอุตสาหกรรมโดยการทดแทนการนำเข้า (Import
Substitution)
ประการที่สอง
การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
ประการที่สาม
การหาทางเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสถาบันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศให้เป็นประโยชน์แก่ประเทศด้อยพัฒนามากขึ้น
การอธิบายในเชิงมาร์กซิสต์: Frank และ Dos
Santos
Frank เห็นว่าการพึ่งพาหรือความสัมพันธ์ในเชิงพึ่งพาทั้งในอดีตและปัจจุบันที่ประเทศด้อยพัฒนามีอยู่กับประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่ความด้อยพัฒนา
กล่าวคือ
ความด้อยพัฒนาที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นผลทางประวัติศาสตร์จากความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องในด้านเศรษฐกิจและด้านอื่นๆ
ระหว่างประเทศด้อยพัฒนาที่ตกเป็นบริวาร (Satellite) กับประเทศพัฒนาแล้วในส่วนกลาง
(Metropolitan)
โครงสร้างและการพัฒนาของระบบทุนนิยมระดับโลกต้องอาศัยความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นรากฐานสำคัญ
ด้วยเหตุนี้เองความด้อยพัฒนาของประเทศบริวารจึงไม่ได้เกิดขึ้นเองหรือมีมาตั้งแต่ดั้งเดิม
หากแต่เกิดจากการกระทำของประเทศจากส่วนกลาง
ในอดีตประเทศในส่วนกลางอาจจะไม่พัฒนา
แต่ประเทศเหล่านี้ก็ไม่เคยตกอยู่ในสภาพด้อยพัฒนา
เพราะไม่มีประเทศใดมาทำให้ประเทศในส่วนกลางด้อยพัฒนา
ลักษณะความสัมพันธ์เชิงการขูดรีดระหว่างส่วนกลางกับส่วนบริวารจะมีอยู่ทั้งในระดับระหว่างประเทศและระดับสังคม
เพราะฉะนั้นในประเทศบริวารเองจึงมีทั้งส่วนกลางและส่วนบริวารอยู่ในตัวของมันเอง
ความสัมพันธ์แบบนี้ไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดจะมีอิทธิพลครอบงำและหล่อหลอมสภาพเศรษฐกิจ
สังคม และการเมืองของประเทศบริวารอย่างลึกซึ้ง
สภาพความด้อยพัฒนาในประเทศบริวารในทุกด้านจึงเป็นผลมาจากความสัมพันธ์ดังกล่าว
ในแง่กลไกที่นำไปสู่สภาพด้อยพัฒนานั้น Frank ชี้ให้เห็นว่าบริวารแต่ละส่วนจะทำหน้าที่เป็นเครื่องมือดูดเอาทุนหรือส่วนเกินทางเศรษฐกิจออกจากสังคม
แล้วส่งต่อกันไปเป็นทอดๆไปยังประเทศส่วนกลางอันเป็นส่วนกลางระดับโลก
นอกเหนือจากนั้นส่วนกลางในทุกระดับจะคอยรักษาและตอกย้ำโครงสร้างอำนาจของส่วนกลางทั้งในด้านการพัฒนาของส่วนกลางและด้านการสร้างความมั่งคั่งให้แก่ชนชั้นผู้ครองอำนาจในระบบทุนนิยมภายในโครงสร้างการพึ่งพาระหว่างส่วนกลางกับบริวารที่ครอบคลุมทั้งโลกเช่นนี้
ส่วนกลางมีแนวโน้มจะพัฒนาไปเรื่อยๆและบริวารก็จะด้อยพัฒนาไปเรื่อยๆ
จากฐานคติดังกล่าว Frank ได้พัฒนาขึ้นมาเป็นข้อสมมติฐาน 3 ประการ
ซึ่งเขาได้ใช้ในการค้นคว้าวิจัยของเขา กล่าวคือ
ประการแรก การตกอยู่ในฐานะบริวาร
ทำให้การพัฒนาในส่วนกลางของประเทศบริวารไม่ว่าจะเป็นระดับชาติหรือระดับรองลงไปเป็นไปอย่างจำกัด
ในทางตรงกันข้ามการพัฒนาในส่วนกลางของโลกจะกระทำได้อย่างเต็มที่เพราะไม่ต้องตกเป็นบริวารของใคร
ประการที่สอง
ดินแดนบริวารทั้งหลายจะประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาอุตสาหกรรมแบบทุนนิยมได้มากที่สุดก็ต่อเมื่อสายสัมพันธ์ที่มีอยู่กับส่วนกลางเกิดหย่อนตัวลง
ประการที่สาม
ภูมิภาคที่ด้อยพัฒนาและมีสภาพล้าหลังที่สุดในปัจจุบันจะเป็นภูมิภาคที่ในอดีตเคยผูกพันใกล้ชิดส่วนกลางของโลกมากที่สุด
ภูมิภาคเช่นว่านี้มักจะเป็นแหล่งส่งออกสินค้าขั้นปฐมภูมิรายใหญ่และเป็นแหล่งทุนสำคัญสำหรับส่วนกลาง
ต่อมาเมื่อประโยชน์ที่ได้รับน้อยลงส่วนกลางก็ได้ทอดทิ้งภูมิภาคนั้นไป
สำหรับ Dos Santos นั้น
เขาเห็นว่าความด้อยพัฒนาเป็นผลที่ตามมาและเป็นรูปแบบอย่างหนึ่งของการพัฒนาแบบทุนนิยมที่เรียกว่าทุนนิยมพึ่งพา
(Dependent Capitalism) การจะเข้าใจปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนา
หรือความด้อยพัฒนานั้นจะต้องพิจารณาปัญหานี้ในแง่ที่เป็นปรากฏการณ์ทางประวัติศาสตร์ระดับโลก
เพราะมันเป็นผลที่เกิดจากการก่อตัว
การขยายตัวและการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบบทุนนิยม
การมองปัญหาการพึ่งพาหรือทุนนิยมพึ่งพาเราไม่ควรจะสรุปเอาอย่างง่ายๆว่า
ปัญหานี้เป็นเรื่องที่ปัจจัยภายนอกกำหนดสภาพโครงสร้างภายในของประเทศด้อยพัฒนาด้อยพัฒนาอย่างตรงไปตรงมา
แท้ที่จริงสภาพของสถานการณ์ระหว่างประเทศเป็นเพียงสภาวะเงื่อนไขทั่วๆไปที่มีอิทธิพลต่อความเป็นไปภายในประเทศเท่านั้น
ส่วนประกอบต่างๆภายในประเทศต่างหากที่เป็นตัวกำหนดที่แท้จริงว่าผลกระทบของสถานการณ์ระหว่างประเทศที่มีต่อความเป็นไปภายในประเทศจะเป็นอย่างไร
โดยทั่วไปเศรษฐกิจโลกจะผนวกเอาเศรษฐกิจระดับชาติเข้าไปอยู่ในตลาดโลกเสมอ
ไม่ว่าจะเป็นตลาดสินค้า ตลาดทุนหรือแม้แต่ตลาดแรงงาน
ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในตลาดโลกมีลักษณะที่ไม่เท่าเทียมกัน
ส่วนหนึ่งได้เปรียบส่วนหนึ่งเสียเปรียบ ฝ่ายหนึ่งพัฒนาอีกฝ่ายหนึ่งด้อยพัฒนา ในแง่ความสัมพันธ์ด้านตลาดการค้าระหว่างประเทศนั้น
ถูกควบคุมผูกขาดโดยประเทศที่พัฒนาแล้ว ดังนั้นการค้าระหว่างประเทศที่เป็นอยู่จึงนำไปสู่การโยกย้ายเอาส่วนเกินจากประเทศที่พึ่งพาไปสู่ประเทศที่มีอำนาจครอบงำ
ในทำนองเดียวกันความสัมพันธ์ด้านการเงินระหว่างต้องสูญเสียส่วนเกินให้แก่ประเทศที่พัฒนาแล้วในรูปของดอกเบี้ยและกำไร
สภาพเช่นนี้ทำให้ประเทศที่ตกอยู่ในภาวะพึ่งพาต้องผลิตส่วนเกินให้มากขึ้น
ต้องขูดรีดแรงงานกรรมกรมากขึ้น สิ่งเหล่านี้จะบั่นทอนตลาดภายในประเทศ
ความสามารถด้านเทคนิคและวัฒนธรรมของสังคมและสุขภาพร่างกายและศีลธรรมของประชาชน
Dos Santos ได้จำแนกรูปแบบการพึ่งพาเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์จากอดีตถึงปัจจุบันออกเป็น
3 รูปแบบ
1. การพึ่งพาในยุคอาณานิคม
(Colonial Dependence) การพึ่งพาในช่วงนี้มีสภาพเป็นการพึ่งพาในด้านการส่งสินค้าออกโดยนายทุนด้านการค้าและด้านการเงินจะร่วมมือกับรัฐเจ้าอาณานิคมผูกขาดการค้าระหว่างยุโรปกับอาณานิคมทั้งหลาย
พร้อมกันนี้ยังมีการผูกขาดที่ดิน เหมืองแร่และกำลังคนในอาณานิคมอีกด้วย
2. การพึ่งพาทางด้านการเงินและอุตสาหกรรม
(Financial-Industrial Dependence) การพึ่งพาแบบนี้เกิดขึ้นในราวปลายศตวรรษที่
19 อุตสาหกรรมการผลิตวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเพื่อการส่งออกในระยะนี้จะถูกครอบงำโดยทุนและการลงทุนจากประเทศศูนย์กลางและโครงสร้างการผลิตโดยทั่วไปก็มุ่งตอบสนองการบริโภคในประเทศศูนย์กลางเป็นสำคัญ
3. การพึ่งพาด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม
(Technological-Industrial Dependence) การพึ่งพาแบบนี้เกิดขึ้นตั้งแต่หลังสงครามโลก
เป็นต้นมา ประเทศด้อยพัฒนาจะพึ่งพาบรรษัทข้ามชาติในด้านเทคโนโลยีและการลงทุนด้านอุตสาหกรรมที่เน้นหนักการผลิตเพื่อตลาดภายในประเทศ
สำหรับรูปแบบที่สามซึ่งเป็นรูปแบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน
การพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศโลกที่สามมักจะประสบปัญหาด้านเงินทุนเป็นอย่างมากเพราะการพัฒนาในลักษณะนี้ต้องอาศัยเงินตราต่างประเทศเพื่อซื้อเทคโนโลยีในการผลิตทั้งเครื่องจักรและวัตถุดิบแปรรูปที่ผลิตเองไม่ได้
การซื้อเทคโนโลยีดังกล่าวเผชิญอุปสรรค 2
ประการคือ
ข้อจำกัดด้านรายได้ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการส่งออกและข้อจำกัดจากการผูกขาดสิทธิบัตรของบรรษัทผูกขาดทั้งหลาย
การอธิบายในเชิงโครงสร้าง: Furtado
Furtado เห็นว่าความด้อยพัฒนาไม่ใช่ขั้นตอนที่จำเป็นจะต้องมีอยู่ในกระบวนการก่อตัวของเศรษฐกิจทุนนิยมสมัยใหม่
แต่มันเป็นกระบวนการพิเศษที่เกิดขึ้นจากการแทรกตัวของวิสาหกิจทุน
ขอขอบคุณเจ้าของขัอมูล สามารถนำใช้ในการวิจัยได้ด้วย
ตอบลบขอขอบพระคุณ มา ณที่นี้ด้วย
คุณวชิรวัชร งามละม่อม เรียบเรียงบทความให้อ่านง่าย เป็นประโยชน์ สามารถนำไปต่อยอดความคิดได้ต่อ ขอขอบคุณ
ตอบลบ