เรียบเรียงโดย
วชิรวัชร งามละม่อม
Wachirawachr Ngamlamom
วิธีการอธิบายแนวนี้ เรียกว่า
ทฤษฎีตัวแปรที่ก่อให้เกิดผลเด็ดขาด (Single
Crucial Variable Theories) โดยกัสตับ เอฟ. ปาปาเนค (Guatab
F. Fapanek) ทั้งนี้
เพราะทฤษฎีเหล่านี้เน้นปัจจัยอย่างเดียวที่เป็นสาเหตุความด้อยพัฒนา
แต่ก็มิได้เป็นทฤษฎีที่ถือว่ามีสาเหตุอันเดียว
เพราะทุกทฤษฎีเน้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ซึ่งมีกระบวนการที่สลับซับซ้อนที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของปัจจัยมากมายหลายอย่าง
แต่มีอยู่เพียงอย่างหนึ่งที่สำคัญมากและเป็นตัวที่อธิบายถึงความยากลำบากทั้งหลายทั้งปวงที่ปรากฏอยู่ในอัตราความเจริญเติบโตที่เป็นอยู่ขณะนี้
ปัจจัยที่ปาปาเนค เอ่ยชื่อถึง
ได้แก่
1. สภาพอากาศเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งตามทฤษฎีอาณานิคมและได้รับการสนับสนุนต่อมาอีกว่าเป็นปัจจัยอย่างหนึ่ง
แต่ตามทฤษฎีการทำให้ทันสมัยแล้ว สภาพอากาศมิได้ส่งผลให้เกิดความด้อยพัฒนา เพราะยังไม่มีเหตุผลที่จะอธิบายได้อย่างพอเพียง
2. การสะสมทุนที่ยังไม่พอเพียง
สาเหตุของการสะสมทุนที่ยังไม่พอเพียงนี้มีความเห็นแตกต่างกันออกไป บางคนก็กล่าวว่า
มาจากการขาดความสามารถในการออมอันทำให้มวลชนทั้งชาติตกอยู่ในวงจรความชั่วร้ายแห่งความยากจน
บางคนก็มีความเห็นว่า บรรยากาศการลงทุนไม่มีและขาดแรงกระตุ้น
เพราะเหตุว่าตลาดในประเทศกำลังพัฒนามีขนาดเล็กเกินไป ไม่พอเพียงที่จะทำให้ได้เงินมาลงทุน นักวิชาการบางคนก็กล่าวว่า ประเทศกำลังพัฒนามีภาคการเงินที่ขาดประสิทธิภาพ ไม่มีความสามารถที่จะทำหน้าที่ในการแปรสภาพการออมทรัพย์ให้ไปสู่การลงทุน เมื่อขาดแคลนความสามารถของภาคการเงินดังกล่าวจึงทำให้ทั้งการออมทรัพย์และการลงทุนเป็นไปไม่ได้
เพราะเหตุว่าตลาดในประเทศกำลังพัฒนามีขนาดเล็กเกินไป ไม่พอเพียงที่จะทำให้ได้เงินมาลงทุน นักวิชาการบางคนก็กล่าวว่า ประเทศกำลังพัฒนามีภาคการเงินที่ขาดประสิทธิภาพ ไม่มีความสามารถที่จะทำหน้าที่ในการแปรสภาพการออมทรัพย์ให้ไปสู่การลงทุน เมื่อขาดแคลนความสามารถของภาคการเงินดังกล่าวจึงทำให้ทั้งการออมทรัพย์และการลงทุนเป็นไปไม่ได้
3. ปัจจัยสำคัญอีกประการเป็นเรื่องของมนุษย์โดยตรง
คือ การขาดดุลภาพของคนเป็นปัญหาที่มีนักวิชาการกล่าวถึงเสมอและเป็นปัญหาพื้นฐาน
เพราะคนมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนามาก
นอกจากจะไม่มีคุณภาพทางด้านความรู้ความสามารถแล้ว ยังขาดคุณภาพด้านศีลธรรมจรรยาอันเป็นความต้องการพื้นฐานในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ด้วย
ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะคุณภาพของมนุษย์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาซึ่งมีลักษณะสำคัญ
3 ประการ คือ
(1) การขาดแคลนแรงงานที่มีประสบการณ์ ความรู้
และทักษะ ในประเทศกำลังพัฒนามีแรงงานจำนวนมากแต่ไม่มีความรู้ ไม่มีประสบการณ์
และไม่มีฝีมือ
(2) การขาดแคลนผู้ประกอบการในภาคเอกชน
ไม่มีนักธุรกิจและนักลงทุนที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์เพียงพอ
(3)
ความสามารถในการตัดสินใจและการบริหารหรือการจัดองค์การที่ใช้ความรู้วิทยาการก้าวหน้าที่มีระบบและใช้หลักวิชายังมีน้อย
1. ปัจจัยทางด้านสังคมวิทยา
กล่าวคือ โครงสร้างทางสังคม (Social
Structure) มีลักษณะดั้งเดิมโบราณ เช่น มีครอบครัวขนาดใหญ่ (Extended
Family) แบบตะวันออก คือ มีทั้ง พ่อ แม่ ลูก พ่อตา แม่ยาย พ่อของพ่อ
ลูกของลูก ลูกของหลาน บางครั้งมีลูกหลานของพี่น้องของพ่อหรือแม่และญาติพี่น้องอื่นๆ
อยู่ในครอบครัวด้วย รวมกันแล้วมากกว่า 10 คน
ยิ่งกว่านั้นยังมีการถ่ายทอดความคิดความเชื่อและวัฒนธรรมจากบรรพบุรุษต่างๆ
กันอีกด้วย
สิ่งดังกล่าวเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงพัฒนาและความมีเหตุมีผลที่ถูกต้อง
ทั้งยังเป็นตัวสกัดกั้นพฤติกรรมที่มีเหตุมีผลทางเศรษฐกิจ คนจะมีความเชื่อ
มีค่านิยม และพฤติกรรมที่นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของประชาชนอย่างมากมาย
อันเป็นผลทางลบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
2. ปัจจัยภายนอกอื่นๆ
ที่เกิดขึ้นกับการมีความสัมพันธ์กับต่างชาติหรือองค์การระหว่างประเทศไม่ว่าจะทางด้านการเมือง
เศรษฐกิจ สังคม จิตวิทยา และการบริหาร
มีความเชื่อกันอยู่ว่าประเทศพัฒนาแล้วที่มีอำนาจสามารถที่จะแสวงประโยชน์จากประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาได้มากกว่าในรูปแบบต่างๆ
กัน ในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สองมักจะอาศัยวิธีการแบบเมืองขึ้นหรืออาณานิคม
ต่อมามีความคิดว่าเป็นการแสวงประโยชนโดยวิธีการพึ่งพา เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น